หมีหมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมีหมา, หมีคน

สมัยไพลสโตซีน–ปัจจุบัน

สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Caniformia
วงศ์: Ursidae
สกุล: Helarctos
(Horsfield, 1825)
สปีชีส์: H.  malayanus
สปีชีส์ย่อย: H.  m. malayanus

H. m. euryspilus

ชื่อทวินาม
Helarctos malayanus
(Raffles, 1821)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของหมีหมา
ชื่อพ้อง
  • Helarctos euryspilus Horsfield, 1825
  • Helarctos malayanus Raffles, 1825

หมีหมา หรือ หมีคน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Helarctos malayanus; อีสาน: เหมือย)

ลักษณะ[แก้]

หมีหมาเป็นหมีที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร ขนตามตัวสั้นสีดำปนสีน้ำตาล ขนบริเวณอกโค้งเป็นรูปตัว U สีขาวนวล บริเวณหน้าตั้งแต่ตาไปถึงปลายจมูกสีค่อนข้างขาว หรือน้ำตาลอ่อน ปกติหมีหมาหากินกลางคืน บางครั้งก็ออกหากินกลางวัน มักหากินเป็นคู่ อยู่ในป่าทึบ ไม่ชอบอยู่ตามเขา ดุร้ายและขึ้นต้นไม้เก่งกว่าหมีควาย (U. thibetanus) มีอุปนิสัยโมโหง่าย ชอบนอนบนต้นไม้หรือตามโพรงไม้สูง ๆ ไม่ชอบนอนพื้นดิน บางครั้งร้องคล้ายเสียงสุนัขเห่ากระโชก จึงเรียกว่า หมีหมา เมื่อยืน 2 ขา จะยืนตัวตรง จึงเรียกอีกชื่อว่า หมีคน

ถิ่นอาศัย[แก้]

หมีหมา พบในพม่า, อินโดจีน, ไทย, มาเลเซีย, สุมาตรา, บอร์เนียว, ภาคใต้ของจีน ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้

อาหาร[แก้]

หมีหมา ชอบกินลูกไม้ ใบไม้อ่อน สัตว์เล็ก ๆ แมลงรวมทั้งไส้เดือน ที่ชอบมาก คือน้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังชอบกินเนื้ออ่อนของมะพร้าว

การสืบพันธุ์[แก้]

หมีหมา มีการผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ตั้งท้องประมาณ 95–96 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว อายุยืนถึง 20 ปี

สถานภาพปัจจุบัน[แก้]

สัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. ชุติอร กาญวัฒนกิจ. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน. กรุงเทพฯ : กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย, 2543. 256 หน้า. หน้า 61-62. ISBN 974-87081-5-2

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ursus malayanus ที่วิกิสปีชีส์