หมายเลขชายธง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือหลวงคอสแซ็ก ของกองทัพเรืออังกฤษในสงครามโลกครั้งที่สอง พร้อมหมายเลขชายธง L03 บนตัวเรือ และแถบผู้นำกองเรือ บริเวณปล่องควันอันแรก

หมายเลขชายธง (อังกฤษ: Pennant number) คือสิ่งระบุตัวตนของเรือในกองทัพเรือสหราชอาณาจักร และกองทัพเรืออื่น ๆ ในทวีปยุโรปรวมถึงประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ (แต่เดิมก่อนปี พ.ศ. 2491 ถูกเรียกโดยสากลว่า หมายเลขห้อยกำกับ pendant number) ซึ่งในอดีตนั้น เรือของกองทัพเรือจะชักธงขึ้นเพื่อระบุสังกัดกองเรือหรือประเภทของเรือ ตัวอย่างเช่น กองทัพเรือสหราชอาณาจักรใช้ธงเบอร์กี้ (burgee) สีแดงสำหรับเรือตอร์ปิโด และธงยาวปลายเรียว (pennant) ที่มีตัว H สำหรับเรือพิฆาตตอร์ปิโด โดยการเพิ่มหมายเลขไปบนธงเบอร์กี้อีกนั้นก็เพื่อระบุตัวตนของเรือแต่ละลำโดยไม่ซ้ำกันนั่นเอง

ในระบบปัจจุบัน ตัวอักษรนำหน้า (prefix) จะเรียกว่า อักษรธงหลัก (flag superior) ใช้สำหรับการระบุประเภทของเรือ และคำต่อท้าย (suffix) ที่เป็นตัวเลข เรียกว่า อักษรธงรอง (flag inferior) ใช้ในการระบุตัวตนของเรือแต่ละลำโดยไม่ซ้ำกัน หมายเลขชายธงบางชุดอาจจะประกอบเพียงอักษรธงรอง ไม่มีอักษรธงหลัก

ระบบของราชนาวี[แก้]

ราชนาวีหรือกองทัพเรือของสหราชอาณาจักรใช้ระบบธงยาวปลายเรียว (pennant) เพื่อจำแนกประเภทของเรือครั้งแรกในปี พ.ศ. 2204 โดยการประกาศว่าเรือทุกลำที่เป็นเรือหลวงของพระเจ้าแผ่นดินจะต้องประดับธงยูเนียนแจ็ก (union pennant) โดยมีความแตกต่างเด่นชัดมากขึ้นเมื่อมีการประกาศในปี พ.ศ. 2217 ไม่ให้เรือพาณิชย์ลำใด ๆ ชักธงยาวปลายเรียว (pennant) บนเรือของตน[1]

ระบบตัวเลขชายธงถูกนำมาใช้งานก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเรือที่มีชื่อเดียวกันหรือรูปทรงคลายคลึงกัน เพื่อลดความผิดพลาดและความปลอดภัยในการสื่อสาร และใช้เพื่อแยกในการจดจำเมื่อเรือชั้นเดียวกันมาจอดอยู่ด้วยกัน ตามธรรมเนียมแล้ว จะมีการรายงานหมายเลขชายธงด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (full stop) "." ระหว่างธงหลักหรือธงรองและหมายเลข แม้ว่าธรรมเนียมปฏิบัตินี้จะค่อย ๆ ถูกเลิกปฏิบัติไป จากภาพถ่ายในช่วงสงครามโลกประมาณปี พ.ศ. 2467 ที่ไม่มีการใช้สัญลักษณ์มหัพภาคบนตัวเรือแล้ว ระบบหมายเลขชายธงนี้ถูกใช้ตลอดช่วงเวลาในยุคของกองทัพเรือจักรวรรดิอังกฤษ เพื่อให้เรือแต่ละลำสามารถถ่ายโอนไปยังกองทัพเรืออื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหมายเลขชายธง

เดิมทีหมายเลขชายธงถูกจัดสรรโดยฐานทัพเรือแต่ละแห่ง และเมื่อเรือเปลี่ยนฐานทัพเรือที่สังกัด ก็จะมีการจัดสรรหมายเลขใหม่ให้ หลังจากนั้นกรมทหารเรือ (Admiralty) เข้ามาดูแลกองทัพเรือทั้งหมด และจัดทำ "บัญชีรายชื่อเรือ" ในปี พ.ศ. 2453 โดยจัดกลุ่มเรือตามประเภทของธงที่อยู่ในประเภทเดียวกัน นอกจากนั้น เรือในกองเรือที่ 2 และกองเรือที่ 3 (เช่น กองหนุน) จะมีอักษรธงหลักชุดรองเพื่อระบุว่าตนมาจากฐานทัพเรือใดที่ประจำการอยู่ เช่น "C" สำหรับ อู่ต่อเรือชาแธม, "D" สำหรับ ฐานทัพเรือเดวอนพอร์ท, "N" สำหรับ นอร์ และ "P" สำหรับ พอร์ตสมัท โดยในตอนแรก เรือพิฆาตถูกจัดอักษรธงหลักว่า "H" แต่เนื่องจากค่าอักษรดังกล่าวสามารถผสมกับชุดตัวเลขได้เพียงหนึ่งร้อยชุดเท่านั้น คือ H00 ถึง H99 จึงได้มีการจัดสรรตัวอักษร "G" และ "R" ด้วย ซึ่งเมื่อมีเรือจม หมายเลขห้อยกำกับ (pendant number) เดิมที่เสียไปจะถูกจัดสรรให้กับเรือลำใหม่หลังจากนั้น

อักษรธงหลักสำหรับชั้นเรือทั้งหมดมักจะถูกเปลี่ยนในขณะที่จำนวนทั้งหมดยังจำนวนเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ในปี พ.ศ. 2483 ราชนาวีเปลี่ยนตัวอักษร "I" และ "D" สลับกันไปมา (เช่น D18 เปลี่ยนเป็น I18 และ I18 เปลี่ยนเป็น D18) และในปี พ.ศ. 2491 อักษร "K", "L" และ "U" ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นอักษร "F" หากมีความขัดแย้งกันในชุดตัวเลข ให้เติมเลข 2 หน้าหมายเลขห้อยกำกับ

ในช่วงทศวรรษที่ 1970 กองเรือได้หยุดการออกหมายเลขชายธงให้กับเรือดำน้ำหลังจากเข้าสู่ยุคของเรือนิวเคลียร์ ด้วยเหตุผลว่า เรือเหล่านี้ใช้เวลาบนผิวน้ำน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีการออกหมายเลขให้กับเรือดำน้ำต่อหลังจากนั้น

เรือหลวงแลงคาสเตอร์ ได้รับการจัดหมายเลขชายธงเป็น F232 ในครั้งแรก จนกระทั่งราชนาวีทราบในภายหลังว่า หมายเลข 232 เป็นรูปแบบตัวเลขมาตรฐานสำหรับเรือที่เกยตื้น ด้วยเหตุผลด้านโชคลางซึ่งชาวเรือเชื่อถือเป็นอย่างมาก เรือจึงถูกเปลี่ยนหมายเลขชายธงเป็น F229

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

ไม่มีอักษรธงหลัก[แก้]

หมายเลขห้อยกำกับหมายเลข 13 ไม่มีการจัดสรรให้ใช้งาน

อักษรธงหลัก[แก้]

หมายเลขห้อยกำกับหมายเลข 13 ไม่มีการจัดสรรให้ใช้งานกับหมายเลขธงหลัก และตัวอักษร J กับ K ใช้กับตัวเลขสามชุดเนื่องจากจำนวนเรือในชุดอักษรมีมากเกินกว่าเลขสองชุด

  • D — เรือพิฆาต (จนถึง พ.ศ. 2483), เรือบัญชาการ, เรือบรรทุกอากาศยาน, เรือลาดตระเวน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2483)
  • F — เรือพิฆาต (จนถึง พ.ศ. 2483) และ เรือช่วยรบขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2483)
  • G — เรือพิฆาต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2483)
  • H — เรือพิฆาต
  • I — เรือบรรทุกอากาศยาน, เรือลาดตระเวนบางลำ (จนถึง พ.ศ. 2483), เรือพิฆาต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2483)[2]
  • J — เรือกวาดทุ่นระเบิด
  • Kเรือคอร์เวต, เรือฟริเกต
  • L — เรือพิฆาตคุ้มกัน, เรือสลุปศึก (จนถึง พ.ศ. 2484)
  • M — เรือวางทุ่นระเบิด
  • N — เรือกวาดทุ่นระเบิด
  • P — เรือสลุปศึก (จนถึง พ.ศ. 2482), เรือวางแนวทุ่นป้องกัน (Boom defence vessels) (จนถึง พ.ศ. 2483)
  • R — เรือพิฆาต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2485), เรือสลุปศึก
  • T — เรือปืนลำน้ำ, เรือวางอวน
  • U — เรือสลุปศึก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2484)
  • W — เรือลากจูงและกู้ภัย
  • X — เรือหน่วยปฏิบัติการพิเศษ
  • Z — เรือวางแนวทุ่นป้องกัน ประตูแนวทุ่น และพื้นที่จอดเรือ
  • 4 — เรือช่วยรบต่อต้านอากาศยาน
  • FY — เรือประมง (เรือประมงอวนลากช่วยรบ, เรือประมงพื้นบ้าน เป็นต้น)


อักษรธงรอง[แก้]

อักษรธงรองถูกนำไปใช้งานกับเรือดำน้ำ ซึ่งเรือดำน้ำของราชนาวีที่ใช้อักษร "H" และ "L" และเรือของสหรัฐบางลำที่มีการถ่ายโอนมา มีเพียงแค่ตัวเลขเท่านั้น ในกรณีเหล่านี้ หมายเลขห้อยกำกับเป็นเพียงแค่หมายเลขตัวเรือที่ถูกกลับด้านเท่านั้น (เช่น L24 เมื่อนำมาใช้ห้อยกำกับจะเป็น "24L") ซึ่งภาพถ่ายก่อนสงครามแสดงให้เห็นหมายเลขห้อยกำกับอยู่กับหมายเลขธงรองอย่างถูกต้อง แต่ภาพถ่ายในช่วงสงครามแสดงให้เห็นว่าตัวเลขมักจะถูกวาดถอยหลัง และอักษรธงรองมักจะถูกวาดไว้ในตำแหน่งธงหลัก นอกจากนี้ มีการไม่ใช้อักษร "U" ในธงรองเนี่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้ดูสับสนว่าเรือลำดังกล่าวเป็นเรือชนิดเดียวกันกับเรืออู (U-boat) ของเยอรมนี และด้วยเหตุผลเดียวกัน จึงไม่มีการใช้อักษร "V" ด้วย หมายเลขห้อยกำกับ 00–10, 13 รวมถึงหมายเลขที่ลงท้ายด้วย 0 จะไม่ได้รับการจัดสรรให้กับอักษรธงรอง

  • เรือ HMS Tribune มีเลขชายธงคือ N76 มีเลขอักษรธงรองคือ 76T
    A — พันธมิตร (โปแลนด์ เรือ ORP Orzeł (85A))
  • C (จากคำว่า "coastal") — เรือดำน้ำชั้นยู ของอังกฤษ (ต่อก่อนสงคราม)
  • F (จากคำว่า "fleet") — เรือดำน้ำชั้นริเวอร์
  • H — เรือดำน้ำชั้นเฮช ของอังกฤษ
  • L — เรือดำน้ำชั้นแอล ของอังกฤษ
  • M (จากคำว่า "minelayer") — เรือดำน้ำชั้นแกรมพัส
  • N — จัดสรรให้กับเรือดำน้ำที่มีอยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 2483.[2]
  • P — เรือดำน้ำชั้นโอดิน, เรือดำน้ำชั้นพาร์เธีย
    • 31P— เรือดำน้ำชั้นยู (ต่อในช่วงสงคราม), เรือดำน้ำชั้นวี ของอังกฤษ
    • 211P ถึง 299P — เรือดำน้ำชั้นเอส ของอังกฤษ (ต่อในช่วงสงคราม)
    • 311P ถึง 399P— เรือดำน้ำชั้นที ของอังกฤษ
    • 411P ถึง 499P— เรือดำน้ำชั้นแอมฟิออน
    • 511P ถึง 599P— เรือดำน้ำให้ยืม-เช่าของกองทัพเรือสหรัฐ
    • 611P ถึง 699P— commandeered foreign construction
    • 711P ถึง 799P— เรือดำน้ำข้าศึกที่ยึดได้
  • R — เรือดำน้ำชั้นเรนโบว์
  • S — เรือดำน้ำชั้นเอส (ต่อก่อนสงคราม)
  • T — เรือดำน้ำชั้นที (ต่อก่อนสงคราม)

หลัง พ.ศ. 2491[แก้]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2491 ราชนาวีได้นำหมายเลขชายธงมาปรับใช้ โดยอักษรธงหลักจะระบุประเภทพื้นฐานของเรือ ซึ่ง "F" และ "A" ใช้ตัวเลขสองหลักหรือสามหลัก และ "L" และ "P" ใช้ตัวเลขไม่เกินสี่หลัก และหลักการเดิมเกี่ยวกับเลข 13 ยังคงเดิมอยู่ คือไม่มีการนำมาใช้งาน (เช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงโอเชียน (L12) ตามด้วย เรือหลวงอัลเบียน (L14))

  • A — เรือช่วยรบ (เรือของ กองเรือสนับสนุนฝ่ายพลเรือน (Royal Fleet Auxiliary), กองกำลังบริการสนับสนุนการเดินเรือ (Royal Maritime Auxiliary Service) และ กองกำลังสนับสนุนการรบราชนาวี (Royal Naval Auxiliary Service), รวมถึงเรือบรรทุกอะไหล่เรือ, เรือวางแนวทุ่นป้องกัน เป็นต้น)
  • C — เรือลาดตระเวน (ปัจจุบันไม่มีในประจำการ จึงไม่มีการใช้งาน)
  • D — เรือพิฆาต
  • F — เรือฟริเกต (อดีตเรือพิฆาตคุ้มกัน, เรือสลุปศึก และ เรือคอร์เวต)
  • H — สถานีส่งสัญญาณชายฝั่ง (ทางทหาร) ; เรือสำรวจ
  • K — เรือเบ็ดเตล็ด (เช่น เรือปฏิบัติการสำรวจพื้นทะเล เรือหลวงชาเลนเจอร์ หรือเรือสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงโลโฟเทน)
  • L — เรือยกพลขึ้นบก
  • M — เรือกวาดทุ่นระเบิด
  • N — เรือวางทุ่นระเบิด (ปัจจุบันไม่มีในประจำการ จึงไม่มีการใช้งาน)
  • P — เรือตรวจการณ์
  • R — เรือบรรทุกอากาศยาน
  • S — เรือดำน้ำ
  • Y — อู่ต่อเรือ

กองเรือ[แก้]

พ.ศ. 2468 – 2482[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ในเรือของผู้นำกองเรือ (Flotilla leaders) นั้นจะไม่มีการเขียนหมายเลขห้อยกำกับ แต่จะมีการทาแถบสีความกว้าง 4 ฟุต (1.2 เมตร) แทน บริเวณวงรอบด้านหน้า สำหรับผู้นำหมู่เรือ (Division) จะมีการเขียนเลขห้อยกำกับ และมีแถบสีทีแคบกว่าคือความยาว 2 ฟุต (0.61 เมตร) บริเวณช่องด้านหน้า พร้อมกับแถบสียาว 3 ฟุต (0.91 เมตร) บริเวณด้านบน ซึ่งในกองเรือเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Fleet) และกองเรือแอตแลนติก (Atlantic Fleet) จะใช้แถบผู้นำกองเรือสีดำ และท้ายสุดกองเรือบ้าน (Home Fleet) จะใช้แถบผู้นำกองเรือสีขาว โดยเรือภายในกองเรือต่าง ๆ จะใช้แถบสีต่าง ๆ ในการระบุสังกัดและตัวตนของตนเอง ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 มีการใช้แถบสีดังต่อไปนี้

  • กองเรือพิฆาตที่ 1 — แถบสีดำหนึ่งแถบ
  • กองเรือพิฆาตที่ 2 — แถบสีดำสองแถบ (แถบสีแดงหนึ่งแถบ ตั้งแต่ พ.ศ. 2478)
  • กองเรือพิฆาตที่ 3 — แถบสีดำสามแถบ
  • กองเรือพิฆาตที่ 4 — ไม่มีแถบสี
  • กองเรือพิฆาตที่ 5 — แถบสีขาวหนึ่งแถบ
  • กองเรือพิฆาตที่ 6 — แถบสีขาวสองแถบ
  • กองเรือพิฆาตที่ 8 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478) — แถบสีดำและขาวอย่างละแถบ

สงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

เมื่อมีเรือพิฆาตแบบปล่องเดี่ยว (Single funnelled destroyer) เข้าประจำการกองเรือชั้นเจในปี พ.ศ. 2482 และด้วยจำนวนของกองเรือที่เพิ่มขึ้น ระบบก็ได้เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นนั้น โดยเรือแบบปล่องเดี่ยวจะใช้แถบความลึก 3 ฟุต (0.91 เมตร) สำหรับผู้นำกองเรือ และสำหรับผู้นำหมู่เรือจะใช้แถบแนวตั้งความกว้าง 2 ฟุต (0.61 เมตร) และแถบความยาว 6 ฟุต (1.8 เมตร) ด้านใต้แถบของผู้นำกองเรือ แถบผู้นำสีขาวจะใช้สำหรับกองเรือบ้าน (Home Fleet) สีแดงใช้สำหรับกองเรือเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Fleet) และระบบแถบสีของกองเรือเปลี่ยนเป็นดังต่อไปนี้

  • กองเรือพิฆาตที่ 1 (เมดิเตอร์เรเนียน) — 1 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นจี
  • กองเรือพิฆาตที่ 2 (เมดิเตอร์เรเนียน) — 2 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นเฮช
  • กองเรือพิฆาตที่ 3 (เมดิเตอร์เรเนียน) — 3 แถบสีแดง, และไม่มีแถบ, เรือพิฆาตชั้นไอ
  • กองเรือพิฆาตที่ 4 (เมดิเตอร์เรเนียน) — ไม่มีแถบ, เรือพิฆาตชั้นไทรบัล
  • กองเรือพิฆาตที่ 5 (เมดิเตอร์เรเนียน) — ไม่มีแถบ, เรือพิฆาตชั้นเค
  • กองเรือพิฆาตที่ 6 (บ้าน) — 1 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นไทรบัล
  • กองเรือพิฆาตที่ 7 (บ้าน) — 2 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นเจ
  • กองเรือพิฆาตที่ 8 (บ้าน) — 3 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นเอฟ
  • กองเรือพิฆาตที่ 9 (บ้าน) — 1 แถบสีดำ และ 2 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 10 (บ้าน) — ไม่มีแถบ, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 11 (Western Approaches) — 1 แถบสีดำ ทับ 2 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 12 (Rosyth) — 1 แถบสีขาว ทับ 1 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นอี
  • กองเรือพิฆาตที่ 13 (ยิบรอลตาร์) — 1 แถบสีขาว ทับ 2 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 14 (บ้าน) — 1 แถบสีแดง ทับ 1 แถบสีดำ, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 15 (Rosyth) — 1 แถบสีแดง ทับ 2 แถบสีดำ, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 16 (พอร์ตสมัท) — 1 แถบสีแดง ทับ 1 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นวี และเรือพิฆาตชั้นดับเบิลยู
  • กองเรือพิฆาตที่ 17 (Western Approaches) (ตั้งแต่ พ.ศ. 2483) — 1 แถบสีแดง ทับ 2 แถบสีขาว, เรือพิฆาตชั้นทาวน์
  • กองเรือพิฆาตที่ 18 (ช่องแคบอังกฤษ) — 1 แถบสีขาว & 1 แถบสีดำ, เรือพิฆาตชั้นเอ
  • กองเรือพิฆาตที่ 19 (โดเวอร์) — 1 แถบสีขาว ทับ 2 แถบสีดำ, เรือพิฆาตชั้นบี
  • กองเรือพิฆาตที่ 20 (พอร์ตสมัท) — 2 แถบสีขาว ทับ 1 แถบสีดำ, เรือพิฆาตชั้นซี
  • กองเรือพิฆาตที่ 21 (สถานีจีน) — 2 แถบสีขาว ทับ 1 แถบสีแดง, เรือพิฆาตชั้นดี

แถบกองเรือถูกนำมาใช้งานตลอดช่วงของสงครามแม้ว่าจะเกิดความสูญเสียระหว่างการปฏิบัติการก็ตาม ซึ่งจากทั้งข้อกำหนดในการปฏิบัติระหว่างปฏิบัติการ และการต่อเรือใหม่เพิ่มเติมเพื่อนำเข้าประจำการในกองเรือจะทำลายรูปแบบที่ถูกจำแนกไว้อยู่ก่อนแล้วของกองเรือพิฆาต เรือหลายลำถูกนำไปใช้งานในภารกิจต่าง ๆ ตามความจำเป็นหรือความพร้อมของเรือ และมักถูกจัดกลุ่มขึ้นใหม่กลายเป็นกลุ่มเรือคุ้มกัน ที่ประกอบไปด้วยเรือหลากหลายประเภท เช่น เรือสลุปศึก เรือคอร์เวต เรือฟริเกต และเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกัน ซึ่งกลุ่มเรือคุ้มกันบางกลุ่มใช้ระบบแถบบนปล่องควันเรือ ส่วนอีกหลายกลุ่มใช้ระบบตัวอักษรบนปล่องควัน เช่น กลุ่มเรือคุ้มกัน B7

หลังสงคราม[แก้]

หลังจากสงคราม กองเรือไม่ได้ถูกแบ่งอัตลักษณ์ผ่านรูปแบบของแถบสีอีกต่อไป แต่ด้วยพื้นผิวโลหะจำนวนมากที่ถูกยึดติดกับปล่องควันของเรือ เรือผู้นำกองเรือหลายลำยังคงใช้สัญลักษณ์ขนาดใหญ่บนส่วนยอดของปล่องควันเรือ และเรือรองผู้นำกองเรือจะทาแถบสีดำที่หน้าน้อยกว่าผู้นำกองเรือรอบปล่องควันเรือ

รหัสดาดฟ้าเรือ[แก้]

เรือบรรทุกอากาศยาน และเรือที่มีอากาศยานปฏิบัติการ จะมีการติดรหัสบนดาดฟ้าบินเพื่อช่วยระบุตัวตนของเรือสำหรับเครื่องบินที่จะลงจอด โดยจะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกลบนเส้นทางที่จะนำเครื่องร่อนลงจอด ซึ่งกองทัพเรือสหราชอาณาจักรใช้อักษรตัวเดียว (ปกติจะใช้จากอักษรตัวแรกของชื่อเรือ) สำหรับเรือบรรทุกอากาศยานและเรือขนาดใหญ่ที่มีอากาศยานปฏิบัติการ และตัวอักษรคู่ (โดยปกติจะใช้จากตัวอักษรชื่อเรือ) สำหรับเรือขนาดเล็กลงมา สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่มีกองเรือขนาดใหญ่ จะใช้หมายเลขที่เป็นส่วนหนึ่งของหมายเลขการจัดประเภทตัวเรือ (มีระบบคล้ายคลึงกันกับระบบหมายเลขชายธง)

รหัสดาดฟ้าเรือที่ใช้งานโดยเรือหลักของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วย

  • เรือหลวงควีนเอลิซาเบธ (R08) ลำล่างสุด มีรหัสดาดฟ้าเรือคืออักษร Q
    เรือหลวงอัลเบียน (HMS Albion) AN
  • เรือหลวงบูลวาร์ค (HMS Bulwark) — BK
  • เรือหลวงดอน์ทเลส (HMS Dauntless) — DT
  • เรือหลวงโอเชียน (HMS Ocean) O
  • เรือหลวงอาร์ครอยัล (HMS Ark Royal) — R
  • เรือหลวงอินวิซิเบิล (HMS Invincible) — N
  • เรือหลวงอิลัสเทรียส (HMS Illustrious) — L
  • เรือหลวงควีนเอลิซาเบธ (MHS Queen Elizabeth) — Q
  • เรือหลวงปรินซ์ออฟเวลส์ (HMS Prince of Wales) — P
  • เรืออาร์เอฟเอ อาร์กัส (RFA Argus) AS
  • เรืออาร์เอฟเอ ลายม์เบย์ (RFA Lyme Bay) YB
  • เรืออาร์เอฟเอ คาร์ดิแกนเบย์ (RFA Cardigan Bay) — CB
  • เรืออาร์เอฟเอ เมาท์เบย์ (RFA Mounts Bay) — MB

หมายเลขชายธงสากล[แก้]

กองทัพเรือในเนโทและเครือจักรภพแห่งประชาชาติหลายชาติตกลงกันทีจะใช้งานระบบหมายเลขชายธงตามแบบของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ซึ่งตัวระบบนี้สามารถรับประกันได้ว่าในบรรดากองทัพเรือที่กล่าวมาข้างต้นหรือกองทัพเรือชาติอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ที่จะมาเข้าร่วมในภายหลัง จะได้ใช้ระบบหมายเลขชายธงที่ระบุตัวตนเฉพาะไม่ซ้ำกันอย่างแน่นอน ในขณะที่สหรัฐไม่เข้าร่วมการใช้งานระบบนี้ เนื่องจากเรือของกองทัพเรือสหรัฐมีการจำแนกประเภทด้วยระบบสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือ (Hull classification symbol) อยู่แล้ว

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมใช้ระบบหมายเลขชายธง พร้อมทั้งช่วงหมายเลขที่ใช้งาน[3][4] ประกอบไปด้วย

  • เรือฟริเกต FS Prairial มีหมายเลขชายธงคือ F731
    อาร์เจนตินา — (D: 1x, 2x; P: 3x, 4x; S: 2x, 3x; C: x; V: x)
  • ออสเตรเลีย (เดิมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรจนถึงปี พ.ศ. 2512; ปัจจุบันใช้รูปแบบตามกองทัพเรือสหราชอาณาจักรและระบบสัญลักษณ์การจัดประเภทตัวเรือของสหรัฐ)[5]
  • เบลเยี่ยม — (A:9xx; F: 9xx; M: 9xx; P:9xx)
  • เดนมาร์ก — (N: 0xx; A/M/P: 5xx; F/S/Y: 3xx; L: 0xx)
  • ฝรั่งเศส — (R: 9x; C/D/S: 6xx; F: 7xx; M/P/A: 6xx, 7xx; L: 9xxx)
  • เยอรมนี — (A: 5x, 51x, 14xx; D: 1xx; F: 2xx; L: 76x; M: 10xx, 26xx; P: 61xx; S: 1xx)
  • กรีซ — (D/P: 0x, 2xx; A/F: 4xx; L/S/M: 1xx)
  • อิตาลี — (5xx; D 5xx; F 5xx; P 4xx; 5xxx; A 5xxx; L 9xxx; Y 5xx)
  • เคนยา
  • มาเลเซีย
  • นิวซีแลนด์ (F111-HMNZS Te Mana)
  • เนเธอร์แลนด์ (8xx; Y: 8xxx)
  • นอร์เวย์ (F/S/M: 3xx; P: 9xx; L: 45xx)
  • โปรตุเกส (F/M: 4xx; S: 1xx; P: 11xx0)
  • สเปน (A: xx, F: 0x 1x 2x.., R: 01, 11, L: 0x, 1x.., P: 0x, 1x.., Y: xxx)
  • ศรีลังกา
  • แอฟริกาใต้
  • ตุรกี (D/S: 3xx; F: 2xx; N: 1xx; A/M: 5xx; P: 1xx, 3xx, L: 4xx; Y: 1xxx)
  • สหราชอาณาจักร (R: 0x; D: 0x & 1xx; F: 0x, 1xx, 2xx; S: 0x, 1xx; M: 0x, 1xx, 1xxx, 2xxx; P: 1xx, 2xx, 3xx; L: 0x, 1xx, 3xxx, 4xxx; A: ตามที่มีการกำหนดใช้)

ระบบหมายเลขชายธงขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ได้เพิ่มสัญลักษณ์ Y (จากคำว่า yard) เป็นสัญลักษณ์สำหรับ เรือลากจูง, ปั้นจั่นลอยน้ำ, ท่าเทียบเรือ และอื่น ๆ

รหัสดาดฟ้าเรือสากล[แก้]

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร[แก้]

กองทัพเรือสหราชอาณาจักรใช้อักษรเดี่ยว (ปกติจะใช้จากอักษรตัวแรกของชื่อเรือ) สำหรับเรือบรรทุกอากาศยานและเรือขนาดใหญ่ที่มีอากาศยานปฏิบัติการ และตัวอักษรคู่ (โดยปกติจะใช้จากตัวอักษรชื่อเรือ) สำหรับเรือขนาดเล็กลงมา

ชั้น Albion

  • HMS AlbionAN
  • HMS BulwarkBK

ชั้น River

  • HMS ForthFH
  • HMS MedwayMY
  • HMS TrentTT
  • HMS Tamar — TM
  • HMS Spey — SP

ชั้น Daring

  • HMS Daring — DA
  • HMS Dauntless — DT
  • HMS Diamond — DM
  • HMS DragonDN
  • HMS Defender — DF
  • HMS Duncan — DU

ชั้น Duke

  • HMS Argyll — AY
  • HMS Lancaster — LA
  • HMS Iron Duke — IR
  • HMS Montrose — MR
  • HMS Westminster — WM
  • HMS Northumberland — NL
  • HMS Richmond — RM
  • HMS Somerset — SM
  • HMS Sutherland — SU
  • HMS KentKT
  • HMS PortlandPD
  • HMS St Albans — SB

ชั้น Invincible

  • HMS Invincible — N
  • HMS Illustrious — L
  • HMS Ark Royal — R

ชั้น Queen Elizabeth

  • HMS Queen Elizabeth — Q
  • HMS Prince of Wales — P

ชั้น Bay

  • RFA Cardigan Bay — CB
  • RFA Lyme Bay — YB
  • RFA Mounts Bay — MB

ชั้น Tide

  • RFA Tidespring — TS
  • RFA Tiderace — TR
  • RFA Tidesurge — TU
  • RFA Tideforce — TF

ชั้น Wave

  • RFA Wave Knight — WK
  • RFA Wave Ruler — WR

ชั้น Fort Rosalie

  • RFA Fort Rosalie — FR
  • RFA Fort Austin — FA

รูปแบบเรือลำอื่น ๆ

  • RFA ArgusAS
  • RFA Fort Victoria — FV

กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์[แก้]

เรือ HNLMS Rotterdam (L800) มีรหัสดาดฟ้าคือ RD

ชั้น De Zeven Provinciën

  • HNLMS De Zeven Provinciën — ZP
  • HNLMS Tromp — TR
  • HNLMS De Ruyter — DR
  • HNLMS Evertsen — EV

ชั้น Holland

  • HNLMS Holland — HL
  • HNLMS Zeeland — ZL
  • HNLMS Friesland — FR
  • HNLMS Groningen — GR

เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก

  • HNLMS Rotterdam — RD
  • HNLMS Johan de Witt — JW
  • HNLMS Karel Doorman — KD

กองทัพเรือแคนาดา[แก้]

ชั้น Halifax

  • HMCS Halifax — HX
  • HMCS Vancouver — VR
  • HMCS Ville de Québec — VC
  • HMCS Toronto — TO
  • HMCS Regina — RA
  • HMCS Calgary — CY
  • HMCS Montréal — ML
  • HMCS Fredericton — FN
  • HMCS Winnipeg — WG
  • HMCS Charlottetown — CN
  • HMCS St. John's — SJ
  • HMCS Ottawa — OA

ชั้น Harry DeWolf

  • HMCS Harry DeWolf — HF

กองทัพเรืออียิปต์[แก้]

  • ENS Anwar El Sadat — AS
  • ENS Gamal Abdel Nasser — GN
  • ENS Tahya Misr — TM
  • ENS El Fateg — FT

กองทัพเรือเยอรมัน[แก้]

ชั้น Braunschweig

  • เรือ Hamburg (F220) ของกองทัพเรือเยอรมันใช้รหัสดาดฟ้าเรือ HA
    Braunschweig — BS
  • Magdeburg — MD
  • Erfurt — EF
  • Oldenburg — OL
  • Ludwigshafen am Rhein — LR

เรือฟริเกตชั้น Sachsen

  • SachsenSN
  • HamburgHA
  • Hessen — HE

เรือสนับสนุนการรบ

  • Main — MA
  • Mosel — MO

กองทัพเรือฝรั่งเศส[แก้]

เรือบรรทุกอากาศยานชั้น Charles de Gaulle

  • FS Charles de Gaulle — G

ชั้น Mistral

  • FS Tonnerre — TO
  • FS Dixmude — DX
  • FS Mistral — MI

ชั้น Horizon

  • FS Forbin — FB
  • FS Chevalier Paul — PL

ชั้น Aquitaine

  • FS Aquitaine — QN
  • FS Provence — PC
  • FS Languedoc — LD
  • FS Auvergne — VG
  • FS Bretagne — BT

ชั้น La Fayette

  • FS La Fayette — YE
  • FS Surcouf — SF
  • FS Courbet — CO
  • FS Aconit — AT
  • FS Guépratte — GT

กองทัพเรือนิวซีแลนด์[แก้]

  • HMNZS Otago — OTA
  • HMNZS Canterbury — CAN

กองทัพเรือโปรตุเกส[แก้]

เรือ NRP Dom Francisco de Almeida (F334) มีรหัสดาดฟ้าเรือคือ FA

ชั้น Vasco da Gama

  • NRP Vasco da Gama — VG
  • NRP Corte Real — CR
  • NRP Álvares Cabral — AC

ชั้น Bartolomeu Dias

  • NRP Bartolomeu DiasBD
  • NRP Dom Francisco de AlmeidaFA

กองทัพเรืออินโดนีเซีย[แก้]

กองทัพเรืออินโดนีเซียใช้รหัสสามตัวสำหรับเรือฟริเกตและเรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกเท่านั้น ตัวอักษรมักจะประกอบไปด้วยตัวอักษรตัวแรก ตัวที่สาม และตัวที่สี่ (หรือตัวสุดท้าย) ของชื่อเรือ

ชั้น Ahmad Yani

  • KRI Ahmad YaniAMY
  • KRI Oswald SiahaanOWA
  • KRI Karel Satsuit TubunKST
  • KRI Abdul Halim PerdanakusumahAHP
  • KRI Slamet RiyadiSRI
  • KRI Yos SudarsoYSO

ชั้น Martadinata

  • KRI Raden Eddy MartadinataREM
  • KRI I Gusti Ngurah RaiGNR

ชั้น Bung Tomo

  • KRI Bung TomoBTO
  • KRI John LieJLI
  • KRI Usman HARUNUSH

เรือคอร์เวตชั้น Fatahillah

  • KRI FatahillahFTI
  • KRI MalayahatiMLH
  • KRI NalaNLA

ชั้น Makassar

  • KRI MakassarMKS
  • KRI Banda AcehBAC
  • KRI SurabayaSBY
  • KRI BanjarmasinBJM
  • KRI SemarangSMR

ชั้น Cakra

  • KRI CakraCKA
  • KRI NanggalaNGA

ชั้น Nagapasa

  • KRI NagapasaNPS
  • KRI ArdadedaliARD
  • KRI AlugoroAGR

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Perrin, william Gordon (1922). British Flags, Their Early History, and Their Development at Sea: With an Account of the Origin of the Flag as a National Device. Cambridge University Press archive. p. 202.
  2. 2.0 2.1 แม่แบบ:Cite page
  3. "sci.military.naval FAQ, Part B – General Terminology & Definitions". Hazegray.org. 2002-04-28. สืบค้นเมื่อ 2013-10-08.
  4. "ACP 113 (AI) Call Sign Book for Ships" (PDF). CCEB. January 2012. pp. 199–226. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 August 2017. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  5. Jones, Peter (2001). "Towards Self Reliance". ใน Stevens, David (บ.ก.). The Royal Australian Navy. The Australian Centenary History of Defence (vol III). South Melbourne, VIC: Oxford University Press. p. 213. ISBN 0-19-554116-2. OCLC 50418095.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]