หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง
Household Division
ตราของหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง
ประเทศสหราชอาณาจักร
เหล่ากองทัพบกสหราชอาณาจักร
รูปแบบกองประจำการณ์
บทบาทพลตรีผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง และเจ้าหน้าที่ทั่วไปผู้บังคับบัญชาเขตลอนดอน
ขึ้นกับเขตลอนดอน
คำขวัญละติน: Septem juncta in uno, แปลตรงตัว'เจ็ดร่วมกันเป็นหนึ่ง'
เว็บไซต์www.householddivision.org.uk
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บังคับการกรมทหารหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
พลตรีผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังพลตรี เจมส์ โบว์เดอร์ OBE
รองผู้บัญชาการ, หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังพันเอก กาย สโตน LVO
พันตรีกองพลน้อย, หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังพันโท เจมส์ ชอว์
จ่าสิบเอกกองทหารรักษาการณ์สิบเอกพิเศษ, แอนดรูว์ 'เวิร์น' สโตกส์ OBE , MVO

หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง[1] (อังกฤษ: Household Division) เป็นส่วนหนึ่งของเขตลอนดอนกองทัพบกสหราชอาณาจักร ประกอบด้วยกรมทหารรักษาพระองค์เดินเท้า 5 กรม และกรมทหารม้ารักษาพระองค์ 2 กรม หน่วยนี้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่สาธารณะและรัฐพิธีในลอนดอนและวินด์เซอร์ หน้าที่ดังกล่าวได้แก่ การเปิดรัฐสภา สวนสนามวันเฉลิมพระชนมพรรษา และพิธีเปลี่ยนกองทหารรักษาพระองค์

องค์ประกอบ[แก้]

ทหารจากกรมทหารม้ารักษาพระองค์ในช่วงพิธีฉลองธงชัยเฉลิมพล ประจำปี 2561
จ่าสิบเอกของของ เวลช์การ์ด และ โคลด์สตรีมการ์ด ระหว่างรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาปี 2558
โคลด์สตรีมการ์ดวางธงชัยเฉลิมพลเก่าของตน หลังจากได้รับธงชัยเฉลิมพลใหม่ จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับการของพวกเขาในปี 2556

ในสหราชอาณาจักร หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวัง ประกอบไปด้วย 7 กรมทหาร ซึ่งเป็นที่มาของคำขวัญของหน่วยบัญชาการว่า Septem juncta in uno (ภาษาลาติน แปลว่า "เจ็ดร่วมกันเป็นหนึ่ง") หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังประกอบไปด้วยกรมทหารม้ารักษาพระองค์ ซึ่งรวมไปถึงกองทหารรักษาพระองค์และเดอะบลูแอนด์รอยัล ตลอดจนกองทหารรักษาการณ์ 5 กรม ได้แก่ เกรนาเดียการ์ด, โคลด์สตรีมการ์ด, สกอตส์การ์ด, ไอริชการ์ด และเวลช์การ์ด หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังยังหมายรวมถึงกองร้อยเพิ่มเติมดังต่อไปนี้: กองร้อยไนเมแกน – เกรนาเดียการ์ด, กองร้อยที่ 7 – โคลด์สตรีมการ์ด, กองร้อยเอฟ – สกอตส์การ์ด, กองร้อยที่ 9 และ 12 – ไอริชการ์ด[2] หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังรับคำสั่งจากพลตรีผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเขตลอนดอน[3]

ประวัติ[แก้]

หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังเคยรับผิดชอบพิธีเปลี่ยนกองรักษาการณ์ให้กับสถาบันหลายแห่งในลอนดอน ในปี พ.ศ. 2362 หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังได้ดูแลพิธีเปลี่ยนเวรยามสิบแห่งสำหรับป้อมรักษาการณ์ 89 แห่ง ซึ่งรวมไปถึง พิพิธภัณฑ์บริติช, พระราชวังเค็นซิงตัน, สถานพยาบาลทหาร, เรือนจำซาวอย และโรงพยาบาลยอร์ค นอกจากนี้หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังยังจัดให้มีการรักษาการณ์ช่วงกลางคืนให้กับธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ, คอเวินท์การ์เดินโอเปราเฮาส์ และเธียเตอร์รอยัล, ดรูรีเลน อย่างไรก็ตาม ภารกิจเหล่านี้ของหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังในก่อนหน้านี้นอกเหนือจากการเป็นทหารรักษาพระองค์ได้ยุติลงในช่วงปลายคริสศตวรรษที่ 19[4] ระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง 2511 หน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังเป็นที่รู้จักในชื่อว่ากองพลน้อยประจำสำนักพระราชวัง (Household Brigade) [5]

หน่วยที่คล้ายคลึงกันในเครือจักรภพ[แก้]

หน่วยทหารอื่น ๆ ในเครือจักรภพแห่งประชาชาติทำหน้าที่คล้ายคลึงกันกับหน่วยบัญชาการประจำสำนักพระราชวังของกองทัพบกสหราชอาณาจักร

ออสเตรเลีย[แก้]

ในปี พ.ศ. 2543 กองกำลังป้องกันตนเองออสเตรเลียได้จัดตั้งหน่วยพิทักษ์สหพันธ์ออสเตรเลียขึ้นมา โดยเป็นหน่วยพิธีการหน่วยแรกในประวัติศาสตร์ของกองกำลังออสเตรเลียเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีแห่งสหพันธ์ออสเตรเลีย หน่วยนี้ทำหน้าที่เป็นหน่วยพิธีการในนามของรัฐบาลออสเตรเลีย เช่น การจัดแถวกองเกียรติยศ และราชองค์รักษ์สำหรับราชวงศ์[6]

แคนาดา[แก้]

ในแคนาดา มีกรมทหารรักษาพระองค์เดินเท้า 2 กรม ได้แก่ ทหารรักษาพระองค์เดินเท้าของผู้สำเร็จราชการ (Governor General's Foot Guards) และเกรนาเดียการ์ดของแคดาดา (Canadian Grenadier Guards) มีหน้าที่รับผิดชอบในการสับเปลี่ยนเวรยามของกองรักษาการณ์ ณ ทำเนียบผู้สำเร็จราชการฯ (Rideau Hall) ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการในออตตาวา และในพิธีฉลองธงชัยเฉลิมพล ณ พาเลียเมนท์ ฮิลล์ (Parliament Hill) ในออตตาวา[7]

อินเดีย[แก้]

องครักษ์ของประธานาธิบดีเป็นระบบที่สืบทอดมาจากองครักษ์ของผู้สำเร็จราชการ (Governor General's Bodyguard) ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2316 ในฐานะของกองกำลังผู้ว่าการแห่งโมกุล (Governor's Troop of Moghuls) โดยมีบทบาทหลักคือการคุ้มกันและปกป้องประธานาธิบดีอินเดีย[8]

มาเลเซีย[แก้]

กองพลน้อยยานเกราะหลวง กองพันทหารม้าพิธีการของกองทัพบกมาเลเซียมีหน้าที่คุ้มกันและปกป้องยังดีเปอร์ตวนอากงและราจาเปอร์ไมซูรีอากง (พระมหากษัตริย์และพระราชินีแห่งมาเลเซีย) และมีหน้าที่รับผิดชอบในการสับเปลี่ยนเวรยามของกองรักษาการณ์ ณ อิสตานา เนการา ซึ่งเป็นพระราชวังในกัวลาลัมเปอร์[9] กรมทหารมาเลย์ (Royal Malay Regiment) มักประกอบพิธีเปลี่ยนกองรักษาการณ์ให้กับพระบรมวงศานุวงศ์และการมาเยือนของบุคคลสำคัญ[10]

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Weerachokesathit, Tamonwan (2022-06-02). "'ควีนเอลิซาเบธ' ทอดพระเนตรพระราชพิธี Trooping the Colour 2022". HELLO! Magazine Thailand.
  2. "The Guards Today". The Guards Museum. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023.
  3. "General commanding Army in London reads for Abbey". Westminster Abbey. 28 June 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023.
  4. "The History of the Household Division". The Household Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2017.
  5. Higgon, Katharine (November 2007). "GASCOIGNE, Maj Gen Sir Julian Alvery". Liddell Hart Military Archives. King's College London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  6. "Female soldiers guard the palace". BBC News. สืบค้นเมื่อ 24 September 2018.
  7. "Changing of the Guard on Parliament Hill cancelled due to COVID-19". CTV News. 3 April 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023.
  8. "Only three castes may apply to join the President's Bodyguard, but army still alleges there's no caste bias". Firstpost. สืบค้นเมื่อ 3 July 2021.
  9. "Consulting Malay Rulers shows king's meticulousness". Borneo Post. 25 October 2020. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023.
  10. "King's installation begins with royal salute". Daily Motion. 2019. สืบค้นเมื่อ 18 August 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]