หงฉี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หงฉี
Hongqi
ชื่อท้องถิ่น
红旗
ประเภทDivision
อุตสาหกรรมรถยนต์
ก่อตั้ง1959; 65 ปีที่แล้ว (1959)
สำนักงานใหญ่,
China
พื้นที่ให้บริการ
  • Mainland China
  • UAE
  • Azerbaijan
  • Kuwait
  • Qatar
  • Saudi Arabia
  • กัมพูชา
  • Norway
  • ญี่ปุ่น (Imported by Yanase Motors)
  • Taiwan
ผลิตภัณฑ์รถยนต์
เจ้าของFAW Group
บริษัทแม่FAW Group
เว็บไซต์hongqi.faw.cn
รถยนต์ต้นแบบ หงฉี เอชคิวดี แสดงในงานช่างไห่ออโต้โชว์ 2005
รถยนต์หงฉี CA770 รุ่นปี พ.ศ. 2517 ในงานแสดงรถยนต์คลาสสิกที่ฮ่องกง พ.ศ. 2551
รถยนต์หงฉีรุ่นหนึ่ง พบในเมืองช่างไห่ มีลักษณะคล้ายคลึงกับรถยนต์ออดี้รุ่น 100
FAW HONGQI H9 รถรับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในไทย

หงฉี (อังกฤษ: FAW Hongqi, จีน: 红旗, แปลชื่อตรงตัวหมายถึง "ธงแดง") เป็นยี่ห้อรถยนต์หรู ของบริษัทเอฟเอดับเบิลยู (เฟิร์สออโตโมบิลเวิร์คส์ (First Automobile Works)) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฉางชุน มณฑลจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เอฟเอดับเบิลยูเริ่มผลิตรถยนต์หงฉีรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 คือ หงฉี CA72 เป็นรถเก๋งหรือลีมูซีนที่ใช้แบบโครงสร้างพื้นฐานตัวรถของรถ Chrysler รุ่นปี พ.ศ. 2498[1] หงฉีในสมัยต่อมาได้รับสิทธิ์ในการใช้รูปทรงหรือแบบโครงสร้างพื้นฐานตัวรถของรถยนต์ยี่ห้ออื่น เช่น เอาดี้, ลิงคอล์น, โตโยต้า เป็นต้น ซึ่งเข้าร่วมลงทุนกิจการร่วมค้ากับเอฟเอดับเบิลยูในขณะนั้น ๆ

ในปี พ.ศ. 2549[2]-2553[3] เอฟเอดับเบิลยูใช้ยี่ห้อหงฉีกับรถยนต์หรูรุ่น HQ3 ซึ่งได้รับสิทธิ์ในการออกแบบและพัฒนาต่อยอดจากรถยนต์โตโยต้า คราวน์ (ในขณะนั้นโตโยต้าได้ร่วมกิจการร่วมค้ากับเอฟเอดับเบิลยู[4] และบริษัทอื่น ๆ ในจีน) นอกจากนี้ยังได้แสดงรถยนต์ต้นแบบต่าง ๆ ในนามหงฉี เช่น รถลีมูซีนต้นแบบ หงฉี เอชคิวดี ในงานช่างไห่ออโตโชว์ 2005, รถต้นแบบ หงฉี เอชคิวอี และหงฉี เอสยูวี ในงานเป่ย์จิงออโตโชว์ 2008

ปัจจุบันยังคงมีการผลิตรถหงฉีอยู่ โดยในปี พ.ศ. 2557 เว็บไซต์ทางการของหงฉีได้แสดงรถรุ่น L5 และรุ่น H7[5] [6]

FAW HONGQI H9 ที่จะใช้ในการรับ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในงานประชุม APEC 2022 ที่ประเทศไทย ว่ามีความสวยงาม หรูหรา และโดดเด่น บริษัท FAW Thailand มีความยินดีอย่างยิ่งและเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมนี้ เราได้เตรียมรถคันนี้มาตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ 2565 ดูแลการจัดส่งและ บำรุงรักษารถเป็นอย่างดีอย่างต่อเนื่องเพื่องานนี้โดยเฉพาะ

รุ่นรถยนต์[แก้]

ชื่อรุ่น ปี หมายเหตุ
L7[7] 2556-ปัจจุบัน[8]
L9[7] 2556-ปัจจุบัน[8]
H7[7] 2556-2561[8] ใช้แบบโครงสร้างพื้นฐานของโตโยต้า คราวน์ มาเจสตา (S200)
L5 2557-ปัจจุบัน[9] ขายให้กับประชาชนในจำนวนจำกัด
LS5 2558–2560 ใช้แบบโครงสร้างพื้นฐานของโตโยต้า แลนด์ครุยเซอร์ (J200)
H5 2561–ปัจจุบัน ใช้แบบโครงสร้างพื้นฐานของมาสด้า 6 (GJ)
E-HS3 2561–ปัจจุบัน รถเอสยูวีครอสโอเวอร์ประเภทหรูหราขนาดเล็กมากพลังงานไฟฟ้า
HS7 2562–ปัจจุบัน
HS5 2562–ปัจจุบัน ออกแบบโดยอีตัลดีไซน์
E-HS9 2563–ปัจจุบัน
H9 2563–ปัจจุบัน เคยใช้เป็นรถรับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในไทย งานประชุม APEC 2022
E-QM5 2564–ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้าพื้นฐาน H5

อ้างอิง[แก้]

  1. "FAW Announces Plan to Revive Hongqi Limousines". ChinaAutoWeb.com. August 26, 2010.
  2. A Moving Launch for FAW's New Hongqi HQ3[ลิงก์เสีย] First Automobile Works official site, Dec 20, 2006
  3. "Mao's Red Flag Returning To Drive China Leaders From Audi: Cars". bloomberg.com. Bloomberg LP. Feb 27, 2012. สืบค้นเมื่อ July 5, 2012.
  4. โตโยต้าเชื่อตลาดจีนโตแน่แต่ไม่ฉิว ข่าวจากเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ 24 กุมภาพันธ์ 2552
  5. เว็บไซต์รถยนต์หงฉีอย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2014-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน) สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2560
  6. เว็บไซต์รถยนต์หงฉีอย่างเป็นทางการ (โลก)
  7. 7.0 7.1 7.2 Lienert, Paul (Apr 25, 2012). "FAW's Hongqi Shows Two New Luxury Sedans: 2012 Beijing Auto Show". insideline.com. Edmunds.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2012. สืบค้นเมื่อ July 5, 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Mao's Red Flag Returning To Drive China Leaders From Audi: Cars". bloomberg.com. Bloomberg LP. Feb 27, 2012. สืบค้นเมื่อ July 5, 2012.
  9. Rong, Blake Z (26 เมษายน 2014). "$800,000 Hongqi L5 is the most expensive Chinese car you can buy". Autoweek. Yahoo! Autos. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]