สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศญี่ปุ่น
สิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศญี่ปุ่น | |
---|---|
ตำแหน่งของประเทศญี่ปุ่น | |
กิจกรรมของบุคคลเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ | ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ ค.ศ. 1882 |
อัตลักษณ์ทางเพศ/การแสดงออก | สามารถเปลี่ยนเพศทางกฎหมายได้ตั้งแต่ ค.ศ. 2004 หลังการผ่าตัดแปลงเพศและทำหมัน |
รับราชการทหาร | รับราชการทหารได้อย่างเปิดเผย |
ความคุ้มครองจากการถูกเลือกปฏิบัติ | เพศวิถีได้รับความคุ้มครองในบางเมืองแต่ไม่ถึงระดับชาติ[1] |
สิทธิในครอบครัว | |
การรับรอง ความสัมพันธ์ | ไม่มีการยอมรับความสัมพันธ์เพศเดียวกันทางกฎหมายในระดับรัฐบาลใด (มีการออกใบประกาศความสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ในบางเขตพื้นที่) |
การรับบุตรบุญธรรม | ก้ำกึ่ง |
เลสเบียน, เกย์, ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ (แอลจีบีที) ในประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับความท้าทายทางกฎหมายหลายด้าน กิจกรรมทางเพศเดียวกันถูกทำให้ผิดกฎหมายในระยะเวลาอันสั้นในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1872–1881 จนมีการรับประมวลกฎหมายอาญานโปเลียนมาปรับใช้ในประเทศพร้อมด้วยหลักอายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้ (age of consent)[2] คู่รักและครอบครัวที่มีคู่รักเป็นเพศเดียวกันไม่ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเฉกเช่นกับคู่รักที่เป็นเพศตรงข้ามกัน แม้ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 บางเมืองและบางจังหวัดออก "ใบประกาศความสัมพันธ์" เชิงสัญลักษณ์เพื่อยอมรับความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่นเป็นเพียงประเทศเดียวในกลุ่ม 7 ที่ไม่ยอมรับการอยู่กินด้วยกันระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน (same-sex union) ในรูปแบบใด[3] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2021 ศาลแขวงซัปโปโระพิพากษาว่าการไม่ยอมรับการสมรสเพศเดียวกันเป็นการละเมิดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ[4] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 ศาลแขวงโอซากะพิพากษากลับว่าไม่เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ[5] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ศาลแขวงโตเกียวพิพากษาว่าการไม่มีกฎหมายรองรับการสมรสเพศเดียวกัน เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ (unconstitutional state of affairs) แต่ไม่เป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ[6] อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลไม่มีผลทางกฎหมายทันที[7]
วัฒนธรรมและศาสนาหลักของประเทศญี่ปุ่นไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดที่บ่งชี้ถึงความเป็นศัตรูต่อการรักร่วมเพศ[8] รายงานหลายครั้งระบุว่าประชาชนชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่สนับสนุนและยอมรับการรักร่วมเพศ โดยการสำรวจใน ค.ศ. 2019 ปรากฏผลว่ากว่าร้อยละ 68 เห็นด้วยว่าการรักร่วมเพศควรจะได้รับการยอมรับในสังคม ขณะที่ร้อยละ 22 ไม่เห็นด้วย[9] แม้จะมีพรรคการเมืองหลายพรรคไม่ได้แสดงท่าทีสนับสนุนหรือคัดค้านสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเปิดเผย แต่มีนักการเมืองแอลจีบีทีเปิดเผยหลายคนดำรงตำแหน่งอยู่ มีการผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้คนข้ามเพศ (ทรานส์เจนเดอร์) เปลี่ยนเพศทางกฎหมายได้เมื่อผ่านการผ่าตัดแปลงเพศและการทำหมันใน ค.ศ. 2003 บางเมือง รวมถึงโตเกียว มีการห้ามเลือกปฏิบัติเหตุเพศวิถี (sexual orientation) และอัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity)[10] ในปีเดียวกันมีการผ่านกฎหมายอนุญาตให้คนข้ามเพศเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อในเอกสารที่มีผลตามกฎหมาย โดยจะต้องผ่านการผ่าตัดแปลงเพศ, การทำหมัน และไม่มีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี กฎหมายเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระราชบัญญัติว่าด้วยคดีพิเศษเกี่ยวกับการรับมือสถานะทางเพศของผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศผิดปกติ" (性同一性障害者の性別の取扱いの特例に関する法律) หรือเรียกอย่างสั้น "กฎหมาย 111" มีผลใช้บังคับในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[11] และได้รับการเน้นย้ำหลักการโดยศาลสูงสุดญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2019[12]
มีการจัดงาน "โตเกียวเรนโบว์ไพรด์" เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ ค.ศ. 2012 โดยมีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[13] ผลสำรวจความคิดเห็น ค.ศ. 2015 ระบุว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่สนับสนุนการทำให้การสมรสเพศเดียวกันถูกกฎหมาย[14] ผลสำรวจอีกแห่งที่ทำในปีต่อ ๆ มาชี้ให้เห็นถึงระดับการให้ความสนับสนุนต่อการสมรสเดียวกันที่สูงขึ้นในหมู่ชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนรุ่นใหม่[15] แต่ผลสำรวจ ค.ศ. 2020 ในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศกว่า 10,000 คน ในประเทศญี่ปุ่น ระบุว่ามากกว่าร้อยละ 38 ถูกคุกคามหรือทำร้ายร่างกาย[16]
ในทางการเมือง หลังระยะเวลากว่าสามปีที่ในการศึกษาและปรึกษาหารือ คณะกรรมการพิเศษของพรรคเสรีประชาธิปไตยประกาศว่าจะมีการยก "ร่างกฎหมายความเข้าใจและการยกระดับ (สิทธิ) ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ" เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาความเข้าใจในปัญหาของกลุ่มแอลจีบีที อย่างไรก็ตาม นักกิจกรรมสิทธิกลุ่มแอลจีบีทีวิจารณ์ว่าร่างกฎหมายพลาดเป้าในการไม่กล่าวถึงการสมรสเพศเดียวกันหรือการให้ความคุ้มครองการเลือกปฏิบัติ[17][18] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 พรรคเสรีประชาธิปไตยประกาศว่าจะผ่านร่างดังกล่าวในสมัยประชุมสภาปัจจุบัน โดยตั้งว่าจะผ่านได้ภายในเดือนมิถุนายน ร่างกฎหมายระบุเพียงว่า ให้รัฐบาล "ส่งเสริมความเข้าใจกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ" และไม่ได้ห้ามปรามการเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด[19] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 ร่างกฎหมายว่าด้วยความเข้าใจของกลุ่มแอลจีบีทีผ่านทั้งสองสภา[20][21]
ตารางสรุป
[แก้]กิจกรรมทางเพศเดียวกันถูกกฎหมาย | (ตั้งแต่ ค.ศ. 1882) |
อายุที่ยอมให้ร่วมประเวณีได้อย่างเท่าเทียม (16) | (ตั้งแต่ ค.ศ. 1882)[2] |
กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน | / (ใน โตเกียว, จังหวัดอิบารากิ และจังหวัดอากิตะ) |
กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ | / (ในโตเกียวและจังหวัดอิบารากิ) |
กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติในทุกด้าน (รวมถึงการเลือกปฏิบัติทางอ้อม ประทุษวาจา) | / (ในโตเกียวและจังหวัดอิบารากิ) |
การสมรสเพศเดียวกัน | (ศาลล่างพิพากษาว่าการห้ามไม่ให้สมรสเพศเดียวกันขัดต่อรัฐธรรมนูญ)[22] |
การยอมรับคู่รักเพศเดียวกัน | (บางเขตพื้นที่มอบ "ใบประกาศความสัมพันธ์" เชิงสัญลักษณ์โดยถือว่าเป็นการยอมรับ หลายเขตพื้นที่กำลังพิจารณาใช้มาตรการนี้) |
การรับบุตรบุญธรรมโดยคู่รักเพศเดียวกัน | (บางเขตพื้นที่มอบ "ใบประกาศความสัมพันธ์" รวมถึงการพิสูจน์บุตรทางสายเลือดของหนึ่งในคู่รัก หลายเขตพื้นที่กำลังพิจารณาใช้มาตรการนี้) |
การรับบุตรบุญธรรมร่วมโดยคู่รักเพศเดียวกัน | |
เลสเบียน, เกย์ และไบเซ็กชวลสามารถรับราชการทหารได้ | |
สิทธิในการเปลี่ยนเพศทางกฎหมาย | (ตั้งแต่ 2004 ภายใต้ข้อจำกัด: ต้องผ่านการผ่าตัดแปลงเพศและการทำหมัน ต้องเป็นโสด และไม่มีบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี) |
การห้ามไม่ให้ผู้เยาว์เข้ารับการบำบัดแก้เพศวิถี | |
การทําเด็กหลอดแก้วสำหรับคู่รักเลสเบียน | [23] |
การอุ้มบุญเชิงพาณิชย์ (commercial surrogacy) สำหรับคู่รักเกย์ | (ห้ามไม่ว่าจะมีเพศวิถีใด) |
การอนุญาตให้ผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายสามารถบริจาคเลือด | / (เมื่อผ่านมาแล้วเกิน 6 เดือน) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ILGA State sponsored homophobia 2008.doc" (PDF). Ilga.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 March 2009. สืบค้นเมื่อ 20 January 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "H-Net Reviews". H-net.org. May 2000. สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
- ↑ Justin McCurry (2020-10-30). "Japan's 'love hotels' accused of anti-gay discrimination". The Guardian.
- ↑ 日本放送協会. "同性婚認めないのは違憲の初判断 国への賠償は退ける 札幌地裁". NHK政治マガジン (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
- ↑ 日本放送協会. ""同性婚 認められないのは憲法に違反せず" 大阪地裁 | NHK". NHKニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
- ↑ 日本放送協会. "同性婚 法制度ないのは違憲状態も憲法には違反せず 東京地裁 | NHK". NHKニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-02-27.
- ↑ "Japan court rules same-sex marriage ban constitutional, but advocates hold out hope". The Japan Times. 30 November 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-19. สืบค้นเมื่อ 24 February 2023.
- ↑ Sam Shoushi (2008-03-25). "Japan and Sexual Minorities | ヒューライツ大阪". Hurights.or.jp. สืบค้นเมื่อ 2014-06-16.
- ↑ "The Global Divide on Homosexuality Persists". Pew Research Center. 2020-06-25. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-10-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Japan: Human Rights Violation against Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender Persons" (PDF). ILGA. April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-09-05. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
- ↑ Jackman, Josh (24 January 2019). "Japan's Supreme Court rules transgender people still have to get sterilised · PinkNews". www.pinknews.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
- ↑ "12 pictures of Tokyo Pride which will make your day". 8 May 2017. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
- ↑ Chisaki Watanabe (2015-11-29). "Majority of Japanese Support Same-Sex Marriage, Poll Shows - Bloomberg Business". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2015-12-27.
- ↑ "Survey: 78% of Japanese in 20s to 50s favor legal gay marriages". The Asahi Shimbun. 28 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-11. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
- ↑ "38% of LGBT people in Japan sexually harassed or assaulted: survey". Kyodo News. 2020-12-27.
- ↑ Glauert, Rik (26 June 2019). "Japan's ruling party reveals draft 'LGBT understanding' bill". Gay Star News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 August 2019.
- ↑ ""LGBT bill" at the Liberal Democratic Party to be submitted to the next Diet session". TV Asahi. 25 June 2019.
- ↑ "Panel of Japan's ruling LDP to seek early passage of law on LGBT understanding". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-10.
- ↑ "Japan passes watered-down LGBT understanding bill". CNN (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-16. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
- ↑ "Japan's parliament passes watered-down LGBTQ understanding bill". Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-20. สืบค้นเมื่อ 2023-06-20.
- ↑ Yamaguchi, Mari (17 March 2021). "Japan court says same-sex marriage should be allowed". Associated Press.
- ↑ "Proposed Japanese Fertility Law Discriminates Against Lesbians, Single Women". 6 December 2022.