ข้ามไปเนื้อหา

สาหร่ายพวงองุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สาหร่ายพวงองุ่น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
หมวด: Chlorophyta
Chlorophyta
ชั้น: Ulvophyceae
Ulvophyceae
อันดับ: Bryopsidales
Bryopsidales
วงศ์: Caulerpaceae
Caulerpaceae
สกุล: Caulerpa
Caulerpa
J.Agardh, 1837[1]
สปีชีส์: Caulerpa lentillifera
ชื่อทวินาม
Caulerpa lentillifera
J.Agardh, 1837[1]

สาหร่ายพวงองุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Caulerpa lentillifera) เป็นสาหร่ายสีเขียวในชั้น Ulvophyceae มีถิ่นกำเนิดตามชายฝั่งทะเลในแถบอินโดแปซิฟิก เป็นหนึ่งในสาหร่ายกินได้ในสกุล Caulerpa ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและชุ่มฉ่ำ นิยมรับประทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และเอเชียตะวันออก สาหร่ายพวงองุ่นถูกเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในฟิลิปปินส์ในปี 1950 ตามมาด้วยญี่ปุ่นในปี 1986 ทั้งสองประเทศนี้ยังคงเป็นผู้บริโภคสาหร่ายพวงองุ่นอันดับต้น ๆ การเพาะเลี้ยงได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม ไต้หวัน และจีน[2]

การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์

[แก้]

ดั้งเดิมสาหร่ายพวงองุ่นถูกเก็บเกี่ยวโดยตรงจากทะเล การเพาะปลูกสาหร่ายพวงองุ่นในเชิงพาณิชย์ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1950 ในเมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากการนำสาหร่ายพวงองุ่นไปเลี้ยงในบ่อปลาโดยไม่ได้ตั้งใจ[3] ปัจจุบันมีบ่อเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นประมาณ 400 เฮกตาร์ในเซบู โดยผลิตสาหร่ายพวงองุ่น สดได้ประมาณ 12 ถึง 15 ตันต่อปี โดยปกติแล้วจะเก็บเกี่ยวหลังจากปลูกครั้งแรก 2 เดือน และเก็บเกี่ยวหลังจากนั้นทุก 2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโต[4]

การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มต้นในปี 1986 โดยปลูกในบ่อน้ำในน้ำอุ่นของโอกินาวะ[5] การเพาะปลูกเชิงพาณิชย์ได้แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ รวมทั้งเวียดนาม ไต้หวัน และจีน (ในฝูเจี้ยนและไหหลำ) ส่วนใหญ่ใช้สำหรับบริโภคภายในประเทศ แต่ยังมีสำหรับส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นด้วย[6]

การใช้ในการทำอาหาร

[แก้]

Caulerpa lentillifera เช่นเดียวกันกับ C. racemosa เป็นอาหารดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โอเชียเนีย และเอเชียตะวันออก มักจะกินทั้งอย่างนั้นหรือกินในสลัด[7] คนที่ทานมักระบุว่าสาหร่ายพวงองุ่นมีรสชาติ "เหมือนมหาสมุทร" นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยไอโอดีน[8]

ในฟิลิปปินส์ สาหร่ายพวงองุ่นมักรู้จักกันในชื่อ latô หรือ arosep มักจะรับประทานดิบโดยทำเป็นสลัด (ensaladang lato) หลังจากชะล้างสาหร่ายพวงองุ่นด้วยน้ำสะอาดผสมกับหอมแดงสับและมะเขือเทศสด ปรุงรสด้วยน้ำปลาหรือบาโกอองและน้ำส้มสายชู ความนิยมได้แพร่กระจายไปยังรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซียด้วย (ซึ่งสะกดว่า latok) เนื่องจากการอพยพของชาวบาเจา[9][4]

ในโอกินาว่าประเทศญี่ปุ่น สาหร่ายพวงองุ่นมีชื่อเรียกกันว่า อุมิบุโด (ญี่ปุ่น: 海ぶどうโรมาจิumi-budō) ซึ่งแปลว่า "องุ่นทะเล" รับประทานโดยการจุ่มพนซุ ทำเป็นซูชิ ใส่สลัด หรือทานทั้งอย่างนั้น

สาหร่ายพวงองุ่นยังมีรับประทานกันในเวียดนามซึ่งเรียกว่า rong nho หรือ rong nho biển ซึ่งหมายถึง "สาหร่ายองุ่น" ในประเทศเกาหลีเรียกกันว่า bada podo (바다포도) ซึ่งหมายถึง "องุ่นทะเล"; และในประเทศอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี) ซึ่งเรียกว่า bulung

ประโยชน์ต่อสุขภาพ

[แก้]

มีรายงานเกี่ยวกับประโยชน์ต่อสุขภาพของสาหร่ายพวงองุ่นหลายประการซึ่งรวมถึงคุณสมบัติในการลดไขมันและเบาหวาน[10][11]

ระเบียนภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Agardh, Jacob Georg (1837). "Novae species algarum, quas in itinere ad oras maris rubri collegit Eduardus Rüppell; cum observationibus nonnullis in species rariores antea cognitas". Museum Senckenbergianum. Abhandlungen aus dem Gebiete der beschreibenden Naturgeschichte. 2: 169–174. สืบค้นเมื่อ March 27, 2022.
  2. "Sea grapes - green caviar". Authentic World Food. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
  3. Trono, Gavino C., Jr. (December 1988). Manual on Seaweed Culture. ASEAN/UNDP/FAO Regional Small-Scale Coastal Fisheries Development Project.
  4. 4.0 4.1 Dela Cruz, Rita T. "Lato: Nutritious Grapes from the Sea". BAR Digest. Bureau of Agricultural Research, Republic of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
  5. Trono, G.C., Jr. "Caulerpa lentillifera (PROSEA)". Pl@ntUse. PROSEA (Plant Resources of South East Asia). สืบค้นเมื่อ 26 October 2020.
  6. Chen, Xiaolin; Sun, Yuhao; Liu, Hong; Liu, Song; Qin, Yukun; Li, Pengcheng (2019). "Advances in cultivation, wastewater treatment application, bioactive components of Caulerpa lentillifera and their biotechnological applications". PeerJ. 7: e6118. doi:10.7717/peerj.6118. PMC 6329336. PMID 30643691.
  7. Paul, Nicholas A.; Neveux, Nicolas; Magnusson, Marie; de Nys, Rocky (21 December 2013). "Comparative production and nutritional value of "sea grapes" — the tropical green seaweeds Caulerpa lentillifera and C. racemosa". Journal of Applied Phycology. doi:10.1007/s10811-013-0227-9. S2CID 15745994.
  8. Ratana-arporn, Pattama; Chirapar, Anong (2006). "Nutritional Evaluation of Tropical Green Seaweeds Caulerpa lentillifera and Ulva reticulata". Kasetsart Journal - Natural Science. 40: 75–83.
  9. Wagey, Billy T; Bucol, Abner A (25 February 2014). "A Brief Note of Lato (Caulerpa racemosa) Harvest at Solong-on, Siquijor, Philippines". e-Journal BUDIDAYA PERAIRAN. 2 (1). doi:10.35800/bdp.2.1.2014.3793.
  10. Sharma, Bhesh Raj; Kim, Hyun Jung; Rhyu, Dong Young (2015-02-15). "Caulerpa lentillifera extract ameliorates insulin resistance and regulates glucose metabolism in C57BL/KsJ-db/db mice via PI3K/AKT signaling pathway in myocytes". Journal of Translational Medicine. 13: 62. doi:10.1186/s12967-015-0412-5. ISSN 1479-5876. PMC 4350654. PMID 25889508.
  11. Sharma, Bhesh Raj; Rhyu, Dong Young (July 2014). "Anti-diabetic effects of Caulerpa lentillifera: stimulation of insulin secretion in pancreatic β-cells and enhancement of glucose uptake in adipocytes". Asian Pacific Journal of Tropical Biomedicine. 4 (7): 575–580. doi:10.12980/APJTB.4.2014APJTB-2014-0091. ISSN 2221-1691. PMC 4032834. PMID 25183280.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]