ข้ามไปเนื้อหา

แปลก สัตยานุกูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล)

ภาพถ่ายคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) เมื่อ พ.ศ. 2455 ขณะเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
ภาพถ่ายคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) เมื่อ พ.ศ. 2455 ขณะเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
เกิดแขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย กรุงรัตนโกสินทร์
สัญชาติไทย
อาชีพนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5
นางสนองพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ 6
ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
คู่สมรสพระยาสัตยานุกูล (นุช มหานีรานนท์)
บุตร
  • ขุนสมานสมุทกรรม (บุนย์หนุน มหานีรานนท์)[1]
  • แนบ มหานีรานนท์

คุณหญิงสัตยานุกูล มีนามเดิมว่า แปลก สกุลโรจนกุล เป็นนางพระกำนัลในรัชกาลที่ 5 และนางสนองพระโอษฐ์ (ข้าหลวงฝ่ายใน) ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รัชกาลที่ 6

ประวัติ[แก้]

คุณหญิงสัตยานุกูล นามเดิม แปลก[2][3] (สกุลเดิม: โรจนกุล) เกิดในรัชกาลที่ 4 มีนิวาสสถานเดิมอยู่ที่แขวงบ้านช่างหล่อ วังหลัง ด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช[4] เมื่อวัยเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้คุณแปลกเข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นคุณพนักงานชั้นนางพระกำนัลส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในพระบรมมหาราชวัง[5]

สมัยรัชกาลที่ 5 คุณแปลกได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งนางพระกำนัลเพื่อสมรสกับพระยาประสิทธิสงคราม (นุช) (ต้นสกุล: มหานีรานนท์) ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี (บรรดาศักดิ์เดิม: พระจินดารักษ์) ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย มีบุตรีชื่อ คุณแนบ มหานีรานนท์[6]

สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) เข้ารับราชการมีตำแหน่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ (ฝ่ายใน) ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2455[7] และโปรดเกล้า ฯ ให้ คุณแนบ มหานีรานนท์ บุตรีของคุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) เป็นข้าหลวง (ฝ่ายใน) ส่วนพระองค์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงตามมารดา[8] ซึ่งกาลต่อมาบุตรีของท่านกลายเป็นปูชนียบุคคลสำคัญด้านพระพุทธศาสนา คือ อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ บรรดาศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันเป็นก่อตั้งมูลนิธิแนบมหานีรานนท์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ณ บ้านบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร[9]

เมื่อ พ.ศ. 2466 ปีกุน เดือนมีนาคม คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก) ได้กราบบังคมทูลใต้ฝ่าพระบาทขอพระอนุญาตสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หอพระสมุดวชิรญาณ เพื่อขอจัดพิมพ์หนังสือแจกงานปลงศพสนองคุณผู้สามีในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาสัตยานุกูล (นุช มหานีรานนท์) ผู้กำกับถือน้ำในกระทรวงมหาดไทย เสด็จในกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงโปรดประทานให้พิมพ์หนังสือเรื่อง “เรื่องไทรโยคเปนอย่างไร[10] พระนิพนธ์ของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และทรงเรียบเรียงประวัติแทรกไว้เป็นที่ระลึก

คุณหญิงสัตยานุกูล (แปลก โรจนกุล) มีอุปนิสัยรักษาอุโบสถศีลเป็นประจำทุกวันพระ และจัดให้มีการทำบุญและสนทนาธรรมอยู่เป็นประจำ ณ นิวาสสถานของตน ส่งผลให้บุตรธิดาสนใจในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเยาว์[8]

ตำแหน่งราชการ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. กษิดิศ อนันทนาธร. (2561). ๗๓ ปี วันสันติภาพไทย: ผู้ปิดทองใต้ฐานพระ. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. หน้า 124 (เชิงอรรค ๔). ISBN 978-974-315-978-7
    • บุญชนัยชล มหานีรานนท์. (2516). อนุสรณ์ขุนสมานสมุทกรรม. วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๖ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส. นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด กรมประชาสงเคราะห์. หน้า 1.
  2. วริยา ชินวรรโณ และคณะ. (2543). "การปฏิบัติสมาธิแนวอาจารย์แนบ มหานีรานนท์," สมาธิในพระไตรปิฎก วิวัฒนาการการตีความคําสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 455. ISBN 978-974-3-33530-3
  3. สัจธรรม. (2551). อาทิตย์อุไทย : เสี้ยวหนึ่งของพระชนม์สมเด็จวังบูรพา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี. หน้า 14. ISBN 978-974-1-63093-6
  4. ฉลบชลัยย์ พลางกูร. (2553). อัตชีวประวัติภาคปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. หน้า 84.
  5. กฤษดา เมืองไชย. "ชีวิตและงานทางธรรมของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์," i-ASiA Magazine 29(May-Jun 2011):58.
  6. มูลนิธิแนบ มหานีรานนท์. สังเขปประวัติอาจารย์แนบ มหานีรานนท์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2567. อ้างใน เพื่อทัสสนานุตตริยคุณสวนานุตตริยคุณ พิมพ์ในวาระอายุครบ ๙๐ ปี อ.ปราโมช น้อยวัฒน์ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๙. และ ปุญฺญวุฑฺโฒ ภิกฺขุ. (2554). "แนบ มหานีรานนท์ : ศิษย์ผู้สืบสานเจตนารมณ์," ตามรอยพระภัททันตวิลาสมหาเถระ ผู้สืบสานการศึกษาพระอภิธรรม และวิปัสสนากรรมฐานหมวดอิริยาบถในเมืองไทย. (แปลโดย พระอาจารย์ภัททัตนวิลาสมหาเถระ, แนบ มหานีรานนท์ และคณะ). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส. 260 หน้า. ISBN 978-616-7-51406-2
  7. 7.0 7.1 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2523). "จตุตถจุลจอมเกล้า (อัตรา 150) พระราชทาน พ.ศ. 2455," เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ฉบับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2523. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. หน้า 311.
    • ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2512). ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ในงานพระราททานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาอ่อน ป.จ. ในรัชกาลที่ ๕ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒. กรุงเทพฯ: พระจันทร์. หน้า 178.
  8. 8.0 8.1 ข้าหลวงในของสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีผู้บรรลุธรรม. เรื่องเล่าชาวสยาม. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2567.
  9. มูลนิธิแนบมหานีรานนท์. ความเป็นมาของมูลนิธิแนบมหานีรานนท์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2567.
  10. ภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้า ฯ กรมพระยา. (2466). เรื่องไทรโยคเปนอย่างไร. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาสัตยานุกูล เมื่อปีกุญ พ.ศ. ๒๔๖๖. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร. หน้า คำนำ.
  11. พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์ฝ่ายใน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๓๑. (๒๔๕๕, ๒๔ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๙. หน้า ๑,๙๐๗.