สังเคราะห์นิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“The Talisman” โดย พอล เซรูสิเยร์ซึ่งเป็นงานชิ้นหลักของศิลปะสังเคราะห์นิยม

ศิลปะสังเคราะห์นิยม (อังกฤษ: Synthetism) เป็นคำที่ใช้โดยศิลปินอิมเพรสชันนิสม์สมัยหลังเช่นพอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตงเพื่อแยกงานของตนเองจาก “ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์” ศิลปินสังเคราะห์นิยมในระยะแรกมีความเกี่ยวข้องกับ “ลัทธิคลัวซอนนิสม์” และต่อมากับ “ลัทธิสัญลักษณ์นิยม[1]

“Synthetism” มาจากคำกิริยาภาษาฝรั่งเศสว่า “synthétiser” ที่แปลว่าสังเคราะห์ หรือ เพื่อรวมเพื่อทำให้สร้างสิ่งที่มีรูปทรงใหม่และซับซ้อน

พอล โกแกง, อีมิล แบร์นาร์ด และ หลุยส์ อันเคแตง และจิตรกรผู้อื่นเป็นผู้ริเริ่มแนวทางศิลปะนี้ระหว่างปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1890

ศิลปินสังเคราะห์นิยมมีวัตถุประสงค์ในการ “สังเคราะห์” อยู่สามสิ่ง:

  • รูปทรงภาพนอกของรูปทรงธรรมชาติ
  • ความรู้สึกของศิลปินที่มีต่อสิ่งที่เขียนหรือสร้าง
  • ความบริสุทธิ์ของความงามของเส้น, สี และ รูปทรง

ในปี ค.ศ. 1890 มอริซ เดอนีส์สรุปจุดประสงค์ของการสังเคราะห์ไว้ว่า

สิ่งที่ต้องจำไว้คือภาพก่อนที่จะเป็นม้ารบ, สตรีเปลือย หรืออื่นๆ ซึ่งอันที่จริงแล้วก็เป็นเพียงพื้นผิวที่ราบอาบด้วยสีเข้าด้วยกันตามลำดับก่อนหลัง

คำนี้ใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1877 เพื่อแสดงความแตกต่างระหว่างอิมเพรสชันนิสม์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น ในปี ค.ศ. 1889 โกแกงและอีมิล ชูฟเฟอเนเคอร์ (Emile Schuffenecker) จัด “นิทรรศการของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์และสังเคราะห์” (The Volpini Exhibition) ในปารีส ชื่อการแสดงที่กำกวมทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการแสดงภาพเขียนของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ สังเคราะห์นิยมจะเน้นความเป็นสองมิติที่ราบ ซึ่งแตกต่างจากศิลปะและทฤษฎีของศิลปะอิมเพรสชันนิสม์

จิตรกรรมสังเคราะห์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brettell, Richard R. (1999). Modern Art, 1851-1929: Capitalism and Representation. Oxford University Press. ISBN 019284220X.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะสังเคราะห์นิยม