สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
สนธิสัญญาสันติภาพขั้นสุดท้ายระหว่างราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา | |
---|---|
หน้าแรกของสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1783) | |
วันร่าง | 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1782 |
วันลงนาม | 3 กันยายน ค.ศ. 1783 |
ที่ลงนาม | กรุงปารีส, ฝรั่งเศส |
วันมีผล | 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1784 |
เงื่อนไข | ให้สัตยาบันโดยบริเตนใหญ่และสหรัฐ |
ผู้ลงนาม | |
ผู้เก็บรักษา | รัฐบาลอเมริกัน[1] |
ภาษา | อังกฤษ |
ข้อความทั้งหมด | |
Treaty of Paris (1783) ที่ วิกิซอร์ซ |
สนธิสัญญาปารีส (อังกฤษ: Treaty of Paris) ลงนามสัตยาบันที่กรุงปารีสโดยพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งบริเตนใหญ่ และผู้แทนฝั่งสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1783 ซึ่งมีผลทำให้สงครามปฏิวัติอเมริกาอันเป็นสิ้นสุด เนื้อหาของสนธิสัญญายังกันเขตพรมแดนของจักรวรรดิอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายได้เปรียบ[2] โดยรายละเอียดปลีกย่อยรวมถึงสิทธิในการหาปลาในน่านน้ำต่างๆ การซ่อมแซมอาคารที่เสียหาย และเชลยศึกของทั้งสองฝ่าย
สนธิสัญญาฉบับนี้ และสนธิสัญญาสันติภาพอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นระหว่างบริเตนใหญ่กับกลุ่มประเทศที่ร่วมสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ นั้นถูกเรียกรวมกันว่า "สนธิสัญญาสันติภาพปารีส[3][4]" ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงมาตรา 1 ที่ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะความเป็นประเทศเอกราชของสหรัฐอเมริกา[5]
รายละเอียด
[แก้]สนธิสัญญาฉบับนี้ และสนธิสัญญาสันติภาพอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นระหว่างบริเตนใหญ่กับกลุ่มประเทศที่ร่วมสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ นั้นถูกเรียกรวมกันว่า "สนธิสัญญาสันติภาพปารีส[3][4]" ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงมาตรา 1 มาตราเดียวที่ยังมีผลบังคับใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับรองสถานะความเป็นประเทศเอกราชของสหรัฐอเมริกา[5] ส่วนมาตราอื่นๆ นั้นเกี่ยวข้องกับเขตแดนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา จึงถูกแทนด้วยสนธิสัญญาฉบับใหม่ฉบับอื่นๆ แทน
ในอารัมภบทได้กล่าวถึงสนธิสัญญาว่า"กระทำในนามของพระตรีเอกภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุด"[6] ซึ่งกล่าวถึงสัตยาบันของทั้งสองฝ่ายที่ตกลงร่วมกันเพื่อที่จะ "ลืมความขัดแย้งและความแตกต่างทั้งหมดทั้งปวงในอดีตที่ผ่านมา" และ "เพื่อนำไปสู่สันติภาพและความปรองดองซึ่งกันและกัน"
- บริเตนใหญ่รับรองให้สหรัฐอเมริกา (นิวแฮมป์เชียร์ แมสซาชูเซตส์ โรดไอส์แลนด์และนิคมพรอวิเดนซ์ คอนเนกติคัต นิวยอร์ก นิวเจอร์ซีย์ เพนซิลวาเนีย เดลาแวร์ แมรีแลนด์ เวอร์จิเนีย นอร์ทแคโรไลนา เซาท์แคโรไลนา และจอร์เจีย[7]) เป็นรัฐเอกราช โดยที่พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่รวมทั้งรัชทายาทผู้สืบสันตติวงศ์ทั้งหมดจะไม่อ้างสิทธิ์ในรัฐบาล ทรัพย์สิน และสิทธิต่อดินแดนของสหรัฐอเมริกา
- มีการกักกันเขตพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับดินแดนในอาณานิคมของบริเตนใหญ่ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งกินบริเวณตั้งแต่แม่น้ำมิสซิสซิปปีจนถึงอาณานิคมทางตอนใต้
- ให้สิทธิในการทำประมงต่อสหรัฐอเมริกาในบริเวณแกรนด์แบงส์ เกาะนิวฟันด์แลนด์ และอ่าวเซนต์ลอเรนซ์
- รับรองหนี้ที่จะต้องชำระให้กับเจ้าหนี้ของทั้งสองฝ่ายอย่างถูกต้อง
- รัฐสภาของสหพันธ์จะต้องแนะนำอย่างเข้มงวดให้มีการตรากฎหมายสำหรับสิทธิในการถือครองที่ดินของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ถูกต้อง และจะต้องมีการชดใช้ให้กับสินทรัพย์ สิทธิ และทรัพย์สินต่างๆ ของชาวบริติช (และผู้นิยมกษัตริย์) ที่ถูกริบไป
- สหรัฐอเมริกาจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดการริบหรือยึดครองสินทรัพย์ของฝ่ายผู้นิยมกษัตริย์อีก
- เชลยศึกของทั้งฝ่ายจะต้องได้รับอิสรภาพ สินทรัพย์ทั้งหมดของบริเตนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาจะต้องคงอยู่ และถูกริบ
- ทั้งสองฝ่ายสามารถเข้าถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปีได้เสมอกัน
- ดินแดนที่แต่ละฝ่ายยึดครองได้ภายหลังจากการทำสนธิสัญญานี้จะต้องส่งคืนโดยปราศจากการชดใช้ค่าปรับ
- ให้ลงสัตยาบันในสนธิสัญญานี้ภายในหกเดือนหลังจากการลงนามแล้ว
ลงท้ายสนธิสัญญาว่า "ลงนามที่กรุงปารีส ในวันที่ 3 เดือนกันยายน ปีแห่งคริสต์ศักราชที่ 1783"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miller, Hunter (บ.ก.). "British-American Diplomacy: Treaty of Paris". The Avalon Project at Yale Law School. สืบค้นเมื่อ October 19, 2014.
- ↑ Paterson, Thomas; Clifford, J. Garry; Maddock, Shane J. (January 1, 2014). American foreign relations: A history, to 1920. Vol. 1. Cengage Learning. p. 20. ISBN 978-1305172104.
- ↑ 3.0 3.1 Morris, Richard B. (1965). The Peacemakers: the Great Powers and American Independence. Harper and Row.
- ↑ 4.0 4.1 Black, Jeremy (April 14, 1994). British foreign policy in an age of revolutions, 1783–1793. Cambridge University Press. pp. 11–20. ISBN 978-0521466844.
- ↑ 5.0 5.1 "Treaties in Force A List of Treaties and Other International Agreements of the United States in Force on January 1, 2016" (PDF). United States Department of State. p. 463. สืบค้นเมื่อ 14 April 2017.
- ↑ Federer, William. American Clarion (September 3, 2012). http://www.americanclarion.com/2012/09/03/holy-undivided-trinity-11934/
- ↑ Peters, Richard, บ.ก. (November 1963). "A Century of Lawmaking for a New Nation: U.S. Congressional Documents and Debates, 1774–1875". Buffalo, New York: Dennis & Co. สืบค้นเมื่อ February 22, 2020 – โดยทาง Library of Congress.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Bemis, Samuel Flagg (1935). The Diplomacy of the American Revolution. Indiana University Press.
- Dull, Jonathan R. (1987). "Chapters 17-20". A Diplomatic History of the American Revolution. Yale University Press. ISBN 978-0-300-03886-6.
- Graebner, Norman A.; Burns, Richard Dean; Siracusa, Joseph M. (2011). Foreign affairs and the founding fathers: from Confederation to constitution, 1776–1787. ABC-CLIO. p. 199. ISBN 9780313398261.
- Harlow, Vincent T. (1952). The Founding of the Second British Empire 1763–1793. Volume 1: Discovery and Revolution. UK: Longmans, Green.
- Hoffman, Ronald (1981). Albert, Peter J. (บ.ก.). Diplomacy and Revolution: The Franco-American Alliance of 1778. University of Virginia Press. ISBN 978-0-8139-0864-9.
- Hoffman, Ronald (1986). Albert, Peter J. (บ.ก.). Peace and the Peacemakers: The Treaty of 1783. University of Virginia Press. ISBN 978-0-8139-1071-0. Specialized essays by scholars
- Kaplan, Lawrence S. (September 1983). "The Treaty of Paris, 1783: A Historiographical Challenge". International History Review. 5 (3): 431–442. doi:10.1080/07075332.1983.9640322.
- Morris, Richard B. (1983). "The Great Peace of 1783". Massachusetts Historical Society Proceedings. 95: 29–51. JSTOR 25080922.
a summary of his long book
- Perkins, James Breck (1911). "Negotiations for Peace". France in the American Revolution. Houghton Mifflin.
- Ritcheson, Charles R. (1983). "The Earl of Shelbourne and Peace with America, 1782–1783: Vision and Reality". International History Review. 5 (3): 322–345. doi:10.1080/07075332.1983.9640318.
- Stockley, Andrew (2001). Britain and France at the Birth of America: The European Powers and the Peace Negotiations of 1782–1783. University of Exeter Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 19, 2008.