สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา
ทางเข้าสถานีฝั่งทิศเหนือ ถ่ายใน ค.ศ. 2018
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนสตาซียุนโกตา, เลขที่ 1, ปีนังซียา, ตามันซารี, จาการ์ตาตะวันตก, จาการ์ตา  อินโดนีเซีย
ความสูง+4 m
เจ้าของบริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด
ผู้ให้บริการบริษัท รถไฟอินโดนีเซีย จำกัด
กาเอร์เอ็ล โกมูเตอร์ไลน์
สายตันจุงปรียก–จาการ์ตาโกตา
จาการ์ตาโกตา–มังกาไร
จาการ์ตาโกตา–จาตีเนอการา
ชานชาลาชานชาลายื่น 6 แห่ง
ราง12
การเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ ทรานส์จาการ์ตา
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีJAKK
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการค.ศ. 1887 (อาคารเดิม); ค.ศ. 1929 (อาคารปัจจุบัน)
สร้างใหม่ค.ศ. 1926–1929

สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตา (อินโดนีเซีย: Stasiun Jakarta Kota, ตัวย่อ: JAKK) หรือชื่อเดิม บาตาฟียาเซยด์ (ปัตตาเวียใต้)[1] เป็นสถานีรถไฟปลายทางในเขตเมืองเก่าของจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย สถานีรถไฟแห่งนี้รู้จักกันดีในชื่อ สถานีเบโอส ซึ่งย่อมาจากชื่อ บาตาฟียัสเคอ โอสเตอร์ สโปร์เวค มาตสคาไป หรือบริษัทรถไฟปัตตาเวียตะวันออก

สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาทำหน้าที่เป็นสถานีรถไฟแห่งหลักของจาการ์ตาร่วมกับสถานีรถไฟกัมบีร์ สถานีรถไฟจาตีเนอการา และสถานีรถไฟปาซาร์เซอเน็น รองรับรถไฟระหว่างเมืองบนเกาะชวา และรถไฟฟ้าชานเมืองอีก 3 สาย

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1887 โดยบริษัทรถไฟปัตตาเวียตะวันออก (โบส) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน เมื่อสร้างเสร็จจึงได้รับการตั้งชื่อว่า สถานีรถไฟปัตตาเวียใต้ เพื่อแยกความกำกวมจาก สถานีรถไฟปัตตาเวียเหนือ ต่อมาได้รับดำเนินงานโดยบริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่ง และย้ายตัวสถานีไปตั้งอยู่ด้านหลังศาลาว่าการหลังเก่า ต่อมาบริษัทสตาตส์สโปร์เวเคินได้เข้ามาดำเนินงานสถานีรถไฟปัตตาเวียใต้ใน ค.ศ. 1898 และสถานีรถไฟปัตตาเวียเหนือใน ค.ศ. 1913 ตามลำดับ[2]

สถานีรถไฟปัตตาเวียใต้ปิดทำการชั่วคราวใน ค.ศ. 1923[2] และได้สร้างอาคารใหม่ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1926–1929 โดยให้สถานีรถไฟปัตตาเวียเหนือรับรองขบวนรถไฟแทน อาคารสถานีใหม่ได้รับการออกแบบใน ค.ศ. 1927–1928 โดยสถาปนิกอัสเซิลแบคส์, ไคเซิลส์ และแฮ็ส จากบริษัทไอยาในปัตตาเวีย ระหว่างการสร้างใหม่ ได้ใช้วัสดุคอนกรีตจากบริษัทคอนกรีตดัตช์[2] ตัวอาคารสถานีแห่งใหม่ มีทางรถไฟ 12 ทาง ซึ่งกำหนดให้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างปัตตาเวียกับท่าเรือเบยเตินซอร์คและท่าเรือเมอรักซึ่งมีเรือข้ามฟากไปยังเกาะสุมาตรา[2] ทำพิธีเปิดอาคารใหม่ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1929[3] ส่วนสถานีรถไฟปัตตาเวียฝั่งเหนือได้ถูกยกเลิกและรื้อทิ้งเรียบร้อยแล้ว

ตัวอาคารสถานี[แก้]

สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาใน ค.ศ. 1938
โถงภายในอาคารสถานี

อาคารสถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาออกแบบโดยฟรันส์ โยฮัน เลาเรินส์ ไคเซิลส์ สถาปนิกชาวดัตช์ (เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1882) เป็นการนำสถาปัตยกรรมแบบอลังการศิลป์ตะวันตก มาผนวกรวมกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่น

สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตาเป็นอาคาร 2 ชั้น ล้อมรอบด้วยถนน 3 สาย มีทางเข้าสถานีหลักด้านหน้า 1 ทาง และด้านข้างอีก 2 ทาง ทางเข้าและโถงอาคารมีหลังคารูปโค้ง โปร่งโล่ง ถ่ายเทอากาศได้สะดวก ผนังด้านในฉาบด้ายเซรามิกหยาบสีน้ำตาล ส่วนผนังด้านนอกฉาบด้วยปูนปลาสเตอร์สีเขียวเหลือง พื้นสถานีเป็นไม้สีเทาและเหลือง ส่วนพื้นชานชาลาเป็นไม้สักเหลือง สถานีรถไฟจาการ์ตาโกตามีชานชาลาทั้งหมด 6 แห่ง รองรับทางรถไฟทั้งหมด 12 ทาง

ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]

มีให้บริการทั้งรถไฟระหว่างเมืองและรถไฟฟ้าชานเมือง

รถไฟระหว่างเมือง[แก้]

  • รถไฟ อาร์โกจาตี มุ่งหน้า สถานีรถไฟจีเรอบน (บางเที่ยวตั้งต้นทางที่สถานีรถไฟกัมบีร์)
  • รถไฟ อาร์โกปาราฮียางัน มุ่งหน้า สถานีรถไฟบันดุง (บางเที่ยวตั้งต้นทางที่สถานีรถไฟกัมบีร์)
  • รถไฟ กายาบารูมาลัมเซอลาตัน มุ่งหน้า สถานีรถไฟซูบารายากูเบ็ง
  • รถไฟ กูมารัง มุ่งหน้า สถานีรถไฟซูบารายาปาซาร์ตูรี
  • รถไฟ ปาตัซปูร์วาการ์ตา มุ่งหน้า สถานีรถไฟปูร์วาการ์ตา
  • รถไฟ เซอรายู มุ่งหน้า สถานีรถไฟโกรยา ผ่านทางสถานีรถไฟกียาราจนดง
  • รถไฟ เตอกัลอารุม มุ่งหน้า สถานีรถไฟเตอกัล

รถไฟฟ้าชานเมือง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Jakarta Kota station". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 2015-07-31.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Beos, Stasiun" (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta.go.id. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05. สืบค้นเมื่อ 23 February 2015.
  3. "Het nieuwe Station Batavia", Bataviaasch Nieuwsblad, Batavia, 14 October 1929

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]