ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาคลิงงอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาคลิงงอน
tlhIngan Hol
tlhIngan Hol
ออกเสียง/ˈt͡ɬɪ.ŋɑn xol/
สร้างโดยมาร์ก โอแครนด์, เจมส์ ดูอัน, จอน โพวิลล์
การจัดตั้งและการใช้ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ สตาร์ เทรค (ได้แก่ เดอะเนกซต์เจเนอเรชัน, ดีปสเปซไนน์, วอยอิจเจอร์, เอนเทอร์ไพรส์ และ ดิสคัฟเวอรี), ในอุปรากรเรื่อง อุ และละครเวทีเรื่อง คลิงงอนคริสต์มัสแครอล และ เดอะบิกแบงเธียรี
ผู้ใช้ไม่ทราบ (มีผู้พูดที่ชำนาญบางส่วน อ้างถึง1996)[1]
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรคลิงงอน)
อักษรคลิงงอน
ที่มาภาษาประดิษฐ์
 A priori languages
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบมาร์ก โอแครนด์
รหัสภาษา
ISO 639-2tlh
ISO 639-3tlh
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาคลิงงอน (อังกฤษ: Klingon language; คลิงงอน: tlhIngan Hol, pIqaD:  , /ˈt͡ɬɪ.ŋɑn xol/) เป็นภาษาประดิษฐ์ซึ่งพูดโดยชาวคลิงงอนในจักรวาลของสตาร์ เทรค ได้รับการประดิษฐ์โดยมาร์ก โอแครนด์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน

ก่อนที่ภาษาคลิงงอนจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมา ชาวคลิงงอนในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ เทรค จะสื่อสารกันโดยใช้ภาษาอังกฤษ แต่เมื่อภาษาคลิงงอนถูกประดิษฐ์แล้ว ชาวคลิงงอนก็ได้เปลี่ยนไปสื่อสารโดยใช้ภาษาคลิงงอนแทน

มีผู้คนจำนวนน้อยมากที่สามารถใช้ภาษาคลิงงอนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคำศัพท์ในภาษาคลิงงอนส่วนใหญ่มีจุดศูนย์กลางมาจากแนวคิดเกี่ยวกับยานอวกาศและการทำสงคราม ทำให้ภาษาคลิงงอนเป็นภาษาที่ยากต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประวัติ

[แก้]

ภาษาคลิงงอนถูกนำไปใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ เทรค: เดอะโมชันพิกเจอร์ ซึ่งออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2522

มีการจัดตั้งสถาบันภาษาคลิงงอนขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษาของคลิงงอนเอาไว้[2]

ตราสัญลักษณ์เดิมของวิกิพีเดีย มีอักษรคลิงงอนตัวหนึ่ง () ปรากฏอยู่มุมบนขวาของสัญลักษณ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ ในตราสัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นรูปลูกโลก อันแสดงถึงความเป็นนานาชาติและความหลากหลายทางภาษา ที่เคยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2553 มีอักษรคลิงงอนตัวหนึ่งปรากฏอยู่มุมบนขวาของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ซึ่งในตราสัญลักษณ์ปัจจุบันได้มีการนำอักษรคลิงงอนตัวนั้นออกไปแล้ว

ผู้พูด

[แก้]

มีผู้คนจำนวนน้อยมากที่สามารถใช้ภาษาคลิงงอนได้เป็นอย่างดี โดยในหนังสือ In the Land of Invented Languages ที่แต่งโดย อาริกา โอเครนต์ มีการสันนิษฐานว่า มีผู้ที่พูดภาษาคลิงงอนได้อย่างคล่องแคล่วราว 20-30 คน[3] สาเหตุเนื่องจากคำศัพท์ในภาษาคลิงงอนส่วนใหญ่นั้น มักจะมีจุดศูนย์กลางมาจากแนวคิดเกี่ยวกับยานอวกาศและการทำสงคราม จึงทำให้ภาษาคลิงงอนเป็นภาษาที่ยากต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

มีผู้พูดภาษาคลิงงอนคนหนึ่ง ชื่อว่า ดาร์มอนด์ สเปียส์ ได้สอนให้ลูกชายของเขาเอง ที่ชื่อว่า แอลิก พูดภาษาคลิงงอนเป็นภาษาแรก ในขณะที่แม่ของลูกชายคนนั้น สื่อสารกับลูกชายของเธอด้วยภาษาอังกฤษ[4] ทำให้แอลิกแทบจะไม่โต้ตอบกับพ่อของเขาด้วยภาษาคลิงงอนเลย ถึงแม้ว่าเขาจะพูดภาษาคลิงงอนได้ชัดเจนดีก็ตาม หลังจากที่แอลิกมีอายุครบ 5 ปีแล้ว สเปียส์ซึ่งเป็นพ่อของแอลิก รายงานว่าลูกของเขาไม่โต้ตอบอะไรเลย เมื่อเขาพูดภาษาคลิงงอนกับลูกของเขา ทำให้เขาต้องตัดสินใจหันมาใช้ภาษาอังกฤษแทน[5][6]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 บริษัทยูโรทอล์ก ได้วางจำหน่ายโปรแกรมสอนภาษาคลิงงอนที่ชื่อว่า "Learn Klingon" โดยภาษาคลิงงอนจะถูกแสดงในโปรแกรมโดยใช้ทั้งอักษรละตินและอักษรคลิงงอน (plqaD) และเป็นโปรแกรมแรกที่สอนภาษาคลิงงอน โดยเขียนภาษาคลิงงอนด้วยอักษรคลิงงอน (plqaD) และได้รับการยอมรับจากทางซีบีเอสและมาร์ก โอแครนด์ โดยฟอนต์ทรูไทป์ที่ใช้สำหรับแสดงผลอักษรคลิงงอนมีชื่อว่า Hol-pIqaD

ลักษณะและการนำไปใช้งาน

[แก้]

เดิมภาษาคลิงงอนถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในหนังเรื่องสตาร์ เทรคเท่านั้น การจะนำภาษาคลิงงอนไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน หรือการแปลความในภาษาคลิงงอน เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากในภาษาคลิงงอนมีคำศัพท์เพียง 3,000 คำ ซึ่งถือว่าน้อยมาก

ระบบการเขียน

[แก้]
คำว่า Qapla’ ที่หมายถึง ความสำเร็จ ในภาษาคลิงงอน

ภาษาคลิงงอนสามารถเขียนโดยใช้อักษรละตินหรืออักษรคลิงงอนก็ได้ แต่ในละครชุดโทรทัศน์ส่วนใหญ่มักจะเขียนภาษานี้ด้วยอักษรคลิงงอนมากกว่า ซึ่งตัวอักษรคลิงงอนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า plqaD ซึ่งชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดยผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์เรื่อง สตาร์ เทรค แต่ไม่มีใครทราบที่มาของชื่อเรียกนี้

ตัวอย่างประโยคในภาษาคลิงงอน

[แก้]
tlhIngan Hol Dajatlh’a’?
คุณพูดภาษาคลิงงอนได้ไหม?
jIyajbe’.
ฉันไม่เข้าใจ
Dochvetlh vISoplaHbe’.
ฉันกินอันนั้นไม่ได้
bIlughbe’.
คุณผิดแล้ว


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. According to Lawrence Schoen, director of the KLI. Wired 4.08: Dejpu'bogh Hov rur qablli!*
  2. Lisa Napoli (October 7, 2004). "Online Diary: tlhIngan maH!". New York Times.
  3. "But what about speakers in the sense of people who can carry on a spontaneous live conversation in Klingon? (...) I would say, oh, twenty or so. Maybe thirty." Arika Okrent. In the Land of Invented Languages. New York (Spiegel & Grau). 2010, p. 273.
  4. Dean, Eddie (1996-08-09). "Klingon as a Second Language D'Armond Speers Teaches His Son an Alien Tongue, Washington City Paper, August 9, 1996". Washingtoncitypaper.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.
  5. Fry's Planet Word, BBC TV, 2011.
  6. "Babble On Revisited, Wired, Issue 7.08, August 1999". Wired.com. 2009-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]