สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับเจ.เจ. แอบรัมส์
เขียนบท
สร้างจากสตาร์ เทรค
โดย ยีน ร็อดเดนเบอร์รี
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพแดน มินเดล
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบไมเคิล จะคีโน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายพาราเมาต์พิกเจอส์
วันฉาย7 เมษายน ค.ศ. 2009 (2009-04-07)(โรงอุปรากรซิดนีย์)
8 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 (2009-05-08)(สหรัฐ)
ความยาว127 นาที[1]
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]
ทำเงิน385.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[2]

สตาร์ เทรค สงครามพิฆาตจักรวาล (อังกฤษ: Star Trek) เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวโลดโผนนิยายวิทยาศาสตร์ ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2009 กำกับโดย เจ.เจ. แอบรัมส์ เขียนบทโดย โรเบอร์โต โอร์ซีและอเล็กซ์ เคิร์ตซ์แมน ภาพยนตร์เรื่องที่สิบเอ็ดในแฟรนไชส์ภาพยนตร์ สตาร์ เทรค และยังเป็นภาพยนตร์รีบูตที่มีตัวละครหลักจาก ละครโทรทัศน์ดั้งเดิมของ สตาร์ เทรค ที่แสดงโดยนักแสดงใหม่ และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุดรีบูต ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของ เจมส์ ที. เคิร์ก (คริส ไพน์) และ สป็อก (แซกคารี ควินโต) ที่กำลังปฏิบัติภารกิจบนยานอวกาศ ยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรซ์ พวกเขาต่อสู้กับ นีโร (อีริก บานา) ชาวโรมูลันที่มาจากอนาคตและต้องการทำลายล้างสหพันธ์แห่งดวงดาว ภาพยนตร์ดำเนินเรื่องในช่วงเวลาที่แตกต่าง[3][4] เนื่องจากการเดินทางข้ามเวลาของนีโรและสป็อกคนเก่า (เลเนิร์ด นีมอย) ทำให้เกิดการสร้างเส้นเวลาใหม่ เพื่อพยายามปลดปล่อยภาพยนตร์และแฟรนไชส์จากข้อจำกัดด้านความต่อเนื่องที่ได้สร้างไว้ ในขณะเดียวกันก็รักษาองค์ประกอบของเรื่องราวดั้งเดิมเอาไว้

มีการพูดคุยถึงแนวคิดของภาพยนตร์พรีเควลที่เล่าเรื่องราวของตัวละคร สตาร์ เทรค ในช่วงเวลาที่พวกเขาอยู่กำลังเรียนอยู่ใน สถาบันสตาร์ฟลีต โดย ยีน ร็อดเดนเบอร์รี ผู้สร้างละครโทรทัศน์เมื่อปี ค.ศ. 1968 แนวคิดนี้ปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เมื่อ ฮาร์ฟ เบนเนตต์ นักเขียนบทภาพยนตร์ เสนอแนวนี้ แต่ก็รับการปฏิเสธโดยร็อดเดนเบอร์รีในเวลาต่อมา หลังภาพยนตร์ สตาร์ เทรค: เนเมซิส ประสบความล้มเหลวทั้งในด้านคำวิจารณ์และรายได้และการยกเลิกละครโทรทัศน์ สตาร์ เทรค: เอนเทอร์ไพรซ์ ริก เบอร์แมน ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารของแฟรนไชส์และนักเขียนบท เอริก เจนเดร์เซน ได้เขียนบทภาพยนตร์ สตาร์ เทรค: เดอะบีกินนิง ดำเนินเรื่องหลังละครโทรทัศน์ เอนเทอร์ไพรซ์ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้สร้าง หลังการแยกตัวระหว่างบริษัท ไวอาคอมและซีบีเอสคอร์เพอเรชัน ในปี ค.ศ. 2005 อดีตประธานของ พาราเมาต์พิกเจอส์ เกล เบอร์แมน โน้นน้าวให้ซีบีเอสอนุญาตให้พาราเมาต์สร้างภาพยนตร์ใหม่ในแฟรนไชส์ โอร์ซีและเคิร์ตซ์แมน ซึ่งทั้งคู่เป็นแฟนของ สตาร์ เทรค ได้รับการทาบทามให้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ และ เจ.เจ. แอบรัมส์ ได้รับการทาบทามให้กำกับภาพยนตร์ เคิร์ตซ์แมนและโอร์ซีใช้แรงบันดาลใจจากนวนิยายและวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา เช่นเดียวกับตัวละครโทรทัศน์เอง การถ่ายทำหลักเริ่มต้นเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 2008 ภาพยนตร์ถ่ายทำที่บริเวณรอบ ๆ รัฐแคลิฟอร์เนียและยูทาห์ แอบรัมส์ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้ฉากฟ้าและฉากเขียน เลือกที่จะใช้การสร้างฉากและถ่ายทำในสถานที่แทน การถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการปกปิดเป็นความลับอย่างมาก โดยภาพยนตร์ถ่ายทำในชื่อปลอมชั่วคราวว่า คอร์เพอเรตเฮดควอเตอร์ส์ อินดัสเทียลไลต์แอนด์แมจิก ใช้ยานอวกาศดิจิทัลสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ แทนที่การใช้แบบจำลองย่อส่วนเหมือนกับภาพยนตร์เรื่องก่อน ๆ ในแฟรนไชส์ การสร้างภาพยนตร์สิ้นสุดในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008

มีการประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์อย่างหนักในช่วงหลายเดือนก่อนการฉาย ภาพยนตร์ฉายล่วงหน้าในบางเมืองที่ได้รับเลือกทั่วโลก ได้แก่ ออสติน, รัฐเท็กซัส, ซิดนีย์, ออสเตรเลียและแคลกะรี, แอลเบอร์ตา ภาพยนตร์ฉายในสหรัฐเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์และประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศ ภาพยนตร์ทำเงิน 385.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก จากทุนสร้าง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อในรางวัลต่าง ๆ รวมไปถึง การเสนอชื่อในรางวัลออสการ์สี่สาขา ใน งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 82 ภาพยนตร์ชนะเลิศสาขาแต่งหน้ายอดเยี่ยม ทำให้เป็นภาพยนตร์ สตาร์ เทรค เรื่องแรกที่ชนะเลิศรางวัลออสการ์ ภาพยนตร์ตามมาด้วยภาคต่อ สตาร์ เทรค ทะยานสู่ห้วงมืด และ สตาร์ เทรค ข้ามขอบจักรวาล ฉายในปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2016 ตามลำดับ

โครงเรื่อง[แก้]

ในศตวรรษที่ 23 ในขณะที่ ยูเอสเอส แคลวิน ยานอวกาศของสหพันธ์ กำลังตรวจสอบ "พายุฟ้าคะนอง" ในอวกาศ ยานอวกาศโรมูลัน เนราดา โผล่ออกมาจากพายุและโจมตี แคลวิน เอเยล ต้นเรือของ เนราดา ต้องการให้กัปตันโรบาวของ แคลวิน เดินทางมาที่ยาน เนราดา เพื่อเจรจาหยุดยิง โรบาวถูกถามเรื่องวันที่ดวงดาวปัจจุบันและ "เอกอัคคราชทูตสป็อก" ซึ่งเขาไม่รู้จัก ทำให้ นีโร กัปตันยาน เนราดา ฆ่าโรบาว และดำเนินการโจมตี แคลวิน ต่อ จอร์จ เคิร์ก ต้นเรือของ แคลวิน สั่งให้ลูกเรืออพยพ รวมไปถึง วิโนนา ภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ใกล้คลอดของเขา โดยเขาจะควบคุมยาน แคลวิน ไปชนกับ เนราดา และสละชีวิตตัวเองเพื่อให้วิโนนาและลูกเรือคนอื่น ๆ รอดชีวิต หลังวิโนนาให้กำเนิดลูกของพวกเขา จอร์จและวิโนนาตั้งชื่อเขาว่า เจมส์ ที. เคิร์ก

สิบเจ็ดต่อมาบนดาวเคราะห์วัลแคน สป็อกวัยหนุ่มได้รับการตอบรับเข้าร่วมสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งวัลแคน แต่สถาบันกลับมองว่าการที่เขามีแม่เป็นมนุษย์ (อะแมนดา) คือ "ข้อเสีย" เขาจึงไปเข้าร่วมสตาร์ฟลีตแทน บนโลก เคิร์กกลายเป็นหนุ่มที่บ้าบิ่นแต่ฉลาด เขาพบกับนีโอตา อูฮูราในบาร์ ก่อนที่เขาจะต่อสู้กับเหล่านักเรียนสตาร์ฟลีตที่มาพร้อมกับเธอ เคิร์กพบกับ กัปตัน คริสโตเฟอร์ ไพค์ โดยเขาให้แนะนำให้เคิร์กสมัครเรียนสถาบันสตาร์ฟลีต ที่นั่น เคิร์กได้พบและเป็นเพื่อนกับหมอ เลเนิร์ด แมกคอย

สามปีต่อมา นาวาโทสป็อกกล่าวหาเคิร์กนั้นโกงแบบทดสอบ โคบายาชิ มารุ เคิร์กระบุว่าการโกงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เนื่องจากแบบทดสอบถูกออกแบบมาให้ไม่สามารถเอาชนะได้ การพิจารณาคดีถูกขัดจังหวะด้วยสัญญาณความขอความช่วยเหลือจากวัลแคน เนื่องจากกองยานหลักอยู่นอกระยะ จึงจำเป็นต้องกองกำลังของนักเรียนสตาร์ฟลีต แมกคอยและเคิร์กขึ้นยานอวกาศ ยูเอสเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ ของกัปตันไพค์ เมื่อเดินทางใกล้ถึงวัลแคน เคิร์กรู้ว่า "พายุฟ้าคะนอง" ที่เกิดขึ้นใกล้กับวัลแคนนั้น คล้ายกับพายุที่เกิดขึ้นเมื่อตอนที่เขาเกิด เคิร์กเข้าไปห้องบังคับการเพื่อโน้มน้าวไพค์ว่าสัญญาณขอความช่วยเหลือนั้นเป็นกับดัก

เมื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ เดินทางมาถึง พบว่ากองยานที่มาถึงก่อนหน้านี้ถูกทำลายทั้งหมดและ เนราดา กำลังเจาะแก่นของวัลแคน เนราดา โจมตี เอ็นเตอร์ไพรส์ ก่อนที่นีโรจะสั่งหยุดยิงและให้กัปตันไพค์ขึ้นยาน เนราดา เพื่อเจรจา ไพค์สั่งให้สป็อคเป็นรักษาการกัปตันและเลื่อนขั้นเคิร์กให้เป็นต้นเรือและสั่งให้เคิร์ก, ฮิคารุ ซูลูและต้นกล โอลสัน ทำการกระโดดจากอวกาศเพื่อไปปิดเครื่องขุดเจาะ[5][6] โอลสันพลาดท่าถูกฆ่าเสียชีวิต เคิร์กกับซูลูกระโดดลงมาได้สำเร็จและปิดเครื่องดังกล่าว แต่นีโรได้ปล่อย "สสารแดง" ลงไปในแก่นของวัลแคน ทำให้เกิดหลุมดำเทียมภายในดาวและทำลายวัลแคน สป็อคบีมลงไปที่วัลแคน เพื่อพยายามช่วยพ่อของเขา (ซาแรค) และเหล่าสภาสูง แต่เขาช่วยอะแมนดา แม่ของเขาไม่สำเร็จ เนื่องจากเธอตกลงไปก่อนที่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จะล็อกและบีมเธอขึ้นมาได้ทัน

ขณะที่ เนราดา กำลังเดินทางไปโลก นีโรทรมานไพค์เพื่อให้เขาเปิดเผยรหัสป้องกันของโลก สป็อคปล่อยเคิร์กทิ้งไว้ที่ดาวเดลตาเวกา หลังเคิร์กพยายามก่อการกบฏ เคิร์กพบกับสป็อควัยแก่ที่นั่นและอธิบายว่า เขาและนีโรมาจากอนาคตอีก 129 ปี ข้างหน้า ในอนาคตนั้น โรมูลัส ดาวของโรมูลัน ถูกคุกคามโดยซูเปอร์โนวา สป็อคพยายามใช้ "สสารแดง" เพื่อสร้างหลุมดำเทียมและดูดกลืนซูเปอร์โนวา แต่ล้มเหลว โรมูลัสถูกทำลายล้างพร้อมกับครอบครัวของนีโรและชาวโรมูลัน เนราดา และยานของสป็อคถูกดูดเข้าไปในหลุมดำ ทำให้ย้อนเวลากลับมาในอดีต นีโรปล่อยสป็อคทิ้งไว้ที่ดาวเดลตาเวกา เพื่อให้เขาดูการทำลายล้างของดาววัลแคน เพื่อเป็นการล้างแค้น

เคิร์กกับสป็อควัยแก่เดินทางไปที่หน้าด่านของสตาร์ฟลีต พวกเขาพบกับมอนต์กอเมอรี สกอตต์ เขาวางแผนหาทางให้เคิร์กบีมกลับไปที่ยาน เอ็นเตอร์ไพรส์ ขณะที่กำลังวอร์ฟ ด้วยความช่วยเหลือของสป็อควัยแก่ เคิร์กยั่วยุให้สป็อควัยหนุ่มโจมตีเขา จากคำแนะนำของสป็อควัยแก่ เพื่อบังคับให้สป็อควัยหนุ่มสละตำแหน่ง เนื่องจากภาวะอารมณ์ไม่มั่นคงที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อ และมอบตำแหน่งรักษาการกัปตันให้เคิร์ก หลังสป็อคพูดคุยกับซาแรค เขาตัดสินใจช่วยเคิร์ก ขณะที่ เอ็นเตอร์ไพรส์ กำลังซ่อนตัวในกลุ่มก๊าซเมฆของ ไททัน เคิร์กและสป็อคบีมเข้าไปในยาน เนราดา สป็อคใช้ยานของสป็อควัยแก่ทำลายเครื่องขุดเจาะ เคิร์กต่อสู้กับนีโรและเอเยล เคิร์กฆ่าเอเยลและช่วยเหลือไพค์ สป็อคนำยาน เนราดา ให้ออกห่างจากโลก เอ็นเตอร์ไพรส์ บีมเคิร์ก, ไพค์และสป็อคกลับยาน และใช้ยานของสป็อควัยแก่ชนกับยานของนีโร ทำให้ "สสารแดง" ระเบิด เคิร์กเสนอช่วยเหลือนีโรหลบหนี แต่นีโรปฏิเสธ เคิร์กสั่งให้ระดมยิงไปที่ เนราดา ก่อนจะที่ยานนั้นจะถูกกลืนเข้าไปในหลุมดำ

เคิร์กได้รับการเลื่อนขั้นเป็นกัปตันและได้บัญชาการยาน เอ็นเตอร์ไพรส์ แทนที่ไพค์ ซึ่งได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพลเรือตรี สป็อควัยหนุ่มพบกับสป็อควัยแก่และโดยโน้มน้าวให้สป็อควัยหนุ่มนั้นรับใช้สตาร์ฟลีตต่อไป สป็อควัยหนุ่มกลายเป็นต้นเรือภายใต้การบังคับบัญชาของเคิร์ก ขณะที่ เอ็นเตอร์ไพรส์ เดินทางด้วยวอร์ฟ สป็อควัยแก่พูดบรรยาย "อวกาศ พรมแดนด่านสุดท้าย ... ที่ไม่มีใครเคยไปมาก่อน"

นักแสดง[แก้]

จากบนไปล่าง: คริส ไพน์, แซกคารี ควินโตและโซอี ซัลดานา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Star Trek". British Board of Film Classification. April 9, 2009. สืบค้นเมื่อ May 22, 2013.
  2. 2.0 2.1 "Star Trek (2009)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ December 12, 2010.
  3. Carroll, Larry (May 11, 2009). "'Star Trek' Sequel Will Deal With 'Unpredictable Future'". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2009. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
  4. Carroll, Larry (May 15, 2009). "'Star Trek' Director Open To Sequel With William Shatner Or Khan". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2009. สืบค้นเมื่อ May 16, 2009.
  5. Cargill, J.D. (May 8, 2009). "The Scene: 'Trek' actors dive onto Vulcan". CNN. สืบค้นเมื่อ December 10, 2009.
  6. Plait, Phil (May 8, 2009). "BA Review: Star Trek". Discover. Kalmbach Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-15. สืบค้นเมื่อ December 10, 2009.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ new
  8. Pascale, Anthony (May 9, 2007). "Greg Ellis Joins Star Trek Cast". TrekMovie. สืบค้นเมื่อ February 19, 2009.
  9. Trotter, Charles (January 29, 2008). "Meet The Young Kirk Boys". TrekMovie. สืบค้นเมื่อ January 28, 2008.
  10. "Star Trek Movie Deleted Klingon Scene Available Online + DVD/Blu-ray Debuts In Some Countries". TrekMovie. October 27, 2009. สืบค้นเมื่อ September 9, 2019.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "TrekMovie 2008-04-06" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]