สตรีทไฟเตอร์: เดอะมูฟวี (วิดีโอเกมคอนโซล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรีทไฟเตอร์: เดอะมูฟวี
ปกเซกา แซตเทิร์น เวอร์ชันอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนาแคปคอม
ผู้จัดจำหน่าย
เครื่องเล่นเซกา แซตเทิร์น, เพลย์สเตชัน
วางจำหน่ายเซกา แซตเทิร์น
เพลย์สเตชัน
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 2 คนพร้อมกัน

สตรีทไฟเตอร์: เดอะมูฟวี (อังกฤษ: Street Fighter: The Movie)[a] เป็นเกมต่อสู้ตัวต่อตัว ที่วางจำหน่ายสำหรับเพลย์สเตชัน และเซกา แซตเทิร์น ใน ค.ศ. 1995 ซึ่งมีฐานรากมาจากภาพยนตร์ ค.ศ. 1994

รูปแบบการเล่น[แก้]

ริวเผชิญหน้าบลังก้า

แม้ว่ากราฟิกจะประกอบด้วยภาพดิจิทัลแบบเดียวกันกับนักแสดงในภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับเวอร์ชันอาร์เคด แต่สไปรต์ได้รับการประมวลผลต่างกัน ฉากหลังต่างกันทั้งหมด และระบบการต่อสู้ใกล้เคียงกับซูเปอร์สตรีทไฟเตอร์ II X: แกรนด์มาสเตอร์ชาลเลนจ์ มาก นอกเหนือจากท่าพิเศษแบบปกติและซูเปอร์คอมโบแล้ว ผู้เล่นยังสามารถปฏิบัติการท่าพิเศษของตัวละครในเวอร์ชันที่ทรงพลังยิ่งขึ้น ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ซูเปอร์สเปเชียลมูฟ" เหมือนกับ "อีเอส มูฟ" ที่มีในเกมไนต์วอร์ริเออส์ และ "อีเอกซ์ สเปเชียล" ที่ในภายหลังเปิดตัวในสตรีทไฟเตอร์ III: เซคันด์อิมแพกต์ โดยท่าซูเปอร์สเปเชียลต้องการให้เกจซูเปอร์คอมโบเต็มอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง (หลังจากที่ส่วนที่เติมของเกจเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน) และสามารถทำได้โดยดำเนินการคำสั่งเดียวกันกับท่าพิเศษแบบปกติ แต่กดปุ่มโจมตีสองปุ่มแทนปุ่มเดียว

มีโหมดเกมสี่โหมดให้เลือก โหมดผู้เล่นเดี่ยวหลักอย่าง "มูฟวีแบตเทิล" เป็นโหมดเนื้อเรื่องซึ่งเป็นไปตามเนื้อเรื่องของภาพยนตร์ ผู้เล่นเข้าควบคุมไกล์ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจแทรกซึมที่หลบซ่อนของไบสัน (ในเกมเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นคือเวก้า) ในเมืองชาโดลู ผู้เล่นสามารถเลือกระหว่างจุดแตกแยกที่แตกต่างกันหลังจากการแข่งบางแมตช์ ซึ่งกำหนดจำนวนคู่ต่อสู้ที่จะเผชิญหน้าก่อนจุดแยกถัดไป จนกระทั่งถึงแมตช์สุดท้ายกับสกัด, ไบสัน และไฟนอลไบสัน หลังจากเสร็จสิ้นโหมดมูฟวีแบตเทิล มิวสิกวิดีโอของเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ชื่อ "ซัมติงแดร์" โดยเชจแอนด์อัสกะจะเริ่มบรรเลง

โหมดอื่น ๆ รวมถึงโหมดสไตล์อาร์เคดที่เรียกว่า "สตรีทแบตเทิล" ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครแล้วเผชิญหน้ากับตัวละครที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์สิบสองตัว ปิดท้ายด้วยแซนกีฟ, ดี เจย์, สกัด และไบสัน ส่วน "เวอร์ซัสโหมด" ซึ่งเป็นโหมดมาตรฐานสำหรับผู้เล่นสองคน เป็นเช่นเดียวกับในเวอร์ชันคอนโซลก่อนหน้าของสตรีทไฟเตอร์ และ "ไทรเอิลโหมด" ที่ผู้เล่นต่อสู้กับบัญชีรายชื่อทั้งหมดเพื่อทำไฮสกอร์ หรือสถิติเวลาที่รวดเร็ว นอกจากนั้น ในระหว่างการต่อสู้ ตัวละครได้มีธีมดนตรีใหม่สำหรับเกมภาคนี้

ตัวละคร[แก้]

เวอร์ชันประจำบ้านของสตรีทไฟเตอร์: เดอะมูฟวี มีตัวละครหลายตัวที่เหมือนกันจากเกมอาร์เคด โดยมีความแตกต่างที่สำคัญเล็กน้อยในบัญชีรายชื่อ ตัวละครในภาพยนตร์ต้นฉบับอย่างกัปตันซาวาดะมีอยู่ในทั้งสองเวอร์ชัน อย่างไรก็ตาม ท่าพิเศษของเขานั้นแตกต่างจากที่มีในเวอร์ชันอาร์เคด ส่วนตัวละครดั้งเดิมอย่างเบลดจากเกมอาร์เคดพร้อมกับทหารม้าของไบสันที่สลับสีชุดอื่น ๆ นั้นไม่มีอยู่ในเวอร์ชันประจำบ้าน สำหรับอากูมะ (รับบทโดยเออร์นี เรเยส ซีเนียร์ ซึ่งในเกมเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิมคือโกกิ) ผู้เป็นตัวละครปกติในเกมอาร์เคด ได้กลับมาเป็นตัวละครที่ซ่อนอยู่อีกครั้ง ซึ่งสามารถเลือกได้โดยใช้สูตรลับเท่านั้น และสามารถต่อสู้ได้ในฐานะคู่ต่อสู้คนสุดท้ายในไทรเอิลโหมดเท่านั้น ขณะที่ตัวละครสองตัวจากภาพยนตร์สตรีท ไฟท์เตอร์ ยอดคนประจัญบาน ที่ไม่ได้อยู่ในเวอร์ชันอาร์เคดก็รวมอยู่ในภาคนี้ด้วย อันได้แก่ ดี เจย์ (รับบทโดยมิเกล อา. นูเญซ จูเนียร์) และบลังก้า (รับบทโดยคิม เรเปีย)

ด้านราอูล จูเลีย ได้เตรียมกลับมารับบทเอ็ม. ไบสัน ในเวอร์ชันวิดีโอเกม แม้ว่าเขาจะได้พบกับทีมงานของเกม แต่เขาก็ป่วยหนัก และท้ายที่สุดก็ไม่สามารถเข้าร่วมในโครงการนี้ได้ เนื่องจากเขาเสียชีวิตในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1994 ดาร์โก ทัสแกน สตันต์ของจูเลียจากภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงเข้ามาเติมเต็มบทบาทแทน ส่วนนักแสดงเพียงคนเดียวที่จะไม่แสดงบทบาทของเขาจากภาพยนตร์เรื่องนี้คือโรเบิร์ต แมมโมเน ผู้แสดงเป็นบลังก้า ซึ่งคิม เรเปีย ได้มาสวมบทบาทเพื่อเซตการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนของบลังก้า

ความแตกต่างระดับภูมิภาค[แก้]

เวอร์ชันคอนโซลได้รับการเปิดตัวในชื่อสตรีทไฟเตอร์: เรัยลแบตเทิลออนฟิล์ม ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อแยกความแตกต่างจากเกมสตรีทไฟเตอร์ II มูฟวี ที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งสร้างจากภาพยนตร์อนิเมะในชื่อเดียวกัน นอกเหนือจากการแปลข้อความแล้ว ตัวอย่างเสียงของตัวละครในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษจะแตกต่างกัน เช่นเดียวกับในพากย์ญี่ปุ่นของภาพยนตร์ หัวหน้าสามคนจากสตรีทไฟเตอร์ II ที่มีการเปลี่ยนชื่อระหว่างเวอร์ชันญี่ปุ่นและอเมริกา (บัลร็อก, เวก้า และเอ็ม. ไบสัน) ได้ถูกเรียกโดยชื่อโลกฝั่งตะวันตก ในทางตรงกันข้าม อากูมะถูกเรียกว่าโกกิในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม1.5/5 stars (แซตเทิร์น)[1]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี6.625/10 (แซตเทิร์น)[2]
เกมแฟน251/300 (แซตเทิร์น)[b]
ไฮเปอร์74 เปอร์เซ็นต์ (แซตเทิร์น)[4]
เนกซ์เจเนอเรชัน3/5 stars (แซตเทิร์น)[5]
2/5 stars (เพลย์สเตชัน)[6]
ออฟฟิเชียลเพลย์สเตชันแมกกาซีน (สหราชอาณาจักร)6/10 (เพลย์สเตชัน)[7]
นิตยสารเพลย์85 เปอร์เซ็นต์ (เพลย์สเตชัน)[8]
อิเล็กทรืกเพลย์กราวด์5/10 (แซตเทิร์น)[9]
แมกซิมัม1/5 stars (แซตเทิร์น)[10]
เซกา แซตเทิร์น แมกกาซีน49 เปอร์เซ็นต์ (แซตเทิร์น)[11]

เวอร์ชันเพลย์สเตชันประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์เมื่อเปิดตัว โดยขายหมดในร้านค้าปลีกภายในหนึ่งเดือนหลังจากวางจำหน่าย ณ ทวีปอเมริกาเหนือในเดือนกันยายน ค.ศ. 1995[12]

เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์เชิงลบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการวิจารณ์เวอร์ชันแซตเทิร์นนั้น เรเดียน ออโตเมติก จากนิตยสารเซกา แซตเทิร์น แมกกาซีน ได้บ่นว่าเกมช้าลงมากเกิน และความจริงที่ว่าเกมนี้ไม่ใช่การแปลงเกมอาร์เคดที่มีชื่อเดียวกัน แต่เป็นอีกพอร์ตหนึ่งของซูเปอร์สตรีทไฟเตอร์ II X: แกรนด์มาสเตอร์ชาลเลนจ์ ที่มีการแปลงเป็นดิจิทัลกราฟิก[11] ส่วนนักวิจารณ์ทั้งสี่รายของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีได้ติเตียนการควบคุม แต่ยกย่องภาพยนตร์ฟูลโมชันวิดีโอ และกลไกรูปแบบการเล่น ซึ่งไม่ใช่นักวิจารณ์ทุกคนที่ตระหนักว่าเกมนี้ไม่ใช่การแปลงเกมอาร์เคดที่มีชื่อเดียวกัน จึงทำให้เกิดความสับสน[2] ด้านนิตยสารเกมโปรให้ความเห็นเชิงลบอย่างหนักแน่นในเวอร์ชันของแซตเทิร์น ซึ่งหาได้ยากสำหรับสิ่งพิมพ์ในเวลานั้น นักวิจารณ์ติเตียนแอนิเมชันที่ช้า และขาด ๆ หาย ๆ, เสียงการต่อสู้ที่อ่อนแอ, การวาดเฟรมที่คาดเดาไม่ได้ และเวลาคืนสภาพอย่างรวดเร็วของเหล่านักสู้ โดยกล่าวว่าผลลัพธ์นี้เป็น "เกมป้องกันที่รอและโจมตี มากกว่าการแข่งสตรีทไฟเตอร์ที่แท้จริง"[13] รวมถึงนักวิจารณ์จากแมกซิมัมได้ติเตียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคุณภาพที่ไม่ดีของการแปลงเป็นดิจิทัลและอัตราเฟรม เขายังให้ความเห็นด้วยว่าในขณะที่รูปแบบการเล่นนั้นเป็นพอร์ตของซูเปอร์สตรีทไฟเตอร์ II X: แกรนด์มาสเตอร์ชาลเลนจ์ ซึ่งก็ถูกทำให้หมดอำนาจจากการลดความเร็ว "การตอบสนองที่ลื่นไหล ตามสัญชาตญาณของเกมที่มีในสตรีทไฟเตอร์ก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะหายไป และด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการบีบบังคับให้เล่นเกมนี้อย่างแท้จริง"[10] ส่วนนักวิจารณ์ของนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้ให้บทวิจารณ์ต่อเกมดังกล่าวเป็นบวกอย่างสมบูรณ์ เขายกย่องการเลือกตัวละครที่ครอบคลุม และมีโหมดต่าง ๆ จำนวนมากให้เล่น รวมทั้งสรุปว่าเกมนี้ "ดูและเล่นได้ดีมาก"[5]

ในขณะที่นักวิจารณ์ของนิตยสารเกมโปรคนอื่น ๆ ได้กล่าวถึงเวอร์ชันเพลย์สเตชัน เขาก็วิจารณ์เกมในแง่ลบอย่างมากเช่นกัน โดยกล่าวว่าเกมใช้เวลาโหลดนาน, มีข้อบกพร่องที่เด่นชัด, ความล่าช้าในการควบคุม, การแสดงเสียงไม่ดี และสไปรต์แบบคลุมเครือที่ไม่เหมือนกับนักแสดงในภาพยนตร์[14] แม้ว่าพวกเขาจะวิจารณ์เวอร์ชันแซตเทิร์นในเชิงบวก แต่บทวิเคราะห์สั้น ๆ ต่อเวอร์ชันเพลย์สเตชันโดยนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "ความผิดพลาดครั้งใหญ่รอบด้าน"[6]

บ็อบ แมกกี จากยูเอสเกมเมอร์ระบุว่าสตรีทไฟเตอร์: เดอะมูฟวี เป็นหนึ่งในเกมเปิดตัวที่แย่ที่สุดสำหรับเพลย์สเตชัน โดยสังเกตว่าเกมนี้ "ส่วนใหญ่จำได้ว่าเป็นความอับอายที่น่าสังเวช"[15] และจากการระลึกถึงความหลัง มาริสซา แมลี จากยูจีโอ.คอม ได้ให้เกมนี้อยู่อันดับที่ 102 ใน 102 เกมที่แย่ที่สุดตลอดกาลของเธอ[16]

การสืบทอด[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 สิทธิ์ในการเผยแพร่เกมของเวสเทิร์นได้ถูกซื้อกิจการโดยลิควิดมีเดียกรุป ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตของแคนาดา พร้อมกับเกมอื่น ๆ ที่บริษัทอะเคลมเอนเตอร์เทนเมนต์เป็นเจ้าของแต่เดิม[17]

หมายเหตุ[แก้]

  1. วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในชื่อสตรีทไฟเตอร์: เรัยลแบตเทิลออนฟิล์ม (ญี่ปุ่น: ストリートファイター リアルバトル オン フィルム; อังกฤษ: Street Fighter: Real Battle on Film) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับเกมสตรีทไฟเตอร์ II มูฟวี ซึ่งอิงจากสตรีทไฟเตอร์ II: ดิแอนิเมเต็ดมูฟวี
  2. การวิจารณ์เวอร์ชันเซกา แซตเทิร์น ของนิตยสารเกมแฟนนั้นมาจากนักวิจารณ์สามคนที่มอบคะแนนต่างกัน ได้แก่ 84, 85 และ 82[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Williamson, Colin. "Street Fighter: The Movie". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-16. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
  2. 2.0 2.1 "Review Crew: Street Fighter: The Movie". Electronic Gaming Monthly. No. 76. Sendai Publishing. November 1995. p. 48.
  3. S. Quan; Nick Rox; K. Lee (October 1995). "SF the Movie". GameFan. Vol. 3 no. 10. p. 16.
  4. Bolton, Roger (November 1995). "Streetfighter: The Movie". Hyper. No. 24. pp. 46–47.
  5. 5.0 5.1 "Street Fighter: The Movie". Next Generation. No. 11. Imagine Media. November 1995. pp. 170, 174.
  6. 6.0 6.1 "Every PlayStation Game Played, Reviewed, and Rated". Next Generation. No. 25. Imagine Media. January 1997. p. 60.
  7. "Street Fighter: The Movie". Official UK PlayStation Magazine. No. 1. November 1995. p. 86.
  8. "Street Fighter: The Movie". Play. No. 1. November 1995. pp. 48–49.
  9. "Video Game Reviews, Articles, Trailers and more - Metacritic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-27. สืบค้นเมื่อ 2021-12-26.
  10. 10.0 10.1 "Maximum Reviews: Streetfighter: The Movie". Maximum: The Video Game Magazine. No. 2. Emap International Limited. 1995. p. 146.
  11. 11.0 11.1 Automatic, Radion (November 1995). "Review: Streetfighter the Movie [sic]". Sega Saturn Magazine. No. 1. Emap International Limited. pp. 66–67.
  12. Derdak, Thomas; Pederson, Jay P. (1998). International Directory of Company Histories. St. James Press. p. 6. ISBN 978-1-55862-365-1. In September, Acclaim's first PlayStation titles, NBA Jam: Tournament Edition (successor to the original game that sold more than three million cartridges) and Street Fighter: The Movie, sold out in retail stores in about a month.
  13. Scary Larry (November 1995). "ProReview: Street Fighter: The Movie". GamePro. No. 86. IDG. p. 62.
  14. Videohead (January 1996). "ProReview: Street Fighter: The Movie". GamePro. No. 88. IDG. p. 80.
  15. Mackey, Bob (2015-09-09). "Debut Duds: The Worst PlayStation Launch Games". USgamer. Gamer Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2015-10-06.
  16. Meli, Marissa (2010-07-05). "Worst Video Games of All Time". UGO.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2010. สืบค้นเมื่อ 2013-10-13.
  17. Orselli, Brandon (2018-10-02). "Liquid Media Acquires Rights to 65 Classic Acclaim Entertainment IPs". nichegamer.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
  • Studio Bent Stuff (Sep 2000). All About Capcom Head-to-Head Fighting Game. A.A. Game History Series (Vol. 1) (ภาษาญี่ปุ่น). Dempa Publications, Inc. ISBN 4-88554-676-1.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]