สงครามสโลวัก–ฮังการี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามชายแดนสโลวัก-ฮังการี
ส่วนหนึ่งของ สมัยระหว่างสงคราม

ดินแดนที่ถูกยกให้ฮังการีภายหลังสงคราม (สีน้ำเงิน)
วันที่23–31 มีนาคม ค.ศ. 1939
สถานที่
สโลวาเกียตะวันออก
ผล ฮังการีชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สโลวาเกียยกดินแดนแถบตะวันออกให้แก่ฮังการี
คู่สงคราม
 ฮังการี  สาธารณรัฐสโลวัก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มิกโลช โฮร์ตี
อ็อนดราช ลิตแต
ยอเซ็ฟ ติซอ
เอากุสติน มาลาร์
กำลัง
กองพันทหารราบ 5 กอง
กองพันทหารม้า 2 กอง
กองพันจักรกล 1 กอง
รถถังเบา 5 คัน
รถถังยานเกราะ 70 คัน
รถหุ้มเกราะ 3 คัน
กองทหารราบ 3 กอง
กองทหารปืนใหญ่ 2 กอง
รถถัง 3 คัน
รถหุ้มเกราะ 9 คัน
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 8 นาย
บาดเจ็บ 30 นาย
ยานพาหนะไม่ทราบชนิดถูกทำลาย
เครื่องบินรบถูกทำลาย 1 ลำ
เสียชีวิต 22 นาย
ถูกจับกุม 671 นาย
เครื่องบินรบที่เสียหายและถูกทำลาย 9 ลำ
พลเรือนถูกสังหาร 51 คน

สงครามสโลวัก-ฮังการี หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามน้อย (สโลวัก: Malá vojna; ฮังการี: Kis háború) เป็นการขัดกันทางอาวุธระหว่างสาธารณรัฐสโลวักและราชอาณาจักรฮังการีที่ดำเนินขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 ถึงวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในทางตะวันออกของประเทศสโลวาเกียในปัจจุบัน

ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นจากการสลายตัวของสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938 อันเป็นผลมาจากความตกลงมิวนิก หลังจากที่ฮังการีได้รับดินแดนราบลุ่มทางตอนใต้ของสโลวาเกียตามการอนุญาโตตุลาการเวียนนาครั้งที่หนึ่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1938 ราชอาณาจักรฮังการีจึงเปิดฉากการบุกครองคาร์เพเทียรูทีเนียเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 โดยอาศัยประโยชน์จากการบุกครองเชโกสโลวาเกียที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งการกระทำนี้นำไปสู่การล่มสลายของประเทศ หลังจากการยึดครองรูทีเนียอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม กองทัพฮังการีจึงได้ประกาศต่อต้านรัฐอิสระสโลวักที่พึ่งแยกตัวออกจากเชโกสโลวาเกีย โดยรัฐบาลบูดาเปสต์มีความหวังที่ครอบครองสัมปทานดินแดนเพิ่มเติมจากสโลวาเกีย

สงครามเปิดฉากขึ้นจากการเริ่มรุกรานของกองทัพฮังการีตามแนวชายแดนเก่าระหว่างรูทีเนียและสโลวาเกีย ซึ่งทางสโลวาเกียเองยังคงพยายามจัดตั้งกองกำลังทหารในช่วงความโกลาหลหลังประกาศเอกราช แม้ว่ารัฐใหม่จะมีปัญหาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ก็สามารถตอบโต้กองทัพฮังการีทางอาวุธและหยุดยั้งการรุกคืบได้ ทางนาซีเยอรมนี ผู้ซึ่งควบคุมอำนาจปกป้องสโลวาเกียประกาศหยุดยิงหลังจากสามวันของการต่อสู้; ข้อตกลงชายแดนที่ตามมาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1939 ได้ให้ฮังการียึดครองดินแดนสโลวาเกียตะวันออกตามแนวของเมืองสตักชิน (Stakčín) และซอบรันเซ (Sobrance)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Axworthy, Mark WA (2002). Axis Slovakia – Hitler's Slavic Wedge, 1938–1945. Bayside: Axis Europa Books. ISBN 1-891227-41-6.
  • Deák, Ladislav (1993). Malá vojna (ภาษาสโลวัก). Bratislava. ISBN 80-88750-02-4.
  • Deák, Ladislav (2002). "Viedenská arbitráž: 2. November 1938". Dokumenty I. Matica slovenská (ภาษาสโลวัก). Martin.
  • Niehorster, Dr Leo WG (1998). The Royal Hungarian Army 1920–1945. Vol. 1. New York: Axis Europa Books. ISBN 1-891227-19-X.
  • "Emil Hácha: Odhodlal jsem se v hodině dvanácté. Politické projevy" (ภาษาเช็ก). March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]