ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล
นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล (18 ตุลาคม พ.ศ. 2493 [1] - ) อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [2] อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันดำรงดำแหน่งที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ อย. เป็นประธานประธานคณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ในการเจรจาลดราคายารักษาโรคมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งทางเดินอาหาร กับบริษัท ซาโนฟี บริษัท โนวาตีส และบริษัท โรช ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตร
ประวัติ
[แก้]นพ. ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เกิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2493 เป็นชาวกรุงเทพมหานคร โดยกำเนิด จบแพทยศาสตรบัณฑิตศิริราช ปี 2519, ปริญญาโท 3 ใบ ได้แก่ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, โภชนาการชุมชน มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย และรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ผ่านอบรมนักบริหารระดับสูง ก.พ. ปี 2539
เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคยาสูบ เมื่อ พ.ศ. 2535 ดำรงตำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ก่อนจะมารับตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในปี พ.ศ. 2540 แต่ขัดแย้งกับบริษัทเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง และกรณีจับธุรกิจขายอาหารเสริมที่โฆษณาหลอกลวงว่าเป็นฮอร์โมนกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศของน้องสาวนักการเมือง ในปี พ.ศ. 2543 [3] จึงถูกอิทธิพลย้ายไปดำรงรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2544 และโอนย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข[4] และกลับมารับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เมื่อ พ.ศ. 2549 ขณะนายแพทย์มงคล ณ สงขลา ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข [5] นายแพทย์ศิริวัฒน์ ถูกคำสั่งย้ายจากตำแหน่งเลขาธิการ อย. ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิเสธว่าเป็นการโยกย้ายตามปกติ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งเรื่องนโยบายซีแอลยา [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ คอลัมน์ คนตามข่าวโดย ดุษฎี สนเทศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายงานการประชุม กระทรวงสาธารณสุข[ลิงก์เสีย]
- ↑ ธีรวุฒิ สถิตภัทรกุล, "ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล มือซ้ายซีแอล หมอยอดนักพัฒนา", โพสต์ทูเดย์, 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี 09/11/2547 เรื่องการแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบศาธารณสุข
- ↑ "ผมไม่ใช่คนกลัวอำนาจ", บทสัมภาษณ์นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล, ไทยโพสต์ แทบลอยด์, 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 [2][ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวทางการแพทย์ประจำวัน[ลิงก์เสีย] แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2021-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒๔๒, ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2493
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- แพทย์ชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา