วิธีใช้:หน้าคำบรรยายไฟล์
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
เมื่อมีการอัปโหลดไฟล์อย่างภาพ วิดีทัศน์หรือคลิปเสียงสู่วิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์ จะมีการสร้างหน้าคำบรรยายไฟล์ (หรือหน้าไฟล์) ที่มากับไฟล์ดังกล่าว จุดประสงค์ของหน้าดังกล่าวมีเพื่อให้สารสนเทศเกี่ยวกับไฟล์ ตัวอย่างเช่น ผู้ประพันธ์ วันที่สร้างสรรค์ ผู้อัปโหลดไฟล์ การดัดแปรไฟล์ใด ๆ คำบรรยายขยายความหัวเรื่องหรือบริบทของไฟล์ ที่ที่ใช้ไฟล์ และใบอนุญาตหรือสารสนเทศลิขสิทธิ์ ในกรณีของภาพ หน้าคำบรรยายไฟล์ยังมีฉบับความละเอียดสูงกว่าของภาพนั้นด้วย (ถ้ามี)
ในการดูหน้าคำบรรยายไฟล์สำหรับภาพหรือวิดีทัศน์ คลิกที่ภาพ สำหรับไฟล์เสียง คลิกไอคอนสารสนเทศ ใกล้กับลิงก์คลิปเสียง
หน้าคำบรรยายไฟล์ประกอบด้วยห้าส่วน ดังนี้
- เนื้อหาไฟล์นั้นเอง
- ส่วนแก้ไขได้: ซึ่งควรมีคำบรรยายไฟล์ ร่วมกับแหล่งที่มาและสารสนเทศลิขสิทธิ์ เมื่อแก้ไข ส่วนนี้รองรับภาษามาร์กอัพวิกิ และควรใส่ตัวแปรเสริมตาม แม่แบบ:Information
- ประวัติไฟล์: หากมีการอัปโหลดไฟล์รุ่นใหม่ชื่อเดียวกัน ไฟล์ที่มีอยู่เดิมจะถูกแทนที่ และเข้าถึงได้ผ่านประวัติไฟล์ ดู วิธีใช้:ประวัติหน้า
- การใช้ไฟล์: รายชื่อหน้าที่ฝังไฟล์นี้
- รายการหน้าเว็บที่ฝังตัวไฟล์ดังกล่าว (รวมทั้งหน้าที่ปรากฏโดยเป็นส่วนหนึ่งของแม่แบบ) หากไฟล์หนึ่งเก็บไว้บนคอมมอนส์และใช้ในวิกิอื่นของวิกิมีเดีย จะมีส่วน "การใช้ไฟล์ทั่วโลก" ด้วย
- ข้อมูลเมตา (เฉพาะภาพ): สารสนเทศเทคนิคเกี่ยวกับไฟล์และอุปกรณ์ที่ใช้สร้าง (รุ่นกล้อง ฯลฯ)
สิ่งมีประโยชน์ที่ควรใส่ในส่วนแก้ไขได้
[แก้]ส่วนแก้ไขได้ของหน้าใช้เพื่อบรรยายไฟล์และให้สารสนเทศเพิ่มเติม เดิมทีส่วนนี้มีความย่อการอัปโหลดอัตโนมัติเมื่อมีการอัปโหลดครั้งแรก สิ่งมีประโยชน์ที่ควรใส่ในหน้าไฟล์ มีดังนี้
คำบรรยายไฟล์
[แก้]เช่น: "ภาพปลาทองในตู้ขนาดเล็ก" ทั้งนี้ ไม่ควรเป็นข้อความทางเลือก (ดู วิกิพีเดีย:ข้อความทางเลือกสำหรับภาพ) แต่เป็นคำบรรยาย นับว่ามีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีการเข้าถึงภาพดังกล่าวโดยตรง และเป็นสิ่งทดแทนป้ายระบุ longdesc
ชั่วคราว
หากคุณดาวน์โหลดไฟล์จากที่อื่น คุณควรใส่รายละเอียดของแหล่งที่มา ผู้ประพันธ์ ฯลฯ ดูที่ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา
บทสรุปไฟล์
[แก้]เป็นที่ที่คุณเขียนสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟล์ ว่าสร้างขึ้นอย่างไร ที่ใด เมื่อใด อย่างไร และใครสร้าง ตลอดจนภาพนั้นคืออะไรและเกี่ยวกับอะไร ตัวอย่าง: "ภาพถ่ายที่ฉันถ่ายใต้น้ำด้วยกล้อง ___ เป็นภาพปลา ____" หรือ "ภาพประกอบต้นฉบับของรถยนต์จากอนาคตและล้อโค้งงอ"
บทสรุปภาพ
[แก้]บทความส่วนใหญ่ที่ใช้ภาพจะมีคำบรรยายภาพ แต่บทสรุปภาพอาจสั้นว่าคำบรรยายเต็มของภาพ และอาจสัมพันธ์กับข้อความของบทความมากกว่า
พึงระลึกว่าทุกคนที่เห็นภาพนี้ในบทความและคลิกภาพเพื่อดูสารสนเทศเพิ่มเติม (หรือเพื่อขยายภาพ) จะเข้ามายังหน้าคำบรรยายไฟล์
หากคุณผลิตภาพขึ้นมาเอง จะมีบางคำถามที่คุณเท่านั้นที่จะตอบได้ เนื่องจากคุณอาจไม่อยู่ตอบคำถามบางคำถามในภายหลัง คุณจึงควรใส่สารสนเทศต่อไปนี้ในหน้าคำบรรยายเมื่อคุณอัปโหลดภาพ เพื่อช่วยให้ผู้เขียนอื่นหาที่ใช้ภาพได้ดีขึ้น และจะให้สารสนเทศแก่ผู้อ่านมากกว่า
สำหรับภาพถ่าย
- ถ่ายภาพที่ใด
- ถ่ายเมื่อใด
- ชื่อของบุคคลและวัตถุสำคัญทั้งหมดที่เห็นได้ในภาพถ่ายมีอะไรบ้าง
- เกิดอะไรขึ้นในภาพ
- ใครเป็นช่างภาพ
สำหรับภาพสังเคราะห์
- ควรอธิบายแผนภาพและการทำเครื่องหมายอย่างสมบูรณ์ที่สุด
- หากจำเป็น ควรเพิ่มคำบรรยายสัญลักษณ์
สารสนเทศเทคนิคสำหรับภาพถ่าย
- หากใช้กล้องฟิล์ม ให้ระบุหมายเลขรุ่นข้อมูล สารสนเทศเลนส์และการตั้งค่าการรับแสง
- มีการดัดแปลงหลังการผลิตอะไรบ้าง (การปรับสี ความคมชัด ฯลฯ)
สารสนเทศเทคนิคสำหรับภาพสังเคราะห์
- ใช้ซอฟต์แวร์ใดในการสร้างหรือแก้ไขภาพ
- ใช้ภาพที่มีอยู่แล้วใด (ภาพ ภาพถ่ายเสรี ฯลฯ) ที่ใช้เป็นสิ่งรับเข้า
สารสนเทศลิขสิทธิ์
[แก้]ทุกไฟล์จะต้องระบุสารสนเทศลิขสิทธิ์ ซึ่งรวมถึงผู้ประพันธ์ แหล่งที่มาของไฟล์ และสัญญาอนุญาต ทุกไฟล์จะต้องมีสัญญาอนุญาตเสรีหรือเหมาะสำหรับ "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" (ตัวอย่างเช่น ภาพความละเอียดต่ำหรือเฉพาะบางส่วนของเพลง) คุณควรเลือกป้ายระบุที่เหมาะสมที่สุดจาก วิกิพีเดีย:ป้ายระบุสถานะลิขสิทธิ์ไฟล์ กรุณาทราบว่าผู้ทรงลิขสิทธิ์ (ผู้สร้างสรรค์ไฟล์คนแรก นายจ้างหรือผู้ออกแบบอย่างเป็นทางการ) ไม่ใช่ผู้อัปโหลด เป็นผู้ตัดสินสัญญาอนุญาตสำหรับภาพนั้น ๆ และ "การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ" ซึ่งไฟล์ไม่เสรีมีบทนิยามที่จำเพาะ โปรดอ่าน วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์, วิกิพีเดีย:นโยบายการใช้ภาพ และ วิกิพีเดีย:เนื้อหาไม่เสรี สำหรับสารสนเทศเกี่ยวกับว่าภาพใดที่เหมาะสมต่อการอัปโหลด หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับภาพหนึ่งภาพใด ถามได้ที่ วิกิพีเดีย:แผนกช่วยเหลือ
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง (ภายใน)
[แก้]ตัวอย่าง:
- ดูเพิ่ม: ธงชาติสหราชอาณาจักร
รุ่นอื่น
[แก้]ถ้ามีรุ่นอื่น (โดยเฉพาะรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า) ของไฟล์เดียวกัน จะมีลิงก์ไปยังรุ่นนั้น
- [[สื่อ:Goldfish-in-tank2.jpg|อีกมุมกล้องหนึ่ง]] ([[:ภาพ:Goldfish-in-tank2.jpg|ข้อมูล]])
- [[สื่อ:Goldfish-in-tank-textfree.jpg|รุ่นไม่มีข้อความ]] ([[:ภาพ:Goldfish-in-tank-textfree.jpg|ข้อมูล]])
รุ่นไม่มีข้อความมีประโยชน์สำหรับการใช้ในโครงการภาษาอื่น
ประเด็นอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์
[แก้]ไฟล์ที่มีอยู่บนวิกิพีเดียสามารถเก็บไว้ในวิกิพีเดียหรือในวิกิมีเดียคอมมอนส์ หากไฟล์หนึ่งเก็บไว้บนคอมมอนส์ จะปรากฏข้อความต่อไปนี้ในหน้าคำบรรยายไฟล์
รูปภาพหรือไฟล์เสียงนี้ ต้นฉบับอยู่ที่ คอมมอนส์ รายละเอียดด้านล่าง เป็นข้อความที่แสดงผลจาก ไฟล์ต้นฉบับในคอมมอนส์
|
การแก้ไขหน้าคำบรรยายไฟล์ควรกระทำบนคอมมอนส์ ยกเว้นบางกรณี เช่น เพื่อระบุว่าไฟล์นั้นผ่านสถานะคัดสรรในวิกิพีเดีย ในการแก้ไขหน้าคำบรรยายบนคอมมอนส์ให้คลิกลิงก์ "หน้าคำบรรยายที่นี่" ทุกคนสามารถแก้ไขคอมมอนส์ได้ เหมือนกับวิกิพีเดีย ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้องสมัครบัญชี
การแสดงตัวอย่าง
[แก้]เมื่อแก้ไข ฟังก์ชันแสดงตัวอย่างจะแสดงเฉพาะส่วนที่แก้ไขได้ของหน้าไฟล์ จะไม่แสดงตัวไฟล์ ประวัติไฟล์และลิงก์ไฟล์
การแก้ไขไฟล์
[แก้]ไม่สามารถแก้ไขไฟล์ทั้งบนวิกิพีเดียหรือคอมมอนส์ จะต้องดาวน์โหลด ใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม (เช่น กิมป์หรือโฟโตชอปสำหรับภาพ) เพื่อดัดแปลง เมื่อเสร็จสิ้นการเปลี่ยนแปลงแล้ว ให้อัปโหลดไฟล์นั้นมายังวิกิพีเดียหรือคอมมอนส์ อาจใช้ชื่อไฟล์เดิมได้ โดยจะเขียนทับไฟล์ที่มีอยู่เดิม
การประสานงานระหว่างภาษา
[แก้]บนวิกิพีเดีย กรุณาเลี่ยงการใส่คำบรรยายเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาไทย ให้ใช้ลิงก์วิกิสนเทศไปยังหน้าคำบรรยายไฟล์ในวิกิภาษาที่เหมาะสม
บนคอมมอนส์ อาจเพิ่มคำแปลในหน้าคำบรรยายไฟล์ก็ได้
การอัปโหลดภาพต้นฉบับ
[แก้]หากคุณสร้างภาพด้วยตัวเอง และคุณมีต้นฉบับคุณภาพสูงกว่าในรูปแบบอย่าง .XCF, .PSD หรือ .AI คุณอาจพิจารณาอัปโหลดไฟล์ต้นฉบับนั้นเพื่อให้ผู้ใช้คนอื่นสามารถดัดแปลงได้ง่ายหากมีควมจำเป็น ลิงก์ไฟล์ต้นฉบับจากหน้าคำบรรยาไฟล์ หากไฟล์ต้นฉบับมีขนาดใหญ่เกินจนอัปโหลดไม่ได้ ลองบีบไฟล์โดยใช้โปรแกรมอย่างวินซิปหรือจีซิป
วิกิพีเดียรองรับการแสดงผลภาพเอสวีจี ฉะนั้นโดยทั่วไปเป็นการดีที่สุดในการอัปโหลดสำเนาเอสวีจีแทนที่แรสเตอร์การเรนเดอร์ภาพนั้น
การจัดหมวดหมู่ไฟล์
[แก้]ไฟล์สามารถอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับหน้าอื่น แต่มีการปฏิบัติแยกกัน ในหน้าหมวดหมู่ ไฟล์ไม่อยู่ในยอดบทความในหมวดหมู่ และแสดงผลในอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีภาพขนาดย่อและชื่อ หมวดหมู่ไฟล์ปกติเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่ทั่วไปเกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกัน และเป็นหมวดหมู่ย่อยของหมวดหมู่ไฟล์ขนาดใหญ่กว่า
สำหรับการจัดหมวดหมู่ไฟล์ใหม่ ไม่จำเป็นต้องแก้ไขหน้าไฟล์ใหม่ สามารถใส่ป้ายระบุหมวดหมู่ในความย่อการอัพโหลดได้ หลายภาพจัดอยู่ในหมวดหมู่:ภาพแบ่งตามประเภท คุณอาจลองค้นตามลำดับชั้นของหมวดหมู่เพื่อหาที่ที่เหมาะสม
ตำแหน่งหน้าไฟล์
[แก้]ในวิกิพีเดียภาษาไทย หน้าไฟล์สำหรับไฟล์สื่อชื่อ F อยู่ที่ <http:// th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:F> และสามารถเข้าถึงได้โดยใช้มาร์กอัพวิกิ [[ :ไฟล์:F]]
ชื่อไฟล์สื่อสามารถดูจากยูอาร์แอลได้ โดยเป็นส่วนสุดท้ายหรือรองสุดท้ายของยูอาร์แอลเสมอ เช่น ภาพธง อาจมียูอาร์แอลต่อไปนี้
ส่วนรองสุดท้ายของยูอาร์แอลนี้คือ "Flag_of_France.svg" ดังนั้นหน้าไฟล์ที่เกี่ยวข้องคือ File:Flag_of_France.svg
ยูอาร์แอลของภาพมักตัดสินโดยการเลือกให้เบราว์เซอร์แสดงคุณสมบัติของภาพ และไฟล์สื่ออื่น อย่างไรก็ดี บางทีคุณอาจจำเป็นต้องดูเอชทีเอ็มแอลของหน้าเว็บที่มีไฟล์สื่อเพื่อกำหนดยูอาร์แอลของไฟล์ ตัวอย่างเช่นในเบราว์เซอร์มาตรฐาน สกินวิกิพีเดียภาษาไทยโดยปริยายจะแสดงผลที่ภาพลูกโลกจิ๊กซอว์ซ้ายบน ซึ่งพาคุณไปยังหน้าหลักเมื่อคุณคลิก ดูเอชทีเอ็มแอลของหน้านี้เพื่อดูรหัสต่อไปนี้
- <a style = "background-image: url (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/b/bc/Wiki.png);" href = "/wiki/Main_Page" title = "ชมหน้าหลัก"></a>
เอชทีเอ็มแอลนี้มียูอาร์แอลซึ่งส่วนสุดท้ายเป็น "Wiki.png" ฉะนั้นหน้าไฟล์ที่สัมพันธ์จึงเป็น ไฟล์:Wiki.png
ดูเพิ่ม
[แก้]- วิธีใช้:ไฟล์
- วิธีใช้:มาร์กอัพไฟล์ภาพ - สำหรับการวางไฟล์ภาพในบทความ
- วิธีใช้:มาร์กอัพไฟล์เสียง - สำหรับการวางไฟล์เสียงในบทความ
- วิกิพีเดีย:การอัพโหลดภาพ
- แม่แบบ:Information - แม่แบบที่ใช้ในสรุปคำอธิบายไฟล์ รวมถึงเอกสารประกอบแม่แบบ