วิธีการบังคับต่อสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิธีการบังคับของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
วันที่8 พฤศจิกายน 1991 – 1995
เป้าหมายสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย หลังเดิอนเมษายน 1992
วิธีการบังคับของสหประชาชาติ
วันที่30 พฤษภาคม 1992 – 22 พฤศจิกายน 1995
เป้าหมายสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย
วิธีการบังคับของสหประชาชาติ สหภาพยุโรป และสหรัฐ
วันที่มีนาคม 1998 – ตุลาคม 2000
เป้าหมายสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย

ระหว่างสงครามยูโกสลาเวียในคริสต์ทศวรรษ 1990 และต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 มีการกำหนดวิธีการบังคับหลายรอบต่ออดีตสาธารณรัฐยูโกสลาเวียอย่างเซอร์เบียและมอนเตเนโกรซึ่งในขณะนั้นก่อตั้งประเทศใหม่ที่เรียกว่าสหพันธ์สาธารณรัฐยูโกสลาเวีย

การกำหนดวิธีการบังคับรอบแรกเป็นไปเพื่อตอบโต้สงครามบอสเนียและสงครามในโครเอเชียระหว่างเดือนเมษายน 1992 ถึงตุลาคม 1995 ยูโกสลาเวียอยู่ภายใต้วิธีการบังคับของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) วิธีการบังคับถูกยกเลิกหลังจากการลงนามยุติความขัดแย้งในความตกลงเดย์ตัน[1]

ระหว่างสงครามคอซอวอในปี 1998–1999 ยูโกสลาเวียถูกสหประชาชาติ สหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐกำหนดวิธีการบังคับอีกรอบ[1] และหลังจากการโค่นล้มประธานาธิบดีสลอบอดัน มีลอเชวิช ในเดือนตุลาคม 2000 วิธีการบังคับยูโกสลาเวียได้ถูกยกเลิกอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 19 มกราคม 2001[2]

วิธีการบังคับมีผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของเซอร์เบียและมอนเตเนโกร เซอร์เบียได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยจีดีพีลดลงจาก 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 1990 เหลือต่ำกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 1993[3] และ 8.66 พันล้านดอลลาร์ในปี 2000[4] นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมยูโกสลาเวียด้วย[5] มีประชาชนประมาณ 300,000 คนอพยพออกจากเซอร์เบียในช่วงทศวรรษ 1990 โดยร้อยละ 20 ของจำนวนนี้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Agence France Presse 2000.
  2. Jovanovic & Sukovic 2001.
  3. Becker 2005.
  4. IMF 2014.
  5. The Mandala Projects 2012.
  6. "Serbia seeks to fill the '90s brain-drainage gap". EMG.rs. 5 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2012.
  7. "Survey S&M 1/2003". Yugoslav Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-11. สืบค้นเมื่อ 2016-06-18.