วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์
ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2516 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (87 ปี 108 วัน)
บุตรสุรเดช ยะสวัสดิ์
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยเทคนิคทหารบกเหล่าช่าง
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลตำรวจเอก
พลโท

พลตำรวจเอก พลโท วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555) อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ อดีตรองเสนาธิการทหารบก และบิดาของ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ อดีต ส.ว. จังหวัดพะเยา และอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน

ประวัติ[แก้]

พลตำรวจเอก วิฑูรย์เกิดที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 เป็นบุตรชายของนายเปลื้องและนางแช่ม ยะสวัสดิ์จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเทคนิคทหารบกเหล่าช่างเมื่อปี พ.ศ. 2490 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สมรสกับ หม่อมราชวงศ์จิตราภา ยะสวัสดิ์ (นวรัตน์) มีบุตรชาย 1 คนคือ สุรเดช ยะสวัสดิ์

รับราชการ[แก้]

พลตำรวจเอกวิฑูรย์เริ่มรับราชการใน กองทัพบก จนได้เป็นผู้บังคับการกองผสมที่ 333 ที่ทำการรบแบบไม่เปิดเผยจนพลตำรวจเอกวิฑูรย์ได้รับฉายาว่า หัวหน้าเทพ หรือ เทพ 333 เนื่องจากท่านมีชื่อเล่นว่า เทพ หลังจากนั้นท่านได้เลื่อนตำแหน่งจนสูงขึ้นตามลำดับ

ต่อมาหลังจากเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค พลตำรวจเอก วิฑูรย์ขณะมียศเป็น พลตรี ได้ถูกโอนย้ายมารับราชการใน กรมตำรวจ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในสมัยที่ พลตำรวจเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น อธิบดีกรมตำรวจ และได้รับพระราชทานยศ พลตำรวจโท เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2516 [1] ตลอดสมัยที่ท่านเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจท่านได้พัฒนากรมตำรวจจนเจริญรุดหน้าแต่ท่านและพลตำรวจเอกประจวบก็ได้ถูกโอนย้ายกลับไปรับราชการที่กองทัพบกเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 [2] โดยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากองทัพบกพร้อมกับได้รับพระราชทานยศ พลโท เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 [3] ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกันพลโท วิฑูรย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพลแทนพลโท เฉลิม สุทธิรักษ์ที่ย้ายไปรับตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุง [4]

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 พลตรี วิฑูรย์ได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก และรับพระราชทานยศ พลโท ในเวลาต่อมา แทน พลโท สิทธิ จิรโรจน์ ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกรับพระราชทานยศ พลเอก[5] แต่ดำรงตำแหน่งได้เพียง 10 วันก็ถูกโยกให้มาประจำ กองบัญชาการทหารสูงสุด ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 10/2519 ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2519[6] จากนั้นคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับต่อมาคือฉบับที่ 11/2519 ลงวันเดียวกันได้สั่งให้พลโท วิฑูรย์ย้ายไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาการศึกษา ( ชั้น 2 ) ประจำ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวแทนนายสนิธ พุกประยูรโดยให้ไปรับตำแหน่งใหม่ภายใน 48 ชั่วโมงและให้รับเงินเดือนจากตำแหน่งประจำกองบัญชาการทหารสูงสุดคงเดิม [7] ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2528

ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]

พลโทวิฑูรย์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ขณะมีอายุได้ 87 ปีโดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 90 ตอน 141 ง พิเศษ หน้า 21 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 35 ง พิเศษ หน้า 10 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 70 ง หน้า 891 1 เมษายน พ.ศ. 2518
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 203 ง พิเศษ หน้า 2-16 30 กันยายน พ.ศ. 2518
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 115 ง หน้า 2634-2650 28 กันยายน พ.ศ. 2519
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 10/2559 เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 131 ง พิเศษ หน้า 1 18 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  7. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 11/2519 เรื่อง ให้ข้าราชการประจำกรม และแต่งตั้งข้าราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 131 ง พิเศษ หน้า 2 18 ตุลาคม พ.ศ. 2519
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๙๐, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑