สุรเดช ยะสวัสดิ์
สุรเดช ยะสวัสดิ์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2499 กรุงเทพมหานคร |
พรรค | ชาติพัฒนา |
ศาสนา | พุทธ |
นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา และเป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ประวัติ[แก้]
สุรเดช ยะสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของพลตำรวจเอก วิฑูรย์ ยะสวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ ในช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา กับหม่อมราชวงศ์จิตราภา ยะสวัสดิ (สกุลเดิม นวรัตน)[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จาก CHAMBERLAYNE JUNIOR COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี สาขาศิลปศาสตร์ จาก CURRY COLLEGE ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท จาก NORTHEASTERN UNIVERSITY ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน[แก้]
สุรเดช ยะสวัสดิ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดพะเยา ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543[2] และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ต่อมาเขาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในยุคที่มีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นหัวหน้าพรรค และในสมัยของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เช่นเดียวกัน
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสถาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 9 สังกัดพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "วิทูรย์ ยะสวัสดิ์"ล่วง พร้อมความลับเดือนตุลา[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดพะเยา (นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ นางพวงเล็ก บุญเชียง)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗