วิกิพีเดีย:มาเพื่อสร้างสารานุกรม
นี่คือส่วนเพิ่มเติมอธิบายต่อหน้านโยบายและแนวปฏิบัติด้านเนื้อหาและพฤติกรรม เจตนาเพื่อชดเชยส่วนขาดที่ถือว่ารายละเอียดมากเกินกว่ารวมอยู่ในหน้าที่หน้านี้เพิ่มเติม หน้านี้มิใช่นโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เนื่องจากชุมชนมิได้ตรวจสอบอย่างเข้มงวด |
สรุปหน้านี้: ชาววิกิพีเดียมีอยู่เพื่อสร้างสารานุกรม คือ งานอ้างอิงสาธารณะที่เป็นกลางและน่าเชื่อถือของหัวข้อที่โดดเด่น ผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมส่อว่ามาที่นี่เพื่อความมุ่งหมายอื่นย่อมเสี่ยงถูกบล็อก |
วิกิพีเดียคือสารานุกรมและชุมชนของผู้คนที่สร้างมันขึ้นมา ซึ่งมีองค์ประกอบของทั้งสารานุกรม กาลานุกรมและอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ทั้งทั่วไปและเฉพาะด้าน วิกิพีเดียไม่ใช่ที่ป่าวประกาศ ไม่ใช่สื่อไร้สาระ ไม่ใช่การทดลองในระบอบอนาธิปไตยหรือประชาธิปไตย ไม่ใช่การรวบรวมข้อมูลอย่างขาดการพิจารณา ไม่ใช่สารบัญเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังไม่ใช่พจนานุกรม หนังสือพิมพ์ แหล่งรวบรวมเอกสารต้นฉบับ ซึ่งเนื้อหาเหล่านั้นควรถูกจัดอยู่เข้าสู่โครงการพี่น้องของวิกิมีเดียแทน
เสาหลักของวิกิพีเดียคือเป็นสารานุกรมบวกชุมชนผู้เขียนที่สร้างสารานุกรมนั้น หมายความว่า ผู้เขียนมีไว้เพื่อช่วยปรับปรุงบทความและเนื้อหาสารานุกรมเป็นหลัก และเข้าร่วมการอภิปรายและกระบวนการของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ที่มุ่งพัฒนาโครงการและคุณภาพของเนื้อหา และกระทำอยู่ตามขอบเขต นโยบายและพันธกิจที่ตั้งใจไว้ของโครงการ เนื่องจากวิกิพีเดียเป็นชุมชนความร่วมมือ ผู้เขียนที่มีวาระและการกระทำส่วนบุคคลดูขัดกับความมุ่งหมายของโครงการย่อมเสี่ยงต่อการถูกเพิกถอนเอกสิทธิ์การแก้ไข
คำว่า "มาที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เป็นกฎที่ใช้แยกแยะผู้ใช้และหน้าที่สร้างสรรค์และไม่สร้างสรรค์ออกจากกัน
อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม
[แก้]สัญญาณว่าผู้ใช้อาจมาที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ได้แก่:
- มีความสนใจและการพัฒนาอย่างแท้จริง
- มีความสนใจอย่างแท้จริงในการปรับปรุงเนื้อหาสารานุกรม (บทความและสื่อประกอบ) ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับความสนใจอย่างกว้าง และมีการแก้ไข/การเขียนบทความหรือกิจกรรมสำคัญอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (เช่น การเขียนรหัส การตรวจบทความใหม่) นอกจากนี้ยังอาจรวมการปรับปรุงเชิงสร้างสรรค์อย่างอย่างมีนัยสำคัญต่อกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงเนื้อหา หรือบรรเทาและลดปัญหาที่ก่อให้เกิดส่วนร่วมเชิงลบต่อวิกิพีเดีย
- เคารพมาตรฐานการแก้ไขแกนกลาง
- ประพฤติตนตามนโยบายที่มีการตกลงกันไว้เป็นแกนกลางเมื่อแก้ไข รวมทั้งนโยบายด้านเนื้อหาและพฤติกรรม
- มุ่งสนใจการสร้างสารานุกรม
- รักษาการเข้ามีส่วนร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสารานุกรมให้อยู่ในระดับจำกัดเมื่อเทียบกับการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์เชิงบวกและโดยตรงต่อสารานุกรม และ/หรือ กระบวนการบรรณาธิการของสารานุกรม
- การปรับปรุงตนและการรับฟังบทเรียน
- เมื่อเกิดข้อผิดพลาด มีความพยายามเรียนรู้จากบทเรียนที่สังเกตได้ ผู้ใช้มีพฤติกรรมแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างจริงจัง และปรับปรุงความสามารถบรรณาธิการของพวกตนและคุณภาพการป้อนเข้า
ชัดเจนว่าไม่อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม
[แก้]เครื่องบ่งชี้ว่าผู้ใช้คนหนึ่งชัดเจนว่าอาจมิได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ได้แก่:
- ความสนใจตนเองอย่างแคบ การส่งเสริมพวกตนหรือธุรกิจของพวกตน
- มีการเขียนบทความที่สนใจตนเองอย่างแคบหรือกิจกรรมส่งเสริมในการเขียนบทความ
- สนใจวิกิพีเดียเป็นเว็บเครือข่ายสังคม
- ความสนใจหลักในวิกิพีเดียเป็นพื้นที่เครือข่ายสังคม (เรซูเม หน้าประเภทสือสังคม เป็นต้น)
- รูปแบบพฤติกรรมรบกวนทั่วไป
- ประวัติพฤติกรรมรบกวนระยะยาว โดยไม่มีหรือมีสัญญาณเจตนาทางบวกเพียงเล็กน้อย
- พยายามสร้างความประทับใจนอกวิกิพีเดีย
- การแก้ไขที่ความมุ่งหมายเดียวคือการตั้งใจทำให้บุคคลอื่นประทับใจหรือตลกขบขันนอกวิกิพีเดีย โดยไม่คาดหมายว่าการแก้ไขนั้นจะคงอยู่หรือไม่ใส่ใจหากถูกลบ ตัวอย่างได้แก่ การแก้ไขบทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของตนโดยตั้งใจกล่าวยกย่องเทพเจ้าของตน หรือใส่ชื่อแฟนของตนเข้าบทความ "สวย" เป็นต้น
- ทำให้การแก้ไขกลายเป็นการต่อกร
- การใช้วิกิพีเดียเป็นที่ปราศรัย, สร้างความแตกแยก, แสดงความก้าวร้าวอย่างต่อเนื่อง และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่เข้าข่าย อาจชี้ว่าผู้ใช้อยู่ที่นี่เพื่อวิวาท หาได้สร้างวิกิพีเดียไม่ หากผู้ใช้มีข้อพิพาท เขาจะถูกคาดหวังว่านำประโยชน์ที่โครงการจะได้มาเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ และแสวงหาการระงับข้อพิพาท ผู้ใช้ที่ยึดติดกับความโกรธอาจพบว่าการวิวาทกลายมาเป็นเป้าหมายหลัก ไม่ใช่การเขียนสารานุกรม
- มีพฤติกรรมไม่ซื่อตรงและแสวงหาผลประโยชน์จากช่องโหว่ของระบบ
- วิกิพีเดียทำงานอยู่บนหลักพื้นฐานของความเชื่อถือ การแสวงหาช่องโหว่ของวิกิพีเดีย, การใช้หุ่นเชิด และรูปแบบอื่นที่แสดงความไม่ซื่อตรงของผู้แก้ไข เป็นการบ่อนทำลายความเชื่อถือดังกล่าว และบ่งชี้ถึงเจตนาอื่น เช่น รู้สึกอภิรมย์ที่ได้ทำลาย (ชาเดินฟร็อยเดอ) หรือขาดความสนใจที่จะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติว่าด้วยความประพฤติที่ดีในการแก้ไข
- สนใจเล็กน้อยหรือไม่สนใจทำงานร่วมกับผู้อื่น
- ขาดความสนใจอย่างมากต่อการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์และแบบร่วมมือกับชุมชนที่อาจมีมุมมองแตกต่างจากผู้ใช้อื่น ขาดความสนใจอย่างยิ่งในการรับฟังความกังวลโดยชอบของผู้อื่น สนใจขยายความขัดแย้งมากกว่าลดความขัดแย้งอย่างไม่สนใจพฤติกรรมสุภาพ ผลักไสผู้เขียนสร้างสรรค์ หรือแสดงความเป็นเจ้าของบทความ
- มีความขัดแย้ง ทัศนคติ หรือจุดประสงค์ ที่เป็นปัญหาใหญ่หลวงหรือไม่สามารถเข้าได้กับวิกิพีเดีย
- ผู้ใช้อาจสนับสนุนแง่มุมหรือวิถีชีวิตที่สุดโต่งหรือกระทั่งขัดต่อศีลธรรม หรือกระทั่งแสดงท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ใช้อื่น กระนั้นเขาก็ยังคง "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" อย่างไรก็ดี กิจกรรมบางอย่างที่โดยธรรมชาติแล้วถือว่าไปไม่ได้กับสิทธิในการแก้ไขวิกิพีเดีย เช่น การดำเนินคดีกับผู้ใช้อื่น, ข่มขู่คุกคาม, หรือการกระทำลับหลังที่บ่งชี้เจตนารมย์นอกลู่นอกทางอันเป็นที่น่ารังเกียจ หรือบ่อนทำลายวิกิพีเดียโดยรวม ผู้ใช้จะต้องรู้จักถนอมน้ำใจต่อกัน ทุกการโต้เถียงจำเป็นต้องรักษาความมีอารยะไว้ วิกิพีเดียมีระดับของความเบี่ยงเบนที่มีต่อทัศนคติพื้นฐาน ไม่ว่าจะในการแก้ไขหรือต่อทั้งโครงการ ทัศนคติที่เบี่ยงเบนมากไปก็อาจไม่เป็นที่พึงประสงค์
- มีเป้าประสงค์ระยะยาวที่ขัดต่อการสร้างสารานุกรม
- ผู้ใช้ที่มีแนวโน้มว่าจะใช้สิทธิ์การแก้ไขเพียงเพื่อทำให้การปราศรัยหรือทัศนคติส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่สามารถยอมรับได้ (เช่นทำการแก้ไขพื้นฐานที่ไม่มากพอจะเรียกว่า "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เพื่อที่ตนเองจะสามารถกล่าวอ้างว่าเป็น "ผู้เขียนที่มีผลงาน" ... ทั้งนี้การกระทำหรือถ้อยคำของผู้ใช้ต้องแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาระยะยาวที่ขัดต่อการ "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม")
- มีประวัติระยะยาวหรือ "สุดขั้ว" ซึ่งส่อว่าขาดค่านิยมสำหรับเป้าประสงค์และวิธีการของโครงการอย่างมาก
- อาจรวมการไม่ใส่ใจโอกาสสำหรับปรับปรุงตัวและคำเตือนต่าง ๆ ที่ได้รับ ซ้ำยังมีเยาะเย้ยกลับมา หรือคำสัญญาจะปรับปรุงตัวที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่จริงใจ
- สนใจการได้มาซึ่งสิทธิ์ผู้ใช้หรือ "รางวัล" ให้มากที่สุด
- ผู้ใช้ที่ต้องการได้รางวัลให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือมุ่งความสนใจที่การได้มาซึ่งสิทธิ์ผู้ใช้ ผ่านกระบวนการแสวงหาผลประโยชน์จากหลักการของวิกิพีเดีย แม้ว่าการได้รับรางวัลจะมิใช่สิ่งเลวร้าย แต่การอ้างรางวัลและระดับการเข้าถึงมาเป็นสิทธิพิเศษถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อวิกิพีเดีย และไม่ใช่เป้าประสงค์ของสองสิ่งดังกล่าว
- แก้ไขแต่ในเนมสเปซผู้ใช้
- ผู้ใช้ที่สนใจแต่เพียงการแก้ไขในเนมสเปซของตน หรือเนมสเปซฉบับร่างโดยปราศจากเจตนาที่พัฒนาให้เป็นบทความ
สิ่งที่ไม่จัดเป็น "ไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม"
[แก้]ผู้ใช้บางรายสนใจการสร้างสารานุกรมตามหลักการของวิกิพีเดีย แต่มีความสนใจหรือขั้นตอนวิธีที่ต่างไปจากผู้ใช้อื่น ความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้ในกรณีนี้ถือว่าเกิดขึ้นจากเจตนาดีอันมุ่งหวังจะพัฒนาสารานุกรม ไม่ควรถูกเข้าใจผิดว่าเป็น "ไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม"
- สนใจหัวข้อนิยมกันในวงแคบ
- ผู้ใช้อาจแสดงความสนใจในหัวข้อที่เป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งผู้ใช้อื่นเห็นว่าเป็นเรื่องสัพเพเหระ หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ทำความเข้าใจได้ยาก การจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมจำต้องอาศัยความสนใจและความร่วมมือที่หลากหลายจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา แม้ว่าคุณจะไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับปรัชญาบางสกุลจากคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือทฤษฎีบททางฟิสิกส์ แต่ถ้าหัวข้อนั้นถูกกล่าวถึงอย่างมีนัยยะสำคัญในแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือหรือวารสารทางวิชาการ หัวข้อนั้นก็สมควรที่จะมีบทความในวิกิพีเดีย
- มุ่งเน้นที่กระบวนการบางอย่างเป็นการเฉพาะ
- ผู้ใช้หนึ่งอาจสนใจที่สร้างบทความไว้เป็นโครง, ติดป้ายเก็บกวาดให้กับบทความ, ปรับปรุงข้อแนะนำของบทความตามคู่มือการเขียน หรือแจ้งลบบทความ เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยพัฒนาวิกิพีเดียทางอ้อม กระบวนการและกิจกรรม "หลังฉาก" เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถร่วมกันแก้ไขได้ ใช่ว่าผู้ใช้ทุกคนจะต้องอยู่ "หน้าฉาก" ด้วยการสร้างบทความหรือร่างแนวปฏิบัติใหม่
- เสนอญัตติให้แก้ไขนโยบายหรือแนวปฏบัติ
- ชุมชนวิกิพีเดียเป็นสถานที่ที่มีทัศนคติหลากหลาย ผู้ใช้หนึ่งอาจเชื่อว่าบรรทัดฐานอย่างหนึ่งของชุมชนเป็นการจำกัดมากเกินไปหรือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล และดำเนินการต่าง ๆ เป็นการภายในด้วยทัศนคติดังกล่าว เช่น ให้การสนับสนุุนจุดยืนใดจุดยืนหนึ่งในการอภิปราย หากผู้ใช้กระทำเช่นว่าโดยสุจริตและเพื่อปรับปรุงสารานุกรมในเชิงสร้างสรรค์ และสันนิษฐานว่าการกระทำของผู้ใช้ไม่เป็นการทำให้เสียระบบในตัวมันเอง การอภิปรายดังกล่าวก็ถือเป็นจุดตั้งต้นของการพัฒนาในวิกิพีเดีย
- ประสบความลำบากในบรรทัดฐานว่าด้วยความประพฤติ โดยยังมีเจตนาดีอยู่
- ผู้ใช้จำนวนหนึ่งที่ประสงค์จะแก้ไขพบว่าเป็นการยากที่จะปรับตัวให้เข้ากับบรรทัดฐานว่าด้วยความประพฤติ เช่น การร่วมมือกันแก้ไข, หลีกเลี่ยงการว่าร้ายผู้อื่น, หรือกระทั่งนโยบายว่าด้วยเนื้อหา เช่น ไม่ใส่ความคิดเห็นส่วนตนลงในบทความ กรณีเช่นนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการศึกษาแนวปฏิบัติ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเข้ามีส่วนร่วมและแก้ไขเนื้อหาให้เป็นไปตามมาตรฐานของวิกิพีเดีย กรณีที่เกิดปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้น อาจมีการบล็อกเพื่อให้สงบสติพร้อมกับการตักเตือน หรือกระทั่งถูกระงับสิทธิอย่างถาวรในกรณีที่เป็นปัญหาอย่างยาวนาน ไม่ถือเป็นหลักฐานที่แสดงว่าผู้ใช้ไม่พยายามมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และบางรายอาจต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น จงพิจารณาให้ถี่ถ้วน
- แสดงความคิดเห็นที่ไม่เป็นที่นิยมในลักษณะที่ไม่ทำให้วิกิพีเดียเสียระบบ
- การเพียงแต่สนับสนุนหรือบรรลุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อบทความหรือนโยบายของวิกิพีเดียโดยมีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ถือเป็นสิ่งที่กระทำได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้ากันไม่ได้กับนโยบายหรือแนวปฏิบัติบางประการ เช่นนี้ถือว่าเป็นคนละอย่างกับการไม่ได้อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม ผู้ใช้ที่ไม่เห็นด้วยพึงระวังไม่ให้ตนกระทำละเมิดนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย เช่นการย้อนการแก้ไขโดยอ้างเหตุผลว่า "ยังไม่มีมติชุมชน" (ไม่รวมถึงกรณีที่ยังมีการอภิปรายอยู่), ไม่ยอมเข้าใจประเด็น และการประพฤติดั่งอนารยชน ระหว่างที่ดำเนินการคัดค้านข้อคิดเห็นอันไม่เป็นที่นิยม
มองพฤติกรรมในภาพรวม
[แก้]เพื่อที่จะควบคุมการแก้ไขที่ดูผิวเผินเป็นการก่อกวน ผู้ใช้บางรายอาจจำนนต่อการแก้ไขอย่างโน้มเอียง ในกรณีนี้ ผู้ใช้ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวในการวิจารณ์วิกิพีเดีย และควรปฏิบัติตามนโยบาย ผู้ใช้ไม่ควรกระทำการใด ๆ ด้วยความวู่วาม ดังเช่นการคาดเดาและเข้าหาผู้ใช้อื่นอย่างไม่เป็นมิตร ผู้ใช้ใหม่หรือผู้ใช้ที่สร้างสรรค์อาจมีข้อผิดพลาดได้เป็นบางครั้ง และพวกเขาต้องการเวลาพอสมควรเพื่อปรับความประพฤติให้เข้ากับวิถีและแนวปฏิบัติของชุมชน แม้กระทั่งผู้ใช้มากประสบการณ์ก็อาจพลาดพลั้งได้ ทุกคนต่างเคยผิดพลาดทั้งสิ้น การยอมรับว่าตนผิดพลาดถือเป็นวินัยที่ดี การนำความผิดพลาดของผู้อื่นมาเป็นแต้มสะสมหรือถ้วยรางวัลส่วนตัวถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ในบางกรณี ผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมรบกวนระบบอาจแก้ไขในทางที่ไม่สร้างสรรค์แบบเว้นระยะเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อก ในกรณีนี้ขอให้คุณกล้า โดยย้อนการแก้ไขและใส่ความย่อกำกับ สำหรับกรณีที่ซับซ้อน ให้คุณแจ้งความต่อผู้ดูแลระบบ หรือหากคุณมั่นใจ, มีวิธีระงับข้อพิพาทที่ดี และมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ก็อาจจะทำการระงับความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ที่หน้าพูดคุยของบทความ ขอให้อดทนรอผล เพราะในวิกิพีเดียไม่มีเส้นตายและเป็นโครงการที่ดำเนินอยู่ตลอดไป
การ "อยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรม" เป็นเรื่องเกี่ยวกับจุดประสงค์และพฤติกรรมการแก้ไขวิกิพีเดียโดยรวมของผู้ใช้ ในการพิจารณาว่าผู้ใช้หนึ่งอยู่ที่นี่เพื่อสร้างสารานุกรมหรือไม่ ให้ทำการตรวจสอบรูปแบบการแก้ไขและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในภาพรวม ไปจนถึงความชัดเจนของการแจ้งเตือนที่ผ่าน ๆ มา (เพิกเฉยต่อการแจ้งเตือนที่หาสาระไม่ได้) หรือคำแนะนำกับความพยายามของผู้ใช้ต่อการปรับปรุงวิกิพีเดีย
เนื้อหาอื่น ๆ
[แก้]นอกเหนือจากการเป็นสารานุกรม วิกิพีเดียถือเป็นชุมชนหนึ่ง ซึ่งชุมชนสามารถยอมรับเนื้อหาไม่เป็นสารานุกรมได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่นหน้าตลกขบขันที่ไม่ก่อให้เกิดข้อติเตียน, กล่องผู้ใช้ และการออกแบบหน้าผู้ใช้
อย่างไรก้ดี หน้าที่อยู่นอกเหนือไปจากนี้มักจะถูกลบภายใต้กระบวนการของชุมชน โดนเฉพาะกรณีที่ประจักษ์ต่อชุมชนว่าผู้เขียนหลักของหน้ามิได้อยูที่นี่เพื่อร่วมสร้างสารานุกรม ตัวอย่างเช่นหน้าเครือข่ายสังคมและการประชาสัมพันธ์ในหน้าผู้ใช้, หน้าที่มีการกล่าวร้ายถึงผู้ใช้อื่น, รายการโอดครวญที่ยาวเหยียด, การแบ่งพรรคแบ่งพวก และเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการรบกวนหรือก่อให้เกิดความแตกแยก
ดูเพิ่ม
[แก้]จุดประสงค์ของวิกิพีเดีย:
ความประพฤติในวิกิพีเดีย:
- วิกิพีเดีย:การบริหาร
- วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง
- วิกิพีเดีย:ผลประโยชน์ทับซ้อน
- วิกิพีเดีย:การระงับข้อพิพาท
- วิกิพีเดีย:การแก้ไขที่ทำให้เสียระบบ
- วิกิพีเดีย:สงครามแก้ไข
การมีส่วนร่วมของผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน:
เนื้อหาของหน้า: