วิกิพีเดีย:คำถามพบบ่อย/ผู้อ่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 วิธีใช้ >คำถามพบบ่อย >ผู้อ่าน

คำถามพบบ่อยจากผู้อ่าน


หน้าคำถามพบบ่อยนี้มีคำถามที่ผู้อ่านอาจสงสัยเกี่ยวกับวิกิพีเดีย

วิกิพีเดียคืออะไร?

วิกิพีเดียคือสารานุกรมเสรีที่ทุกคนแก้ไขได้ มีให้ใช้งานในหลายภาษาและเข้าถึงได้จากหลายอุปกรณ์ เนื้อหาในวิกิพีเดียสามารนำไปใช้ซ้ำได้ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ อ้างอิงแหล่งที่มา อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 (CC-BY-SA 3.0) และ สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู (GFDL) ยกเว้นเพียงภาพบางภาพ

ใครเขียนวิกิพีเดีย?

วิกิพีเดียถูกเขียนและแก้ไขโดยอาสาสมัครรอบโลก หากคุณสนใจเข้าร่วมเขียนด้วย ลองไปที่บทนำเข้าสู่วิกิพีเดียของเราเกี่ยวกับนโยบายและวิธีการต่าง ๆ ภายในวิกิพีเดีย

จะเข้าถึงวิกิพีเดียได้อย่างไร?

อุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ก็สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียได้แทบจะทุกกรณี มีวิธีการและอุปกรณ์ที่รองรับมากมายตามที่คุณสะดวก

วิกิพีเดียมีการเซ็นเซอร์หรือไม่?

วิกิพีเดียมีการเซ็นเซอร์เพียงจำนวนเล็กน้อย โดยปกติภาพลามกอนาจาร (โจ่งแจ้ง) โดยไม่มีเหตุอันควรจะถูกลบออก ชุมชนของผู้แก้ไขวิกิพีเดียเป็นผู้กำหนดข้อความและรูปภาพที่แสดงในบทความ ดังนั้นอาจมีเนื้อหาที่ทำให้ไม่พอใจหรือน่ารังเกียจ เช่นภาพทางการแพทย์ ภาพโป้เปลือย ภาพทางศาสนาหรือภาพที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เป็นต้น

ฉันจะสามารถค้นหาในวิกิพีเดียได้อย่างไร?

หากคุณสังเกตจะพบกล่องค้นหาที่บริเวณมุมบนขวา หากบนมือถือจะอยู่ที่แถบนำทางด้านบน พร้อมคำว่า "ค้นหา" เพียงพิมพ์สิ่งที่คุณต้องการค้นแล้วกด Enter เพื่อค้นหาได้ทันที

ฉันสามารถทำงานวิจัยโดยใช้วิกิพีเดียได้หรอไม่?

วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับการเรียนรู้และผู้วิจัย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยเป็นแหล่งข้อมูลที่ขึ้นกับแหล่งอ้างอิง ดังนั้นระมัดระวังว่าทุกอย่างบนวิกิพีเดียอาจจะไม่ถูกต้อง ไม่มีความครอบคลุม หรืออาจไม่มีความเป็นกลาง

ข้อตกลงด้านสัญญาอนุญาตของเนื้อหาบนวิกิพีเดียคืออะไร?

เนื้อหาของบทความในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี และอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ อ้างอิงแหล่งที่มา อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 (CC-BY-SA) และในกรณีส่วนใหญ่อาจอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ดูเพิ่มที่วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์

ฉันสามารถคัดลอกทั้งส่วนของบทความบนวิกิพีเดียมาที่เว็บไซต์ของฉันเองได้หรือไม่? ฉันต้องกล่าวถึงเท่าใด?

แน่นอน คุณอาจคัดลอกหรือนำไปกล่าวถึงเท่าใดก็ได้ ตราบใดที่คุณยังปฏิบัติตามสัญญาอนุญาต CC-BY-SA หรือ GFDL อย่างครบถ้วน ดูเพิ่มที่วิกิพีเดีย:ลิขสิทธิ์

หากฉันแค่ลิงก์จากข้อความบนเว็บไซต์ของฉันมายังวิกิพีเดีย ฉันจำเป็นต้องให้เว็บไซต์ของฉันเป็น GNU FDL ด้วยหรือไม่?

ไม่จำเป็น โดยปกติการลิงก์ไม่ได้เป็นการกระทำที่ควบคุมโดยลิขสิทธิ์ ดังนั้น CC-BY-SA และ GNU FDL ไม่ครอบคลุมกรณีนี้

แล้วหากฉันนำมากล่าวถึงเล็ก ๆ ล่ะ (สามสี่ประโยค)?

นี่อาจถือเป็นกรณีของการใช้งานโดยชอบธรรมแทน

แล้วหากฉันกล่าวถึงและดึงเนื้อหาทั้งบทความ?

ตรวจสอบกับนักกฎหมายของคุณ หรือเพียงให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA หรือ GNU FDL แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชาววิกิพีเดียจะพยายามถือว่าผู้อื่นสุจริตใจเสมอ ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องถึงขั้นดำเนินการทางกฎหมาย

ฉันจะอ้างอิงวิกิพีเดียในเอกสารงานอย่างไร?

คุณสามารถอ้างอิงวิกิพีเดียเฉกเช่นเดียวกับเมื่ออ้างอิงเว็บไซต์อื่น ๆ การแยกอ้างผู้ใช้ที่เขียนบทความเป็นรายบุคคลนั้นไม่จำเป็น แต่คุณควรแสดงวันที่เข้าถึงบทความเป็นอย่างน้อย (และควรให้เวลาเต็มจากหน้าประวัติ)
วิกิพีเดียยังมีเครื่องมือสำหรับสร้างข้อความอ้างอิงในหลายรูปแบบ สำหรับเครื่องมืออ้างอิง ดูที่ "พิเศษ:อ้างอิง" หรือกดที่ลิงก์ "อ้างอิงบทความนี้" ที่กล่องเครื่องทือบริเวณด้านซ้ายมือของบทความที่คุณต้องการอ้างอิง

หากฉันพบข้อผิดพลาดบนวิกิพีเดียฉันควรทำอย่างไร?

คุณสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ด้วยตัวเอง วิกิพีเดียถูกเขียนขึ้นโดยอาสาสมัครที่เชื่อว่าความรู้ควรเป็นสิ่งเสรีสำหรับทุกคน และชุมชนชาววิกิพีเดียยินดีต้อนรับอาสาสมัครใหม่เสมอ
และเนื่องด้วยวิกิพีเดียเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยอาสาสมัครล้วน ทุกคนที่แก้ไขต่างสมัครใจกัน ข้อผิดพลาดบางแห่งอาจยังไม่เคยถูกพบมาก่อนจนกระทั่งคุณ ดังนั้นคุณควรระลึกไว้เมื่ออ่านบทความว่าตามธรรมชาติแล้วคุณก็ไม่ควรเชื่อในวิกิพีเดียอย่างเต็มที่เพียงนั้น บ่อยครั้งที่ตัวบทความเองก็มีแหล่งอ้างอิงสำหรับตรวจสอบความถูกต้องในตัวของมันเอง คุณสามารถตามไปตรวจสอบได้ถึงต้นตอของสารสนเทศในหน้า
หากคุณเห็นว่ามันยังไม่ถูกต้องแต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง คุณยังสามารถเขียนปัญหาที่พบไว้ได้ที่หน้าพูดคุย โดยกดที่แท็บเขียนว่า "พูดคุย" ที่บริเวณด้านบนของหน้า แล้วกดที่ "ส่วนใหม่"

ทำไมฉันจึงเห็นโฆษณาในวิกิพีเดีย?

วิกิพีเดียได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาค และไม่ได้แสดงโฆษณาในบทความใด ๆ ของเรา หากคุณพบโฆษณา นั่นอาจมาจากฝั่งของคุณหรือแม้แต่ระหว่างทางที่เนื้อหาส่งหาคุณ บางส่วนขยายเบราว์เซอร์หรือปลั๊กอินสามารถแสดงโฆษณาเช่นนี้ได้เช่นกัน เช่น Codec-C Genieo และ InfoAtoms Codec-C จะพยายามกล่าวว่าจำเป็นต้องมีตนเพื่อเล่นวีดีโอ หรือบางครั้งคอมพิวเตอร์ของคุณอาจติดมัลแวร์ พิจารณาใช้ซอร์ฟแวร์ต้านไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อการป้องกันเพิ่มเติม ในบางกรณีที่คุณเข้าถึงวิกิพีเดียผ่านเว็บไซต์มิเรอร์ ซึ่งได้รับการโฮสต์โดยบุคคลอื่นนอกเหนือจากมูลนิธิวิกิมีเดีย อาจจะมีการเพิ่มโฆษณาหรือเนื้อหาอื่นเข้าไปด้วย คุณสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้โดยดูที่ยูอาร์แอลของหน้าปัจจุบัน หากยังไม่แน่ใจลองคัดลอกที่อยู่เว็บไซต์นี้แล้วจึงค่อยหาเนื้อหาที่น่าสนใจในนี้แทน: https://th.wikipedia.org/wiki/หน้าหลัก นอกจากนี้ยังอาจมีการแก้ไขโดยผู้ใช้ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในวิกิพีเดียและดูเหมือนโฆษณาหรือแม้แต่อ้างว่าเป็นโฆษณา และการแก้ไขเช่นนี้ถือเป็นการละเมิดนโยบายของเราและไม่ใช่การซื้อพื้นที่โฆษณาแต่อย่างใด