วากูวากุ 7
วากูวากุ 7 | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ซันซอฟต์ |
ผู้จัดจำหน่าย | เอสเอ็นเค ดีโฟร์เอนเทอร์ไพรซ์ (เวอร์ชวลคอนโซล) แฮมสเตอร์คอร์ปอเรชัน (เพลย์สเตชัน 4/นินเท็นโด สวิตช์/เอกซ์บอกซ์วัน) |
กำกับ | ยูอิจิ อูเอดะ |
ออกแบบ | อัตสึกิ มัตสึอิ คาซูฮิโตะ เทราดะ โคกิ คิตะ |
โปรแกรมเมอร์ | ชิเงตากะ อินาบะ |
แต่งเพลง | มิซาโตะ อาไรกาวะ |
เครื่องเล่น | |
วางจำหน่าย | |
แนว | ต่อสู้ |
รูปแบบ | |
ระบบอาร์เคด | นีโอจีโอ เอ็มวีเอส |
วากูวากุ 7[a] (ญี่ปุ่น: わくわく7; อักษรโรมัน: Waku Waku 7) เป็นเกมต่อสู้ 2 มิติ ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทซันซอฟต์ โดยเริ่มแรกเป็นเกมอาร์เคดสำหรับระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส ใน ค.ศ. 1996 ทั่วโลก
ส่วนพอร์ตสำหรับนินเท็นโด สวิตช์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลกชันอาร์เคดอาร์ไควส์ จากแฮมสเตอร์คอร์ปอเรชันที่เป็นบริษัทวิดีโอเกมญี่ปุ่นนั้น ได้รับการเผยแพร่ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017[1] รวมถึงหนึ่งปีต่อมาพอร์ตเดียวกันนี้ได้เปิดตัวในเอกซ์บอกซ์วัน และเพลย์สเตชัน 4[2]
รูปแบบการเล่น
[แก้]วากูวากุ 7 มีคุณสมบัติที่อยู่นอกเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับเกมต่อสู้ในยุคนั้น และมีคุณสมบัติทั่วไปในเกมต่อสู้ของบริษัทเอสเอ็นเค (เช่น การโจมตีพื้นฐานสี่แบบและการซูมหน้าจอ)
เกมดังกล่าวมีบัญชีรายชื่อตัวละครเก้าตัว (สองตัวมีเฉพาะในโหมดเวอร์ซัสของพอร์ตคอนโซลเท่านั้น) โดยแต่ละตัวละครมีสไตล์การเล่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และล้อเลียนตัวละครที่เป็นที่รู้จักจากเกมอื่น ตัวละครแต่ละตัวมีท่าไม้ตายอันทรงพลัง (เรียกว่าท่าฮาราฮารา หรือการเคลื่อนไหวฮาราฮารา) สิ่งเหล่านี้มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้พวกเขามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงความต้องการที่จะชาร์จ (ในระหว่างที่ตัวละครมีสมาธิ, พูดอะไรบางอย่าง, โพสต์ท่า หรือเป่าประโคม) และการไม่สามารถขัดขวางรวมถึงหลบได้ยาก แต่สามารถถูกขัดจังหวะขณะชาร์จได้ โดยขณะชาร์จ เกมจะกะพริบคำเตือนและส่งเสียงเตือน นอกจากนี้ บรรดาตัวละครสามารถเริ่มดำเนินการผ่านหน้าจอเพื่อโจมตีอีกมุมหนึ่ง และถูกโจมตีซ้ำขณะนอนอยู่บนพื้น แต่ยังสามารถหลบหรือโจมตีในขณะที่ลุกขึ้นได้
โครงเรื่อง
[แก้]"ว่ากันว่าผู้ที่รวบรวมลูกแก้ววากูวากุในตำนานทั้งเจ็ดลูกจะได้รับความปรารถนาอันสุดซึ้งเป็นจริง ผู้ที่พบลูกแก้วลูกหนึ่งจะหมกมุ่นอยู่กับความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้อีกลูก ซึ่งจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้อันขมขื่นเพื่อเป็นเจ้าของลูกแก้วทั้งหมด ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ - ทุกอย่างอยู่ในมือคุณ"
ตัวละคร
[แก้]- ไร บากูโอ เป็นเด็กชายอายุ 13 ปีผู้อวดดีที่ไล่ตามบรรดาลูกแก้ววากูวากุเพื่อบรรลุความฝันในการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าเดิม เขาฝึกเทคนิคบีเอ็มเอ็กซ์และมีความสามารถในการกระโดดที่ยอดเยี่ยม (รวมถึงการกระโดดสองจังหวะ) เขาเป็นตัวละครล้อเลียนจุย เฉวียนฉง จากเกมเดอะคิงออฟไฟเทอส์กับไซโคโซลเจอร์ และท่าไม้ตายส่วนใหญ่ของเขานั้นคล้ายคลึงกับท่ารอดดีจากเกมทอปฮันเตอร์ รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงพลังไฟฟ้าแห่งความมืดบางอย่าง
- อารินะ มากิฮาระ เป็นเด็กหญิงอายุ 14 ปีที่มีหูกระต่าย สวมชุดยูนิทาร์ดและเสื้อแจ็กเกตแขนสั้น เธอไล่ตามบรรดาลูกแก้ววากูวากุเพื่อบรรลุความฝันที่จะมีความรักดี ๆ ว่ากันว่าเธอได้เรียนรู้ที่จะต่อสู้ในชั้นเรียนภาคบังคับนอกหลักสูตรในไฮสกูล และมักพบเพื่อน ๆ และน้องชายของเธอซึ่งเหมือนกับเธอ โดยล้อเลียนตัวละครครึ่งสัตว์/ครึ่งมนุษย์ทั่วไปจากมังงะโชโจะและอนิเมะหลายเรื่อง
- แดนดี-เจ เป็นนักล่าสมบัติที่ได้รับการว่าจ้างให้ไล่ตามลูกแก้ววากูวากุ แม้ว่าจะไม่มีความปรารถนาที่จะขอพรเป็นพิเศษก็ตาม และมาพร้อมกับนัตสึมิ ฮาซามะ ลูกสาวของเพื่อน ตลอดจนแมวเลี้ยงที่ชื่อ "แรมพู" (บางครั้งเรียกในชื่อแรมพ์ หรือรัมพ์) ในภารกิจของเขา ซึ่งแดนดี-เจ ใช้แส้ในการต่อสู้ โดยที่บางครั้งนัตสึมิและแรมพูก็โจมตีคู่ต่อสู้เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ เขาเป็นตัวละครล้อเลียนทั้งตัวละครเอกตามชื่อเรื่องในซีรีส์อินเดียน่า โจนส์ และโจเซฟ โจสตาร์ จากโจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ
- มาอูรุ (รู้จักกันในชื่อมารูรันในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น)[3] เป็นสัตว์ประหลาดในป่าสีม่วงที่ล้อเลียนโทโทโร่ มันแบกเด็กหญิงตัวเล็ก ๆ ที่หลงทางชื่อมูงิ โรกูโจ ซึ่งสัตว์ประหลาดตัวนี้ชอบผลไม้และร้องเพลง[4] ส่วนรูปแบบการเล่นของมาอูรุนั้นคล้ายกับตัวละครที่ชื่อแซสแควตช์ในเกมดาร์กสตอล์กเกอส์ โดยมีการเคลื่อนไหวหลายท่าที่เลียนแบบแทบจะท่าต่อท่า
- โพลิแทงก์-ซี เป็นหุ่นยนต์รถถังของกรมตำรวจ ซึ่งเป็นการล้อเลียนรถถังตำรวจจากโดมิเนียน มันถูกขับโดยหัวหน้าและช่างเครื่องซึ่งเป็นสุนัขคู่ใจของเขา อนึ่ง โพลิแทงก์นี้มีขนาดใหญ่และช้า ทำให้ถูกโจมตีได้ง่าย แต่สามารถสร้างความเสียหายได้มาก
- สแลช เป็นเอลฟ์ที่สงบและสุขุม มีผมสีเขียวอ่อนและเสื้อกันฝนแบบทหารสีน้ำเงินที่ต่อสู้ด้วยดาบเลเซอร์ เขาไม่มีความประสงค์จะขอพรเป็นพิเศษเมื่อเขาได้รับลูกแก้ววากูวากุ แม้ว่าในตอนจบของเขาเขาจะบอกว่ามันเป็นโชคชะตาของเขาเองที่จะถอนคำสาปออกจากดาบของเขา ทั้งนี้ เขาเป็นตัวละครล้อเลียนบรรดาพระเอกที่ใช้ดาบตามแบบฉบับในมังงะและอนิเมะบางเรื่อง
- เตสเซ เป็นหุ่นยนต์ตัวที่เจ็ดที่สร้างโดย ดร. ลอมโบรโซ ซึ่งสร้างเตสเซให้เป็นหุ่นยนต์สาวใช้ (ทำอาหารและดูแลบ้านให้สะอาด) เธอแสวงหาลูกแก้ววากูวากุไม่เพียงแต่เพื่อรักษาความเจ็บป่วยของ ดร. ลอมโบรโซ เท่านั้น แต่ยังเพื่อบรรลุความฝันในการเป็นมนุษย์อีกด้วย ทั้งนี้ เธอต่อสู้โดยใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดหลายประเภท, โจมตีด้วยไฟฟ้า และกระบอกฉีดยา ซึ่งเธออาจจะเป็นตัวละครล้อเลียนเรื่องเจ้าหนูปรมาณูและร้านอาหารคอสเพลย์
ตัวละครที่เลือกได้เฉพาะในโหมดปะทะ:
- โบนัสคุง เป็นกระสอบทรายที่มีชีวิตซึ่งมีรูปลักษณ์, แรงจูงใจ และการโจมตีเหน็บแนมริวจากแฟรนไชส์สตรีทไฟเตอร์ของบริษัทแคปคอมโดยตรง ต้นกำเนิดของเขาอยู่ในเกมกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์ เขาเป็นกระสอบทรายของรูว์ จนกระทั่งมันมีชีวิตและได้รับการฝึกจากเขา และเนื่องจากขาดแขนขา เขาจึงไม่สามารถหมอบหรือคว้าตัวคู่ต่อสู้ได้ ส่วนในวากูวากุ 7 เขามีท่ามากกว่าในกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์
- มาไกไตเต เฟอร์นันเดซ (หรือที่รู้จักในชื่อเฟอร์นันเดธในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น)[3] เป็นจักรพรรดิแห่งโลกปีศาจ มีรูปร่างทรงกลมสีดำที่มีแขน, ขา และปีกที่ม่อต้อ มันมีรอยยิ้มกว้าง และเสียงที่ถูกทำให้เบาลงอย่างน่ารำคาญ เฟอร์นันเดซเป็นบอสตัวสุดท้ายของเกม และสูงเท่ากับตึกระฟ้า ด้วยวิธีการเวทมนตร์ที่หลากหลาย ตัวละครอื่น ๆ จะถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถต่อสู้กับมันได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงสื่อประเภทไคจู
การพัฒนา
[แก้]เกมนี้เป็นเกมต่อสู้เกมที่สามของบริษัทซันซอฟต์ ต่อจากซูโกยเฮเบเรเกะ ซึ่งเป็นเกมซูเปอร์แฟมิคอมที่แยกออกมาจากซีรีส์เฮเบเรเกะใน ค.ศ. 1994 กับกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์ ใน ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นเกมต่อสู้ 2 มิติเกมแรกของพวกเขา และแม้ว่าตัวเลขในชื่อเกมและสื่อประเภทอื่น ๆ จะถูกใช้เพื่อบอกว่าเป็นภาคต่อหรือไม่ แต่จริง ๆ แล้วชื่อเกมนี้หมายถึงตัวละครที่สามารถเล่นได้เจ็ดตัวในบัญชีรายชื่อ ส่วนคำว่า "วากูวากุ" เป็นสัทพจน์ภาษาญี่ปุ่นที่เป็นเสียงตื่นเต้น โดยสองปีต่อมา บริษัทซันซอฟต์ได้ทำงานร่วมกับบริษัทเล็ก ๆ ที่ชื่อซานตาคลอส ในการผลิตเกมต่อสู้ทางอากาศอย่างแอสเทรซูเปอร์สตาส์ใน ค.ศ. 1998 สำหรับระบบอาร์เคดเซกา เอสที-วี
การเผยแพร่ภายในครัวเรือน
[แก้]ต่อมา วากูวากุ 7 ได้รับการย้ายสู่เครื่องเล่นภายในครัวเรือนอย่างนีโอจีโอ เออีเอส ซึ่งมีการตั้งค่าความยากที่เข้าถึงได้ง่ายและเครดิตที่จำกัด
ส่วนเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี อยู่ระหว่างการพัฒนา ทว่าถูกยกเลิกเนื่องจากนีโอจีโอ ซีดี ล้มเหลวในตลาด และเวอร์ชันนี้ได้ย้ายไปยังเซกา แซตเทิร์น แทนในภายหลัง แต่มีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น โดยต้องใช้ตลับส่วนขยายแรมขนาด 1 เมกะไบต์ ของเซกา แซตเทิร์น[3]
ใน ค.ศ. 2008 เวอร์ชันนีโอจีโอดั้งเดิมได้รวมอยู่ในเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี ของเกมต่อสู้อื่นของบริษัทซันซอฟต์ ซึ่งคือกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์ ในวอลยุม 11 ของซีรีส์นีโอจีโอออนไลน์คอลเลกชันสำหรับเพลย์สเตชัน 2 ในชื่อซันซอฟต์คอลเลกชัน (サンソフトコレクション) ในขณะที่ซาวด์แทร็กนีโอจีโอ ซีดี ของกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์ ได้รับการเพิ่มเข้ามาในเวอร์ชันนี้ ซาวด์แทร็กของวากูวากุ 7 นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี ที่ยังไม่ได้เผยแพร่ซึ่งถูกย้ายไปยังเซกา แซตเทิร์น ในภายหลัง อนึ่ง บริษัทเอสเอ็นเคไม่สามารถเพิ่มซาวด์แทร็กเวอร์ชันนีโอจีโอ ซีดี / เซกา แซตเทิร์น เนื่องจากปัญหาด้านลิขสิทธิ์
ส่วนเวอร์ชันเครื่องเล่นภายในครัวเรือนอย่างนีโอจีโอ เออีเอส ได้รับการย้ายไปยังเวอร์ชวลคอนโซลของระบบวีในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2010[5]
ตัวละครที่เป็นดารารับเชิญ
[แก้]- อารินะในวากูวากุ 7 ได้ปรากฏตัวในเกมมือถืออย่างชังไฮมูซูเมะ: มาจังเกิลส์ เมื่อ ค.ศ. 2011 ที่ประเทศญี่ปุ่น
ซาวด์แทร็ก
[แก้]วากูวากุ 7 | |
---|---|
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย มาซาโตะ อาราอิกาวะ | |
วางตลาด | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1996 |
บันทึกเสียง | ไม่ทราบ |
แนวเพลง | ซาวด์แทร็กวิดีโอเกม |
ความยาว | 55:04 นาที |
ค่ายเพลง | โพนีแคนยอน ไซทรอนเลเบล |
อัลบัมซาวด์แทร็กของเวอร์ชันนีโอจีโอวางจำหน่ายโดยบริษัทโพนีแคนยอนและไซทรอนเลเบลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1996 เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นภายใต้หมายเลขแคตตาล็อกพีซีซีบี-00215 ซึ่งประกอบด้วยเพลงประกอบเกือบทุกเพลง รวมถึงเอฟเฟกต์เสียงและตัวอย่างเสียงจากเวอร์ชันอาร์เคด ที่แต่งและปรับแต่งบทเพลงใหม่โดยมาซาโตะ อาราอิกาวะ
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
วากูวากุ 7 ได้รับการตอบรับเชิงบวกจากนักวิจารณ์นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในระบบอาร์เคดและแพลตฟอร์มอื่น ๆ[15][18] ไคล์ ไนต์ จากออลเกมได้เขียนบทวิจารณ์เวอร์ชันเออีเอส โดยถือว่าการนำเสนอแบบกราฟิกเป็นหนึ่งในเวอร์ชันที่ดีที่สุดในนีโอจีโอ โดยยกย่องการออกแบบเสียง, ระบบการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ และรายการตัวละคร แต่ติเตียนการใช้กลไกเกจพลัง[7] ส่วนการแปลงของระบบเซกา แซตเทิร์น ได้รับการตอบรับจากเหล่านักวิจารณ์ที่หลากหลายมากกว่า ว่าเป็นการแปลงเกมอาร์เคดต้นฉบับอย่างตรงไปตรงมา[8][9][17][19] อย่างไรก็ตาม การตอบรับของแฟน ๆ ก็เป็นไปในเชิงบวก ผู้อ่านเซกาแซตเทิร์นแมกกาซีนของญี่ปุ่นโหวตให้พอร์ตแซตเทิร์นด้วยคะแนน 7.4692 จาก 10 คะแนน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 527 ข้างใต้เกมกาแล็กซีไฟต์: ยูนิเวอร์แซลวอริเออส์ ซึ่งบ่งบอกถึงความนิยมเป็นอันดับต่อมา[20]
ส่วนการเปิดตัวใหม่ของนินเท็นโด สวิตช์ ได้รับการตอบรับเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่จากบรรดานักวิจารณ์หวนรำลึก[12][13][14][16] โดยเวอร์ชันสวิตช์ครอง 76.25 เปอร์เซ็นต์ของตัวรวบรวมบทวิจารณ์วิดีโอเกมในเว็บไซต์เกมแรงกิงส์[6] ส่วนเดเมียน แมกเฟอร์แรน จากเว็บไซต์นินเท็นโดไลฟ์ยกย่องการนำเสนอภาพและเสียงสไตล์การ์ตูน, จังหวะที่บ้าคลั่ง ตลอดจนรายการตัวละครที่หลากหลาย[10] แซคารี มิลเลอร์ จากนินเท็นโดเวิลด์รีพอร์ตได้ระบุถึงรายการตัวละครที่หลากหลายและมหัศจรรย์ แต่ติเตียนการเปิดตัวเวอร์ชันสวิตช์ครั้งแรกสำหรับชุดสีที่ "ถูกล้างออกไป"[11]
ใน ค.ศ. 2012 เอลตัน โจนส์ จากนิตยสารคอมเพลกซ์ได้จัดอันดับ "นักสู้ที่ถูกประเมินต่ำเกินไปและแทบไม่มีใครรู้จัก" นี้ในฐานะเกมต่อสู้จากบริษัทเอสเอ็นเคที่ดีที่สุดอันดับ 12 เท่าที่เคยสร้างมา โดยให้ความเห็นว่า "วากูวากุ 7 เป็นการเดินทาง การเลือกตัวละครส่วนใหญ่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายสีสันสดใสและการล้อเลียนบรรดาตัวละครเกมต่อสู้ยอดนิยม มาอูรุเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกประหลาดที่สุดในบัญชีรายชื่อ (เขาเป็นหนึ่งในตัวละครที่สนุกที่สุดที่ได้เล่น) เราชื่นชมเกมนี้ที่มีรูปแบบการเล่นที่อัดแน่น, สุดยอดกราฟิกที่ชื่นบาน และสุดยอดท่าไม้ตายที่ตลกขบขัน อย่ารีรอ สั่งมาเล่นเถอะ สนุกแน่"[21] ในปีเดียวกันนั้นเอง ลูคัส ซัลลิแวน จากเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ได้รวม "นักสู้นีโอจีโอที่ร่าเริงและมีสีสันนี้" ไว้ในเกมต่อสู้คลาสสิกที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักที่สมควรได้รับการสร้างใหม่แบบความละเอียดสูง โดยระบุเพิ่มเติมว่า แม้ว่าบัญชีรายชื่อที่น่าตลกจะมีนักสู้ที่แข็งแกร่งเพียงเจ็ดคน (ไม่รวมตัวละครลับที่น่าหัวเราะ เช่น กระสอบทรายที่มีความรู้สึก) แต่บริษัทซันซอฟต์ได้สร้างนักสู้ที่สนุกสนาน ซึ่งให้ซูเปอร์มิเตอร์และท่าพิเศษชวนมองแก่คุณได้บ่อยพอ ๆ กับเกมซีรีส์มาร์เวลเวอร์ซัสในยุคปัจจุบัน"[22]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ わくわく7 วากูวากุเซบุง, การแปลตรงตัว "ผู้น่าตื่นเต้นทั้ง 7"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Aca Neogeo Waku Waku 7". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 2017-03-06.
- ↑ "Bizarre '90s fighter Waku Waku 7 comes to PS4 and Xbox One today". 23 March 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 26 March 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Big in Japan: Waku Waku 7". Sega Saturn Magazine. No. 23. Emap International Limited. September 1997. pp. 56–57. สืบค้นเมื่อ November 4, 2019.
- ↑ "Untitled Normal Page". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-23.
- ↑ "Japanese Wii Virtual Console Line-Up". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-12. สืบค้นเมื่อ 2016-07-24.
- ↑ 6.0 6.1 "ACA NeoGeo: Waku Waku 7 for Nintendo Switch". GameRankings. CBS Interactive. 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 7.0 7.1 Knight, Kyle (1998). "Waku Waku 7 [Japanese] (Neo Geo Advanced Entertainment System) - Review". AllGame. All Media Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 8.0 8.1 "NEW GAME CROSS REVIEW: わくわく7 (セガサターン)" (PDF). Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 445. ASCII Corporation. June 27, 1997. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2020. สืบค้นเมื่อ July 26, 2020.
- ↑ 9.0 9.1 Szriftgiser, Gregory (July–August 1997). "Japon Zoom - Waku Waku Seven - Saturn". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 66. Yellow Media. pp. 102–103.
- ↑ 10.0 10.1 McFerran, Damien (March 24, 2017). "Waku Waku 7 Review (Switch eShop / Neo Geo) - Seventh heaven". Nintendo Life. Nlife Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 11.0 11.1 Miller, Zachary (March 11, 2017). "Waku Waku 7 (Switch eShop) Review Mini". Nintendo World Report. NINWR, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 12.0 12.1 Pritchard, Liam (March 23, 2017). "ACA NEOGEO WAKU WAKU 7 Review". bonusstage.co.uk. Bonus Stage. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 13.0 13.1 Barry, Tomas (March 26, 2017). "ACA NeoGeo: Waku Waku 7 (Nintendo Switch) Review". Cubed3. Cubed3 Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 14.0 14.1 L., Harvard (April 6, 2017). "Short & Sweet Reviews: Nintendo Switch Neo Geo Edition". Digitally Downloaded. Digitally Downloaded Media Australia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 15.0 15.1 "NF編集部にまる - ネオジオゲームㇱインレビュー: わくわく7". Neo Geo Freak (ภาษาญี่ปุ่น). No. 25. Geibunsha. June 1997. pp. 124–128.
- ↑ 16.0 16.1 Paxton, Matt (June 8, 2017). "Review: ACA NEOGEO Waku Waku 7 (Nintendo Switch)". Pure Nintendo Magazine. Pure Media, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ 17.0 17.1 "Sega Saturn Soft Review - わくわく7". Sega Saturn Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 57. SoftBank Creative. June 27, 1997. p. 154. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2020. สืบค้นเมื่อ July 26, 2020.
- ↑ "Feature: AM Show - JAMMA — Sun Soft - Waku Waku 7". Computer and Video Games. No. 181. EMAP. December 1996. p. 57.
- ↑ Fernandez, Lázaro (September 1997). "Made in Japan - Waku Waku Seven (Sega Saturn)". Japanmania (ภาษาสเปน). No. 17. Grupo Zeta. p. 20.
- ↑ Dreamcast Magazine (March 2000). セガサターン (Sega Saturn Magazine): 読者レース Final (PDF). サターンのゲームは世界いちぃぃぃ! ~サタマガ読者レース全記録~ (ภาษาญี่ปุ่น). SoftBank Publishing. pp. 8–15. ISBN 978-4-79731173-0. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-30. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18.
- ↑ Jones, Elton (September 18, 2012). "The 25 Best SNK Fighting Games Ever Made: 12. Waku Waku 7". Complex. Complex Networks. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-27. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
- ↑ Sullivan, Lucas (October 20, 2012). "29 obscure fighters that deserve HD remakes". GamesRadar+. Future US. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2020-07-26.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2539
- วิดีโอเกมอาร์เคด
- วิดีโอเกมต่อสู้
- เกมสำหรับนีโอจีโอ
- เกมสำหรับนีโอจีโอ ซีดี
- เกมสำหรับนินเท็นโดสวิตช์
- เกมสำหรับเพลย์สเตชัน เน็ตเวิร์ก
- เกมสำหรับเซกา แซตเทิร์น
- เกมจากค่ายซันซอฟต์
- เกมจากค่ายเอสเอ็นเค
- เกมจากค่ายเอสเอ็นเค เพลย์มอร์
- วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น
- เกมสำหรับวินโดวส์
- เกมสำหรับเอกซ์บอกซ์วัน