วัดไชนาวาส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไชนาวาส
แผนที่
ชื่อสามัญวัดไชนาวาส, วัดชายนา
ที่ตั้งตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธไชยมงคล
เจ้าอาวาสพระครูสุนาถธรรมคุณ (จูรญ รุจิธฺมโม)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไชนาวาส เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ดินทั้งวัดมีเนื้อที่ 33 ไร่ 88 ตารางวา

วัดไชนาวาส เดิมชื่อ วัดชายนา[1] ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 1890 จากนั้นกลายเป็นวัดร้างเป็นระยะเวลานาน จนประมาณ พ.ศ. 2394 มีพระภิกษุพูนได้เข้ามาจำพรรษาในวัดนี้และได้บูรณะวัดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยเริ่มจากการสร้างกุฏิสงฆ์ และอุโบสถที่ยังมีพระประธานองค์เดิมอยู่ จนในสมัยพระครูสมณการพิสิฐ (หลวงพ่อท้วม) เป็นเจ้าอาวาส ราว พ.ศ. 2456 มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ทั้งยังสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมา ยังได้รับบริจาคที่ดิน จำนวน 2 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา เมื่อ พ.ศ. 2490 ได้รับบริจาคที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 17 ไร 84 ตารางวา เมื่อ พ.ศ. 2491 ได้รับบริจาคที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 4 ไร่ 2 งาน เมื่อ พ.ศ. 2492 ได้รับบริจาคที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 ไร่ 1 งาน เมื่อ พ.ศ. 2504

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถ กว้าง 10 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2467 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพระพุทธประวัติ กุฏิสงฆ์ จำนวน 14 หลัง เป็นอาคารไม้ 10 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 4 หลัง วิหาร กว้าง 7 เมตร ยาว 11 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2468 ภายในประดิษฐาน พระพุทธไชยมงคล (หลวงพ่อโต) ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 เป็นอาคารไม้สักทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง 14 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นอาคารไม้สักทรงไทย และมีมณฑปประดิษฐานรูปหล่อเหมือนพระครูสมณการพิสิฐ (หลวงพ่อท้วม) ที่ชาวบ้านนับถือกันมาก ท่านได้สร้างวัตถุมงคลเป็นที่นิยมในหมู่ของนักสะสม บริเวณด้านหน้าวัดมีศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช[2]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระพูน
  • พระโพ
  • ครูโพภิรัต (พระสอน)
  • พระครูสมณการพิสิฐ (พระท้วม)
  • พระผ่อน ญญกาโย
  • พระต่วน (รักษาการเจ้าอาวาส)
  • พระภัทรมุนี (ผล ภททิโย)
  • พระครูสุนาถธรรมคุณ (จูรญ รุจิธฺมโม)

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดไชนาวาส". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "วัดไชนาวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.