วัดเดิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเดิม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเดิม, วัดเจ้าพิมาย
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเดิม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

วัดเดิมตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2000 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2478[1] เดิมอาณาบริเวณวัดมีพื้นที่อยู่ในเขตปราสาทหินพิมาย สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก กรมหมื่นเทพพิพิธ พระโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มาตั้งก๊กขึ้น เรียกว่า ก๊กพิมาย ได้เรียกชื่อวัดว่า วัดเจ้าพิมาย จากภาพเก่าสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ พบโบสถ์เจ้าพิมาย[2] เข้าใจว่าน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลากรมหมื่นเทพพิพิธมาตั้งก๊กที่นี่ ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว[3] ด้านการศึกษาภายในวัดมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 11

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อวิมาย (อ่านว่า วิมายะ) พระพุทธรูปหลวงพ่อดำ และหลวงพ่อแดง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ทั้ง 3 องค์ เป็นพระประธานในอุโบสถหลังเก่า[4]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระครูศีลวิสุทธิพรต (ทุย) พ.ศ. 2470–2489
  • พระมหาเชย พ.ศ. 2489–2495
  • พระครูศีลวิสุทธิพรต (แก้ว) พ.ศ. 2495–2499
  • พระอิ่ม
  • พระครูศีลวิสุทธิพรต (เกิด) พ.ศ. 2502–2513
  • พระชิต ชิตมาโร รักษาการ พ.ศ. 2514–2515
  • พระครูวิสุทธิพรตธำรง (เขียว สนฺตจิตฺโต) พ.ศ. 2515
  • พระมหาเต็มใจ ภูริเมธี พ.ศ. 2539
  • หลวงพ่อ ดร.พระโพธิวรญาณ (หลวงพ่อเขียว) –2559

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดเดิม". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. "เปิดเส้นทางชีวิต "กรมหมื่นเทพพิพิธ" เจ้านายนักการเมืองสไตล์ ไม่ชนะ ไม่ตาย ไม่เลิก!". ศิลปวัฒนธรรม.
  3. "พิมาย จากศูนย์กลางพุทธมหายานสู่เจ้าชุมนุมรัฐอิสระ". อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย.
  4. "วัดเดิม". งานสารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.