ข้ามไปเนื้อหา

วัดเจดีย์สี่ห้อง

พิกัด: 16°59′50.9″N 99°42′30.5″E / 16.997472°N 99.708472°E / 16.997472; 99.708472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเจดีย์สี่ห้อง
เจดีย์ทรงระฆังภายในวัดเจดีย์สี่ห้อง
แผนที่
ที่ตั้งทางตอนใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, ประเทศไทย
พิกัด16°59′50.9″N 99°42′30.5″E / 16.997472°N 99.708472°E / 16.997472; 99.708472
ประเภทโบราณสถาน
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ความเป็นมา
วัสดุอิฐ
สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20
สมัยสุโขทัยตอนปลาย
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมลังกา
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดเจดีย์สี่ห้อง
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในจังหวัดสุโขทัย
เลขอ้างอิง0004054

วัดเจดีย์สี่ห้อง เป็นโบราณสถานทางตอนใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย คาดว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20

ลักษณะทางกายภาพ

[แก้]
อุโบสถของวัดเจดีย์สี่ห้อง

โบราณสถานล้อมรอบด้วยคูน้ำ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า "วัดเจดีย์สี่ห้องที่อยู่ห่างจากวัดเชตุพนไปทางทิศตะวันออก 2 เส้น (80 เมตร) นั้น อาจเป็นวัดเดียวกัน เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันและวัดเชตุพนไม่ปรากฏซากวิหารหรืออุโบสถ และวัดเจดีย์สี่ห้องอาจเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวัดเชตุพนที่หมดความสำคัญลงแล้ว"[1]

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ให้ข้อคิดเห็นว่า "วัดเจดีย์สี่ห้องเป็นคนละวัดกับวัดเชตุพนที่อยู่ติดกัน เนื่องจากทั้งวัดเชตุพนและวัดเจดีย์สี่ห้องต่างก็มีคูน้ำล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของวัดสมัยสุโขทัยที่จะมีคูน้ำล้อมรอบเป็นขอบเขต ส่วนอุโบสถที่ตั้งยู่ทางทิศตะวันออกนั้นมีคูน้ำล้อมรอบต่างหาก อาจเป็นอุโบสถที่ใช้ร่วมกันระหว่างวัดเชตุพนกับวัดเจดีย์สี่ห้อง หรืออาจเป็นอุโบสถของวัดอื่นอีกวัดหนึ่งก็ได้ เพราะบริเวณรอบอุโบสถหลังนี้ถูกรบกวนโดยการปรับหน้าดินจากการทำเกษตรกรรมแล้ว"[2]: 43–44 

เจดีย์

[แก้]

เจดีย์ประธาน เป็นทรงระฆังกลมส่วนยอดของเจดีย์ได้พังทลายลง คงปรากฏส่วนปล้องไฉนตกอยู่ที่ฐานเจดีย์

ฐานเจดีย์ประธานมีภาพปูนปั้นประดับอยู่โดยรอบ ปั้นเป็นรูปบุคคล รูปบุรุษและสตรี สวมอาภรณ์และเครื่องประดับต่าง ๆ กัน ในมือถือภาชนะมีพันธุ์พฤกษางอกโผล่พ้นออกมาแสดงถึงความเจริญงอกงามและความอุดมสมบูรณ์ ภาชนะนี้เรียกว่า หม้อปูรณฆฏะ[3]: 28 

รูปบุคคลที่กล่าวถึงนี้หากพิจารณาบริเวณศีรษะจะสังเกตเห็นร่องรอยนาคหลายเศียรแผ่พังพานอยู่ด้านหลัง จึงแปลความหมายได้ว่า คือ มนุษยนาค ซึ่งถือว่าเป็นเทพอยู่ในโลกบาดาลตามแบบอย่างคติที่นิยมในลังกา นอกจากนี้ ยังมีปูนปั้นรูปช้างและสิงห์ประดับอยู่ด้วย[4] และมีพบที่สุทัยชัดเจนเพียงแห่งเดียว การประดับมนุษยนาคสลับกับการสิงห์ขี่ช้างแสดงให้เห็นถึงรูปแบบและคติการสร้างที่เป็นแบบพื้นบ้านแล้ว ดังนั้นวัดนี้จึงน่าจะอยู่ในสมัยสุโขทัยตอนปลาย

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำรวจ. พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว. 2520
  2. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศึกษาวิจัยศิลปะสุโขทัยจากหลักฐานโบราณคดีจารึกและศิลปกรรม. 2547.
  3. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. 2546.
  4. ภาพถ่ายเก่า “ปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ประธานวัดเจดีย์สี่ห้อง” อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. ศิสปวัฒนธรรม. 2561.