วัดสำปะซิว
วัดสำปะซิว | |
---|---|
ไฟล์:โดราเอม่อนที่วัดสำปะซิว.jpg ภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งมีตัวการ์ตูนแฝงอยู่ | |
ชื่อสามัญ | วัดสำปะซิว |
ที่ตั้ง | ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี |
เจ้าอาวาส | พระอุดมวชิรโมลี (อนันต์ กุสลาลังกาโร) |
ความพิเศษ | ภาพการ์ตูนบนจิตรกรรมฝาผนัง |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดสำปะซิว (คาตากานะ: ワット・サンパシウ; อักษรโรมัน: Wat Sampa Siw) ตั้งอยู่ที่ตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่รู้จักในฐานะวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนถึงตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง โดราเอม่อน ปรากฏขึ้นที่อุโบสถวัด[1] เช่น โดเรม่อนตกกระทะทองแดง, โดเรม่อนเฝ้าพระพุทธเจ้า, โดเรม่อนเล่นน้ำ และโนบิตะตกนรก[1] ซึ่งสร้างสรรค์ภาพขึ้นโดยรักเกียรติ เลิศจิตรสกุล โดยมีภาพตัวละครดังกล่าวที่เขียนขึ้นที่วัดแถวธาร ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เขียนภาพโดยศิลปินคนเดียวกัน[2] ซึ่งทีมงานถ่ายทำสารคดีจากประเทศญี่ปุ่นได้เดินทางมาถ่ายทำเรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ในเวลาต่อมา[2]
ทั้งนี้ พระมหาอนันต์ กุสลาลงกาโร[3] ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่ทราบในภายหลังก็เข้าใจว่าผู้วาดมีเจตนาดี ด้วยการสอดแทรกหลักธรรมะ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับเด็กที่มาเยี่ยมชม[4] ทาง วิศรุต อินแย้ม ซึ่งเป็นผู้อำนวยการการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรี เข้าใจว่าผู้สร้างสรรค์คงมีกุศโลบายสร้างปริศนาธรรมเพื่อสอดแทรกหลักธรรมะด้านการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว[1] โดยภาพดังกล่าวสร้างความน่าสนใจต่อผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก[5]
ประวัติ
[แก้]จากบันทึกประวัติศาสตร์ และจากการเล่าขานสืบต่อกันมา ระบุว่า เดิมเป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1857 ในสมัยอยุธยาตอนต้น ด้วยพื้นที่ราว 20 ไร่ จากนั้น ใน พ.ศ. 1860 วัดแห่งนี้ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา[3] วัดแห่งนี้ได้รับการบันทึกและเล่าสืบต่อกันมาว่าเคยเป็นวัดร้าง ต่อมา กองทัพแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาพัก ณ ที่แห่งนี้เพื่อตรวจบัญชีว่าคงเหลือทหารเหลืออยู่ในกองทัพอยู่เป็นจำนวนกี่นาย โดยในสมัยนั้นเรียกว่า สางบัญชี[3] และในภายหลัง จึงได้มีการบูรณะวัดแห่งนี้ขึ้นพร้อมกับให้ชื่อวัดว่า วัดสางบัญชี ก่อนที่จะแผลงมาเป็นวัดสำปะซิวในปัจจุบัน[3]
ปัจจุบัน วัดสำปะซิวเป็นวัดที่รู้จักกันในฐานะของวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งมีภาพของโดราเอมอน ตลอดจนแองกรีเบิร์ดส์ และเบ็นเท็นซ่อนอยู่ ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "แห่ดูโบสถ์ดัง-วาดรูปฝาผนัง'โดเรมอน'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-27.
- ↑ 2.0 2.1 โผล่อีกวัด จิตรกรรม"โดเรมอน"[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "ฮือโดเรมอนโผล่บนจิตรกรรมฝาผนังวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
- ↑ ฮือฮา! วัดสำปะซิว วาดรูปฝาผนังโดราเอมอน โนบิตะ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ฮือฮา โดเรมอน โผล่จิตรกรรมฝาผนังวัดสำปะซิว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-20. สืบค้นเมื่อ 2011-12-27.
- ↑ เสถียร ท้วมจันทร์. สดจากเยาวชน. ข่าวสด. ปีที่ 22 ฉบับที่ 7,903. วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. ISSN 1686-8218. หน้า 24