วัดปางหมู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดปางหมู
แผนที่
ที่ตั้งตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดปางหมู เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน

วัดปางหมู หรือ วัดพระธาตุปางหมู สร้างเมื่อ พ.ศ. 2010 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2500 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร[1] สันนิษฐานว่าวัดปางหมูสร้างมาพร้อมกับหมู่บ้าน

อาคารเสนาสนะภายในวัดมีลักษณะศิลปะแบบไทใหญ่ ตั้งแต่ซุ้มประตู[2] ภายในวัดยังมีสถูปโบราณที่เก่าแก่ที่สร้างมานาน อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปูนปั้น (เจ้าพะล้าเหม่ป๊อก) ขนาดหน้าตัก 40 นิ้ว จารึกฐานพระซึ่งเดิมจารึกด้วยอักษรไทใหญ่ระบุว่าสร้างโดยพะล้าตะก่าก้างน้อยสุรวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2432 สันนิษฐานว่าคงเป็นผู้นำหมู่บ้านในช่วงนั้น ลักษณะของพระพุทธรูปได้รับอิทธพลศิลปะอังวะ นั่งขัดสมาธิเพชร พระวรกายลงรักปิดทอง จีวรเดินเส้นรักและประดับด้วยกระจกเป็นลวดลายเครือเถา[3]

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้รับประทานพระบรมสารีริกธาตุมาจากพระสังฆราชศรีลังกา นำมาประดิษฐานเป็นการถาวร ณ วัดปางหมู[4]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระจิ๊กตะ
  • พระมะซ้า พ.ศ. 2405–2420
  • พระคำ พ.ศ. 2420–2431
  • พระลื้อ พ.ศ. 2431–2452
  • พระพงษ์ พ.ศ. 2453–2479
  • พระเต่หวิ่งต๊ะ พ.ศ. 2478–2492
  • พระสุวรรณ พ.ศ. 2492–2507
  • พระกมล โกมโล พ.ศ. 2507–2508
  • พระอธิการเล็ก ยุตฺตธมฺโม พ.ศ. 2508–2510
  • เจ้าอธิการคำอู๋ โกวิโท พ.ศ. 2516–2534
  • พระครูอนุยุตสังฆกิจ พ.ศ. 2534–

อ้างอิง[แก้]

  1. อรรจนีลดา วุฒิจันทร์, อ่อนเดือน เทียนทอง (2533). "ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 9". กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. p. 1002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  2. "วัดปางหมู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
  3. ธรรศ ศรีรัตนบัลล์. "พระพุทธรูปและตาแหน่งทางศาสนาในสังคมไทใหญ่" (PDF).
  4. "วัดพระธาตุปางหมู จ.แม่ฮ่องสอน เชิญนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ". สยามรัฐออนไลน์.