วัดประตูดาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดประตูดาว
แผนที่
ชื่อสามัญวัดประตูดาว, วัดประตูผี
ที่ตั้งตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระอธิการธีรวัฒน์ สุเมโธ
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดประตูดาว เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว 80 วา ติดกับถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 58 วา ติดกับแม่น้ำป่าสัก ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดกับที่ดินเพื่อการครอบครอง ทิศตะวันตกยาว 48 วา ติดกับกำแพงเมือง และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน

วัดประตูดาวตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2319 โดยมีหลวงพล หัวหน้าตุลาการเพชรบูรณ์ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2445 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[1] ในอดีตเชื่อว่าวัดประตุดาวมีชื่อว่า วัดประตูผี เป็นที่ลำเลียงศพของนักโทษที่ถูกประหารชีวิต ณ บริเวณวัดมหาธาตุ พระอารามหลวงในปัจจุบัน และต่อมาได้ยกเลิกการประหารชีวิตทำให้ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดให้เป็นชื่อที่ฟังแล้วเป็นมงคลจึงได้ชื่อว่า "วัดประตูดาว" [2]

อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2447 โครงสร้างเป็นไม้ ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 กุฏิสงฆ์จำนวน 5 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งปูน 2 ชั้น 2 หลัง อาคารไม้ 2 หลัง ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระประธานปางมารวิชัยขนาดพระเพลา กว้าง 28 นิ้ว และมีพระพุทธรูปปางสมาธิเนื้อทองสำริด ศิลปะล้านช้างจำนวน 2 องค์[3]

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระสมุห์บุญมา ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2487–2495
  • พระมหาทองคำ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2500–2503
  • พระอธิการฝาย ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2505–2507
  • พระอธิการสอน ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2514–2527
  • พระครูพัชรสุทธิกร ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2527–2560
  • พระอธิการธีรวัฒน์ สุเมโธ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดประตูดาว". พระสังฆาธิการ.
  2. "SBL บันทึกประเทศไทย - จังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 91". SBL Magazine.
  3. "วัดประตูดาว". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.