ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์งูโบอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วงศ์งูโบอา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 70.6–0Ma ยุคครีเทเชียสตอนปลายถึงปัจจุบัน
Boa constrictor (Boa constrictor)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
Serpentes
วงศ์ใหญ่: Booidea
Booidea
วงศ์: วงศ์งูโบอา
Boidae
Gray, 1825[1][2]
วงศ์ย่อย

Boinae
Calabariinae[a]
Candoiinae[b]
Erycinae
Sanziniinae
Ungaliophiinae

วงศ์งูโบอา หรือ วงศ์งูเหลือมโบอา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Boidae; อังกฤษ: Boa, Anaconda) เป็นวงศ์ของงูที่ไม่มีพิษขนาดใหญ่วงศ์หนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับงูในวงศ์งูเหลือม (Pythonidae) จึงมักสร้างความสับสนให้อยู่เสมอ

มีลักษณะโดยรวม คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟัน ช่องเปิดตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัลกับกระดูกพาไรทัล กระดูกซูปราออคซิพิทัลมีสันใหญ่ ขากรรไกรล่างมีกระดูกโคโรนอยด์ มีกระดูกระยางค์ขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดและเป็นแท่งขนาดเล็กที่มองเห็นได้ทางช่องเปิดทวารร่วม และมีกระดูกเชิงกรานขาคู่หลังที่ยังลดรูปไม่หมดฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ ปอดข้างซ้ายค่อนข้างเจริญ มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างเจริญเท่ากัน

งูในวงศ์นี้ มีทั้งหมด 15 สกุล มีทั้งสิ้น 54 ชนิด[3]

กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้ง ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกา, ทวีปอเมริกาใต้ ยุโรปและทวีปโอเชียเนีย เป็นต้น ไม่พบในไทยแต่จะมีงูกลุ่มงูเหลือมกับงูหลามแต่พวกมันไม่ได้อยู่ใกล้ชิดทางพันธุกรรมกับงูโบอาเพราะงูโบอาออกลูกเป็นตัวแต่งูเหลือมงูหลามออกลูกเป็นไข่

โดยตัวอย่างงูในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ งูอนาคอนดา คือ งูที่อยู่ในสกุล Eunectes ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Boinae ซึ่งโตเต็มที่ยาวได้ถึง 11.5 เมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนิด Eunectes murinus หรือ งูอนาคอนดาเขียว ที่เป็นงูที่มีน้ำหนักตัวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยอาจมีน้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในป่าดิบชื้นของลุ่มแม่น้ำอเมซอน ทวีปอเมริกาใต้[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เดิมจัดให้อยู่ใน Erycinae
  2. เดิมจัดให้อยู่ใน Boinae
  1. Gray, John Edward (1825). "A Synopsis of the Genera of Reptiles and Amphibia, with a Description of some new Species". Annals of Philosophy. 10 (3): 209–210.
  2. McDiarmid, R.W.; Campbell, J.A.; Touré. T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference Vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. "Boidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 14 July 2008.
  4. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 405-406 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0
  • Kluge, A.G. 1991. Boine Snake Phylogeny and Research Cycles. Misc. Pub. Museum of Zoology, Univ. of Michigan No. 178. PDF at University of Michigan Library. Accessed 8 July 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Boidae แม่แบบ:EB9 Poster