ลัทธิบูชาบุคคลของเหมา เจ๋อตง
ลัทธิบูชาบุคคลของเหมา เจ๋อตง เป็นส่วนสำคัญในการปกครองของประธานเหมา เจ๋อตงเหนือสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศใน ค.ศ. 1949 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976 รัฐบาลได้ใช้สื่อมวลชน การโฆษณาชวนเชื่อ และเทคนิคอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อยกระดับสถานะของเหมาให้เป็นผู้นำที่เก่งกาจและไร้ที่ติ ผู้สามารถต่อต้านชาติตะวันตกและนำพาจีนให้เป็นแบบอย่างของลัทธิคอมมิวนิสต์[จำเป็นต้องมีการอ้างอิง ]
เหมาตระหนักถึงความจำเป็นของลัทธิบูชาบุคคล และกล่าวโทษการล่มสลายของครุชชอฟเกิดจากการขาดลัทธิบูชาบุคคลดังกล่าว[1][2][การตรวจยืนยันล้มเหลว] ในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ลัทธิบูชาบุคคลของเหมาพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เขาใช้ประโยชน์จากมันเพื่อปลุกระดมมวลชนและโจมตีคู่แข่งทางการเมืองของเขา เช่น หลิว เช่าฉี ประธานสาธารณรัฐประชาชนจีนในขณะนั้น[2][3][4] ใบหน้าของเหมาถูกตีพิมพ์บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เหรินหมินรื่อเป้าอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับคอลัมน์คติพจน์ของเขาที่ตีพิมพ์ทุกวัน สรรนิพนธ์ของเหมา เจ๋อตงถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้น จำนวนภาพเหมือนของเหมาที่ผลิตได้ (1.2 พันล้านภาพ) เกินจำนวนประชากรของจีนในขณะนั้น นอกจากนี้ยังมีตราประธานเหมาอีก 4.8 พันล้านดวงที่ถูกผลิตขึ้น[5] พลเมืองจีนทุกคนจะได้รับ หนังสือปกแดงเล่มเล็ก (Little Red Book) ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมคติพจน์ของเหมา โดยต้องพกติดตัวไปทุกหนทุกแห่งและนำมาแสดงในทุกกิจกรรมสาธารณะ นอกจากนี้ พลเมืองยังถูกคาดหวังให้อ่านคติพจน์เหล่านั้นจากหนังสือนี้ทุกวัน[6] ทว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เหมาได้วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นว่านับถือลัทธิบูชาบุคคลของตนมากเกินไป[1]
หลังการปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลง เติ้ง เสี่ยวผิง และคณะได้ริเริ่มโครงการ "ปัวล่วนฝ่านเจิ้ง" ซึ่งทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นโมฆะและยกเลิก (รวมถึงห้าม) การสร้างลัทธิบูชาบุคคล[7][8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Keith, Ronald C. (2004). "Review: History, Contradiction, and the Apotheosis of Mao Zedong". China Review International. 11 (1): 1–8. ISSN 1069-5834. JSTOR 23732901. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2023. สืบค้นเมื่อ 4 March 2023.
In a January 9, 1965, interview with Edgar Snow, Mao claimed that Khrushchev fell "because he had no cult at all." ...... In the early 1970s he blamed others for overdoing his own personality cult, attacking his heir apparent Lin Biao and the senior Party theoretician Chen Boda.
- ↑ 2.0 2.1 "Record of Conversation from [Chairman Mao Zedong's] Meeting with [Edgar] Snow (December 18, 1970)". Wilson Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-04.
Mao: We all adore someone. Would you be glad if nobody adored you? Would you be glad if nobody read your books and articles? We all need some personality cult, even you [need it]...... It was for the purpose of opposing Liu Shaoqi.
- ↑ Leese, Daniel (2017), Naimark, Norman; Pons, Silvio; Quinn-Judge, Sophie (บ.ก.), "Mao Zedong as a Historical Personality", The Cambridge History of Communism: Volume 2: The Socialist Camp and World Power 1941–1960s, The Cambridge History of Communism, Cambridge: Cambridge University Press, vol. 2, pp. 269–290, ISBN 978-1-107-59001-4, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2020, สืบค้นเมื่อ 2023-03-04
- ↑ Leese, Daniel (2007-09-01). "The Mao Cult as Communicative Space". Totalitarian Movements and Political Religions. 8 (3–4): 623–639. doi:10.1080/14690760701571247. ISSN 1469-0764.
- ↑ Barmé, Geremie. (1996). Shades of Mao : the posthumous cult of the great leader. Armonk, NY: M.E. Sharpe. ISBN 0-585-26901-7. OCLC 45729144.
- ↑ Chang, Jung, 1952- (2007). Mao : the unknown story. Halliday, Jon. London: Vintage. ISBN 978-0-09-950737-6. OCLC 71346736.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Teon, Aris (1 March 2018). "Deng Xiaoping On Personality Cult And One-Man Rule – 1980 Interview". The Greater China Journal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
- ↑ Huang, Zheping (26 February 2018). "Xi Jinping could now rule China for life—just what Deng Xiaoping tried to prevent". Quartz (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
- ↑ "第八章: 十一届三中全会开辟社会主义事业发展新时期". cpc.people.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2008. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.