ลัทธิบัวขาว
สมัยโบราณ | |||
ยุคหินใหม่ ประมาณ 8500 – ประมาณ 2070 BCE | |||
เซี่ย ประมาณ 2070 – ประมาณ 1600 BCE | |||
ชาง ประมาณ 1600 – ประมาณ 1046 BCE | |||
โจว ประมาณ 1046 – 256 BCE | |||
โจวตะวันตก | |||
โจวตะวันออก | |||
วสันตสารท | |||
รณรัฐ | |||
สมัยจักรวรรดิ | |||
ฉิน 221–207 BCE | |||
ฮั่น 202 BCE – 220 CE | |||
ฮั่นตะวันตก | |||
ซิน | |||
ฮั่นตะวันออก | |||
ยุคสามก๊ก 220–280 | |||
เว่ย์, ฉู่ และอู๋ | |||
จิ้น 266–420 | |||
จิ้นตะวันตก | |||
จิ้นตะวันออก | สิบหกรัฐ | ||
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589 | |||
สุย 581–618 | |||
ถัง 618–907 | |||
ห้าวงศ์สิบรัฐ 907–979 |
เหลียว 916–1125 เซี่ยตะวันตก 1038–1227 จิน 1115–1234 | ||
ซ่ง 960–1279 | |||
ซ่งเหนือ | |||
ซ่งใต้ | |||
หยวน 1271–1368 | |||
หมิง 1368–1644 | |||
ชิง 1636–1912 | |||
สมัยใหม่ | |||
สาธารณรัฐจีน บนแผ่นดินใหญ่ 1912–1949 | |||
สาธารณรัฐประชาชนจีน 1949–ปัจจุบัน | |||
สาธารณรัฐจีน ในไต้หวัน 1949–ปัจจุบัน | |||
ลัทธิบัวขาว (จีน: 白蓮教 ไป๋เหลียนเจี้ยว) เป็นขบวนการทางศาสนาและการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หยวน เป็นลัทธิบูชาพระแม่องค์ธรรมเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด และรอคอยยุคพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นอุตมรัฐที่เชื่อว่าสังคมจะรุ่งเรืองสงบสุขตลอดไป
ประวัติ[แก้]
ลัทธิบัวขาว มีหลักความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างศาสนามาณีกีกับศาสนาพุทธ มีหลักปฏิบัติคือการกินเจอย่างเคร่งครัด ให้บุรุษกับสตรีมีปฏิสัมพันธ์กันได้ค่อนข้างเสรีซึ่งขัดกับธรรมเนียมจีนสมัยนั้น และปกปิดพิธีกรรมของตนเป็นความลับ โดยให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นเพียงการไหว้เจ้า[1] หลักฐานเกี่ยวกับลัทธิบัวขาวปรากฏครั้งแรกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตรงกับสมัยราชวงศ์หยวนที่จักรวรรดิมองโกลปกครองแผ่นดินจีน ชาวฮั่นในสมัยนั้นไม่พอใจที่คนต่างชาติมาปกครองอย่างกดขี่ จึงรวมกลุ่มกันตั้งเป็นสมาคมทางศาสนาและดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมื่อเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการปกครองของคนต่างชาติ ลัทธิบัวขาวมีส่วนร่วมในขบวนการนี้ด้วย จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย[2] แนวทางการเมืองนี้ทำให้ลัทธิบัวขาวถูกทางการปราบปรามอย่างหนัก[3]
ศาสนิกชนของลัทธิบัวขาวได้ร่วมกันก่อกบฏโพกผ้าแดงขึ้นในช่วง ค.ศ. 1351 – 1368 จู หยวนจางกับสมัครพรรคพวกก็เข้าร่วมขบวนการด้วย กลุ่มกบฏสามารถโค่นล้มราชวงศ์หยวนได้เป็นผลสำเร็จในเวลาต่อมา และส่งเสริมราชวงศ์หมิงให้ปกครองแผ่นดินสีบแทน โดยจู หยวนจางได้รับอาณัติสวรรค์ให้ปกครองแผ่นดิน เฉลิมพระนามจักรพรรดิหงหวู่
เมื่อราชวงศ์หมิงล่มสลายและถูกราชวงศ์ชิงขึ้นมาปกครองแทน ลัทธิบัวขาวก็ก่อกบฏบัวขาวอีกครั้งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิงที่กดขี่เรื่องภาษีและฟื้นฟูราชวงศ์หมิง แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างหนักจนสลายตัวไปในปี ค.ศ. 1804 ศาสนิกชนถูกจับกุมและประหารชีวิต ตำราคัมภีร์ต่าง ๆ ถูกเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก[4]
ความเชื่อ[แก้]
ความเชื่อหลักของลัทธิบัวขาวคือการบูชาพระเป็นเจ้าคือพระแม่องค์ธรรม พระผู้สร้างสรรพสิ่งและให้สรรพชีวิตทั้งหลายมาเกิดบนโลก ชีวิตทั้งหลายจึงเป็นบุตรของพระแม่องค์ธรรม ล้วนแต่มีธรรมชาติบริสุทธิ์มาแต่เดิม แต่ต่อมาสรรพสัตว์กลับใช้ชีวิตหลงผิด สูญเสียธรรมชาติเดิมจนไม่อาจกลับไปหาพระแม่องค์ธรรมได้[5]
พระแม่องค์ธรรมจึงเมตตาต่อสรรพสัตว์ด้วยการส่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ลงมาบนโลกเพื่อช่วยแนะนำสั่งสอนมนุษย์ให้ปฏิบัติในหนทางที่ถูกและกลับไปสู่พระแม่องค์ธรรมได้ ในการนี้พระแม่องค์ธรรมได้ส่งพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระศากยมุนีพุทธเจ้ามาช่วยเวไนยสัตว์ได้จำนวนหนึ่งแล้ว แต่สรรพสัตว์ส่วนมากยังตกค้างอยู่ พระแม่จึงสัญญาต่อมนุษย์ว่าต่อไปจะส่งพระศรีอริยเมตไตรยลงมาเพื่อช่วยเหลือเวไนยสัตว์ที่เหลือทั้งหมด[5]
ในท้ายยุคของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะมีการชุมนุมอริยะบนสวรรค์เพื่อสรุปผลการช่วยสรรพสัตว์ การชุมนุมท้ายสมัยพระทีปังกรเรียกว่า ชิงหยางฮุ่ย (ตะวันเขียว) ท้ายสมัยพระศากยมุนีเรียกว่า หงหยางฮุ่ย (ตะวันแดง) และท้ายสมัยพระเมตไตรยเรียกว่า ไป๋หยางฮุ่ย (ตะวันขาว) ลัทธิบัวขาวเชื่อว่าตนเองกำลังอยู่ในปลายสมัยตะวันแดง จึงมุ่งหวังและรอคอยการมาถึงของสมัยตะวันขาว ซึ่งพระศรีอารย์จะลงมาโปรดชี้แนะการบำเพ็ญวิถีธรรมที่ถูกต้องเพื่อกลับสู่บ้านเดิม[5]
แม้ลัทธิบัวขาวจะสลายตัวไปจากการปราบปรามของทางการชิง แต่แนวคิดและขนบของลัทธิบัวขาวยังสืบทอดมาอีกในหลายลัทธิ โดยเฉพาะในลัทธิเซียนเทียนเต้า ซึ่งหวง เต๋อฮุย ได้ก่อตั้งขึ้นในเวลาต่อมา ลัทธินี้ยังคงรักษาความเชื่อหลักได้แก่การบูชาพระแม่องค์ธรรม พระผู้สร้างสรรพสิ่ง และส่งสรรพชีวิตทั้งหลายมาเกิดบนโลก และรอคอยการมาถึงของยุคพระศรีอริยเมตไตรยซึ่งเชื่อว่าเป็นสังคมในอุดมคติที่ลัทธินี้จะสร้างขึ้นสำเร็จในอนาคต[5]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ Teng 1958, p. 94.
- ↑ Mote 2003.
- ↑ "Tian Dao Hui". Chinese Boxing. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-04-19. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "White Lotus Rebellion of the Qing Dynasty". Cultural China. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Inspiration: The Organization and Ideology of White Lotus Sects" (PDF). Yale University Press. 1976. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2556. Check date values in:
|accessdate=
(help) หน้า 9-13
- บรรณานุกรม
- Mote, Frederick W. (2003). Imperial China 900-1800. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01212-7.CS1 maint: ref=harv (link)
- Teng, Ssu-yü (1958). "A Political Interpretation of Chinese Rebellions and Revolutions". Tsing Hua Journal of Chinese Studies. 1 (3).CS1 maint: ref=harv (link)