รายพระนามผู้ปกครองมิลาน
รรายพระนามผู้ปกครองมิลาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13-1814, ก่อนถูกจัดตั้งเป็นราชอาณาจักรลอมบาร์ดี-เวเนเทียโดยการประชุมที่เวียนนา
ก่อนจัดตั้งเป็นดัชชี
[แก้]กระทั่ง 1259 มิลานเป็นคอมมูนอิสระ ที่สามารถเลือกผู้นำ (podestà) ของตนเอง ตระกูลตอร์ริอานี ได้รับอำนาจที่แน่นอนในค.ศ. 1240, เมื่อพากาโน เดลลา ทอร์เรได้รับเลือกเป็น podestà.[1] หลังมรณกรรมของพากาโน, บาลโด กิริงเฮลลีได้รับเลือกเป็น podestà ต่อในค.ศ. 1259, แต่เมื่อสิ้นสุดยุคของเขา มาร์ติโน เดลลา ทอเร, หลานชายของพากาโน ก่อการยึดอำนาจของครอบครัวเหนือคอมมูน สถาปนาตนเป็นลอร์ดแห่งมิลาน (Signoria) [2]
ลอร์ด (ซินญอร์) | ปกครอง | สังกัด | |
---|---|---|---|
มาร์ติโน เดลลา ทอเร | 8 กันยายน 1259 | 20 พฤศจิกายน 1263 | เกลฟ์ |
ฟิลิปโป เดลลา ทอเร | 20 พฤศจิกายน 1263 | 24 ธันวาคม 1265 | เกลฟ์ |
นาโปเลออเน เดลลา ทอเร | 24 ธันวาคม 1265 | 21 มกราคม 1277 | เกลฟ์ |
ยุคนี้ตระกูลทอริอานีมีความใกล้ชิดกับชาร์ลส์แห่งอองชู, เริ่มการแข่งขันที่แข็งแกร่งกับตระกูลวิสคอนติที่จงรักภักดีกับราชวงศ์โฮเฮินสเตาเฟน[3] ค.ศ. 1262, สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 4 รับรองออตโตเน วิสคอนติเป็นอาร์ชบิชอปแห่งมิลาน, นำไปสู่ความผิดหวังของมาร์ติโน เดลลา ทอเร[4] ค.ศ. 1273, เกิดสงครามกลางเมืองระหว่าง 2 ตระกูล สงครามจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของตระกูลทอร์รานีในการศึกที่เดสิโอในค.ศ. 1277[5]
ลอร์ด (ซินญอร์) | ปกครอง | สังกัด | |
---|---|---|---|
ออตโตเน วิสคอนติ | 21 มกราคม 1277 | 8 สิงหาคม 1295 | กิเบลลิเน |
มัตเตโอที่ 1 วิสคอนติ | 8 สิงหาคม 1295 | มิถุนายน 1302 | กิเบลลิเน |
มิถุนายน 1302, กุยโด เดลลา ทอเร ขับไล่ตระกูลวิสคอนติ[6] อย่างไรก็ดี, ค.ศ. 1308 กุยโดเริ่มมีเรื่องวิวาทกับญาติ, อาร์ชบิชอป คัสโซเน เดลลา ทอเร ภายหลังการโจมตีที่มหาวิหารมิลาน, คัสโซเนหลบหนีไปยังโบโลญญาและเรียกร้องให้มีการแทรกแซงของจักรพรรดิ[7] เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ที่วุ่นวายในภาคเหนือของอิตาลี, จักรพรรดิไฮน์ริกที่ 7 แห่งเยอรมนีกรีฑาทัพเข้าสู้อิตาลี ในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1310 พระองค์ก็มาถึงมิลานและฟื้นฟูอำนาจทั้งคัสโซเนและตระกูลวิสคอนติ หลังจากการล่มสลายของมิลาน, พระองค์ก็ได้รับการสวมมงกุฎเป็นพระมหากษัตริย์อิตาลี[8]
ลอร์ด (ซินญอร์) | ปกครอง | สังกัด | |
---|---|---|---|
กุยโด เดลลา ทอเร | มิถุนายน 1302 | 6 January 1311 | เกลฟ์ |
มัตเตโอที่ 1 วิสคอนติ | 6 January 1311 | 24 June 1322 | กิเบลลิเน |
กาเลอัสโซที่ 1 วิสคอนติ | 24 June 1322 | 6 August 1328 | กิเบลลิเน |
อัซโซเน วิสคอนติ | 6 August 1328 | 16 August 1339 | กิเบลลิเน |
ลูชิโน วิสคอนติ | 16 August 1339 | 24 January 1349 | กิเบลลิเน |
จิโอวานนี วิสคอนติ | 5 October 1354 | ||
มัตเตโอที่ 2 วิสคอนติ | 5 October 1354 | 29 September 1355 | กิเบลลิเน |
กาเลอัซโซที่ 2 วิสคอนติ | 4 August 1378 | ||
เบอร์นาโบ วิสคอนติ | 6 May 1385 | ||
เกียน กาเลอัซโซ วิสคอนติ | 6 May 1385 | 5 September 1395 | กิเบลลิเน |
หลังจัดตั้งเป็นดัชชี
[แก้]ค.ศ. 1395, เกียน กาเลอัซโซ วิสคอนติได้รับตำแหน่ง ดยุกแห่งมิลานโดย พระเจ้าเวนเซสเลาส์ที่ 4 แห่งโบฮีเมีย,[9] ซึ่งขายตำแหน่งนี้ในราคาราว 100,000 ฟลอริน.[10] นับแต่นั้นมา ผู้ปกครองมิลานจึงมีสถานะเป็นดยุค
ดยุก | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
เกียน กาเลอัซโซ 1347–1402 (รวมพระชนม์ 50) |
5 กันยายน 1395 – 3 กันยายน 1402 |
(1) อิซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส (m. 1360; d. 1372) 4 พระองค์ (2 พระองค์มีชีวิตรอยถึงวัยหนุ่มสาว) (2) กาเทอรีนา วิสคอนติ (m. 1380; w. 1402) 2 พระองค์ บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์ |
| ||
จิโอวานนี มาเรีย 1388–1412 (รวมพระชนม์ 23) |
3 กันยายน 1402 – 16 พฤษภาคม 1412 |
แอนโทเนีย มาลาเทสตาแห่งเคเซนา (m. 1408; w. 1412) ไม่มี |
พระโอรสในเกียน กาเลอัซโซ | ||
ฟิลิปโป มาเรีย 1392–1447 (รวมพระชนม์ 54) |
16 พฤษภาคม 1412 – 13 สิงหาคม 1447 |
(1) เบียทริซแห่งเทนดา (m. 1412; ex. 1418) ไม่มี (2) แมรี่แห่งซาวอย (m. 1428; w. 1447) ไม่มี บุตรนอกกฎหมาย 1 พระองค์ |
พระโอรสในเกียน กาเลอัซโซ |
ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งแรก)
[แก้]ฟิลิปโป มาเรียสิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1447, ตระกูลวิสคอนติสายตรงจึงสิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้ นำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง, กลุ่มเศรษฐี, นักปราชญ์และนักบวชประกาศยุบเลิกดัชชีและจัดตั้งระบอบอภิชนาธิปไตยในนาม สาธารณรัฐโกลเดนอัมโบเซียน[11] สาธารณรัฐไม่เคยได้รับการรับรองและรัฐข้างเคียงทั้งเวนิสและซาวอย พยายามเข้ามาขยายอิทธิพลในนี้ เช่นเดียวกับฝรั่งเศส การใช้ประโยชน์จากความอ่อนแอของรัฐและการฟื้นคืนชีพความขัดแย้งระหว่างเกลฟ์และกิเบลลิเน, ผู้บัญชาการกองทัพมิลาน, ฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา, แปรพักตร์จากมิลานไปอยู่กับเวนิสในค.ศ. 1448,[12] และ 2 ปีให้หลัง, หลังจากสับเปลี่ยนหลายฝ่ายและกลยุทธอันชาญฉลาด, สฟอร์ซาเดินทางเข้าเมืองระหว่างงานแม่พระรับสารเขาประกาศตนเป็นดยุกแห่งมิลาน,[13] และสมรสกับบิอันกา มาเรีย วิสคอนติ พระธิดานอกกฎหมายของฟิลิปโป มาเรีย
ดยุก | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
ฟรานเซสโกที่ 1 1401–1466 (aged 64) |
25 มีนาคม 1450 – 8 มีนาคม 1466 |
(1) โปลิสเซนา รัฟโฟ (m. 1418; d. 1420) ไม่มี (2) บุตรสาวของ ยาโกโป คาลโดรา (m. 1424; ann. 142?) ไม่มี (3) บิอันกา มาเรีย วิสคอนติ (m. 1441; w. 1466) 8 พระองค์ จิโอวันนา ดักกาปองดองต์ บุตรนอกกฎหมาย 7 พระองค์ (5 survived to adulthood) |
| ||
กาเลอัซโซ มาเรีย 1444–1476 (aged 32) |
8 มีนาคม 1466 – 26 ธันวาคม 1476 |
โบนาแห่งซาวอย (m. 1468; w. 1503) 4 พระองค์ ลูเครเซีย ลันดริอานี บุตรนอกกฎหมาย 4 พระองค์ ลูเซีย มาริอานี บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์ |
พระโอรสในฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา | ||
เกียน กาเลอัสโซ 1469–1494 (aged 25) |
26 ธันวาคม 1476 – 21 ตุลาคม 1494 |
อิซาเบลลาแห่งอารากอน (m. 1489; w. 1494) 3 พระองค์ |
พระโอรสในกาเลอัซโซ มาเรีย สฟอร์ซา | ||
ลูโดวิโก 1452–1508 (aged 55) |
21 ตุลาคม 1494 – 17 กันยายน 1499 |
เบียทริซแห่งเอสต์ (m. 1491; d. 1499) 2 พระองค์ Bernardina de Corradis บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์ Cecilia Gallerani บุตรนอกกฎหมาย 1 พระองค์ Lucrezia Crivelli บุตรนอกกฎหมาย 2 พระองค์ |
พระโอรสในฟรานเซสโกที่ 1 สฟอร์ซา |
ราชวงศ์วาลัวส์ (ครั้งแรก)
[แก้]ค.ศ. 1494, ลูโดวิโกขึ้นครองตำแหน่งดยุคแห่งมิลาน, หลังมีเสียงเล่าลือว่าทรงลอบวางยาพิษพระภาติยะ เกียน กาเลอัซโซ. หลังภัยคุกคามจากเวเนเทีย, ลูโดวิโกร้องขอให้กษัตริย์ฝรั่งเศส ชาร์ลส์ที่ 8 นำกองทัพลงอิตาลี,[14] เป็นการเริ่มต้นสงครามอิตาเลียนครั้งแรก.หลังลูโดวิโกทรยศไปเป็นพันธมิตรกับสันนิบาตแห่งเวนิสในค.ศ. 1495, ฝรั่งเศสก็พ่ายแพ้ในยุทธการที่ฟอร์โนโว และไม่สามารถขยายอิทธิพลเข้ามาในอิตาลีได้. สร้างความอับอายให้กับแม่ทัพฝรั่งเศสและพระญาติของชาร์ลส์ หลุยส์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลออง (ต่อมาเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 12),ประกอบกับการเกลียดลูโดวิโกเป็นการส่วนตัว,[15] หลุยส์จึงอ้างสิทธิเหนือดัชชีแห่งมิลาน, อ้างว่าสืบสายจากวาเลนตินา วิสคอนติและพินัยกรรมของเกียน เกลาซซิโอหลังพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ครองราชสมบัติฝรั่งเศสในค.ศ. 1499, พระองค์เริ่มต้นสงครามอิตาเลียนครั้งที่ 2 เพื่อพิชิตมิลานและเนเปิลส์พร้อมกับกองทัพฝรั่งเศสใกล้ปาเวีย, ลูโดวิโกและผู้ที่ยังภักดีกับเขาหนีออกจากมิลานในวันที่ 17 กันยายน 1499 และหลบหนีไปยังเยอรมนี[16] ทำให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 12 กลายเป็นดยุคแห่งมิลาน, เข้าเมืองในวันที่ 6 ตุลาคม 1499.[17]
ดยุก | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
หลุยส์ที่ 1 (ลุยจิที่ 1) 1462–1515 (aged 52) |
6 ตุลาคม 1499 – 20 มิถุนายน 1512 |
(1) ฌานแห่งฝรั่งเศส (m. 1476; ann. 1498) ไม่มี (2) อานน์แห่งเบอร์ตาญ (m. 1499; d. 1514) 2 พระองค์ (3) แมรี่แห่งอังกฤษ (m. 1514; w. 1515) ไม่มี |
|
ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งที่ 2)
[แก้]ลูโดวิโกถูกจับกุมในเดือนกุมภาพันธ์ 1500,[18] และสิ้นพระชนม์ในคุกในค.ศ. 1508 พระโอรสมัสซิมิเลียโนอ่างสิทธิในบัลลังก์มิลานต่อมา, ในที่สุดก็ได้บัลลังก์คืนในเดือนมกราคม 1513 6 เดือนหลังกองทัพสวิสเข้าเมือง
ดยุก | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
มัสซิมิเลียโน 1493–1530 (aged 37) |
9 มกราคม 1513 – 5 ตุลาคม 1515 |
มิได้สมรส | พระโอรสในลูโดวิโก |
ราชวงศ์วาลัวส์ (ครั้งที่ 2)
[แก้]หลังความพ่ายแพ้ในยุทธการมารียาโนในค.ศ. 1515, กองทัพสวิสออกไปจากมิลานและมัสซิมิเลียโน ถูกคุมขังโดยทหารฝรั่งเศส เขาสละสิทธิ์ในมิลานแลกกับเงิน 30,000 ดูกัต และพำนักอยู่ในฝรั่งเศสต่อไป[19]
ดยุก | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
ฟรานซิสที่ 2 (ฟรานเซสโกที่ 2) 1494–1547 (aged 52) |
11 ตุลาคม 1515 – 20 พฤศจิกายน 1521 |
(1) โคลดแห่งฝรั่งเศส (m. 1514; d. 1524) 7 พระองค์ (2) เอเลนอร์แห่งออสเตรีย (m. 1530; w. 1547) ไม่มี |
|
ราชวงศ์สฟอร์ซา (ครั้งที่ 3)
[แก้]เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1521, สถานการณ์ที่ฝรั่งเศสอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว จักรพรรดิคาร์ลที่ 5, พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ, และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10ร่วมเป็นพันธมิตรต่อต้านฝรั่งเศสในวันที่ 28 พฤศจิกายน[20] โอเดต์ เดอ ฟัวซ์, วิสเคานต์แห่งโลเทรก, ผู้ว่าการฝรั่งเศสในมิลานได้รับมอบหมายให้ต่อต้านฝ่ายจักรวรรดิและศาสนจักร อย่างไรก็ดี เขาถูกขับไล่ออดจากมิลานในปลายพฤศจิกายน และล่าถอยไปยังบริเวณแม่น้ำแอดดา.[21] นำไปสู่การขึ้นครองอำนาจเป็นครั้งที่ 3 และครั้งสุดท้ายของราชวงศ์สฟอร์ซา
ดยุค | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
ฟรานเซสโกที่ 2 1495–1535 (aged 40) |
4 เมษายน 1522 – 24 ตุลาคม 1535 |
คริสติน่าแห่งเดนมาร์ก (m. 1534; w. 1535) ไม่มี |
พระโอรสในลูโดวิโก สฟอร์ซา |
ค.ศ. 1535, หลังฟราเซสโกที่ 2 สฟอร์ซาสิ้นพระชนม์โดยปราศจากรัชทายาท, จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ผนวกดัชชีในฐานะรัฐในจักรวรรดิเพื่อหลีกเลี่ยงการอ้างสิทธิ์โดยฝรั่งเศสหรือเครือญาติสาขาอื่นของราชวงศ์สฟอร์ซา
ค.ศ. 1540, ดัชชีถูกส่งต่อให้พระราชโอรสในจักพรรดิคาร์ล เฟลิเป เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ซึ่งมีการส่งมอบเป็นทางการหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิคาร์ลในค.ศ. 1555 ค.ศ. 1556 เฟลิิเปครองราชย์เป็นพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน มิลานจึงกลายเป็นรัฐร่วมประมุขกับสเปน
ดยุค | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
เฟลิเปที่ 1 (Filippo I) 1527–1598 (aged 71) |
11 ตุลาคม 1540 – 13 กันยายน 1598 |
(1) มาเรีย มานูเอลาแห่งโปรตุเกส (m. 1543; d. 1545) 1 พระองค์ (2) สมเด็จพระราชินีนาถแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ (m. 1554; d. 1558) ไม่มี (3) เอลืซาเบธแห่งวาลัวส์ (m. 1559; d. 1568) 2 พระองค์ (4) อันนาแห่งออสเตรีย (m. 1570; d. 1580) 5 พระองค์ (1 survived to adulthood) |
รับพระราชทานมาจากคาร์ลที่ 5 | ||
เฟลิเปที่ 2 (Filippo II) 1578–1621 (aged 42) |
13 กันยายน 1598 – 31 มีนาคม 1621 |
มาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย (m. 1599; d. 1611) 8 พระองค์ (5 survived to adulthood) |
พระโอรส | ||
เฟลิเปที่ 3 (Filippo III) 1605–1665 (aged 60) |
31 มีนาคม 1621 – 17 กันยายน 1665 |
(1) เอลิซาเบธแห่งฝรั่งเศส (m. 1615; d. 1644) 8 พระองค์ (2 survived to adulthood) (2) มาเรียนาแห่งออสเตรีย (m. 1649; w. 1665) 5 พระองค์ (2 survived to adulthood) มารีอา กาลเดรอน นอกกฎหมาย 1 พระองค์ |
พระโอรส | ||
คาร์ลอสที่ 1 (Carlo I) 1661–1700 (aged 38) |
17 กันยายน 1665 – 1 พฤศจิกายน 1700 |
(1) มารี หลุยส์แห่งออร์เลอองส์ (m. 1679; d. 1689) ไม่มี (2) มาเรีย อันนา แห่งนอยบูร์ก (m. 1690; w. 1700) ไม่มี |
พระโอรส |
กันยายน 1700 พระเจ้าคาร์ลอสประชวรหนัก ปอร์โตการ์เรโรเกลี้ยกล่อมให้พระองค์แต่งตั้งพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสคือเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู.[22] เมื่อพระเจ้าคาร์ลอสสวรรคตในวันที่ 1 พฤศจิกายน 1700, พระราชบัลลังก์ถูกส่งต่อไปยังฟิลิป, ซึ่งได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์สเปนในวันที่ 16 พฤศจิกายน 1700 โดยได้รับรองจากอังกฤษและดัตช์ ท่ามกลางการโต้แย้งในด้านดินแดนและเศรษฐกิจนำไปสู่สงครามสืบราชบัลลังก์สเปนในค.ศ. 1701[23]
ดยุค | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
เฟลิเปที่ 4 (Filippo IV) 1683–1746 (aged 62) |
1 พฤศจิกายน 1700 – 7 มีนาคม 1714 |
(1) มาเรีย ลุยซาแห่งซาวอย (m. 1701; d. 1714) 4 พระองค์ (2 survived to adulthood) (2) เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ (m. 1714; w. 1746) 6 พระองค์ |
|
หลังสนธิสัญญาราสตัตท์ในค.ศ. 1714, จักรพรรดิคาร์ลที่ 6ได้รับดัชชีแห่งมิลานอย่างเป็นทางการนับเป็นการครอบครองที่ถือว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงของชายแดนทางใต้ของออสเตรีย[24] นับแต่นั้น มิลานจึงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮับส์บูร์ก
ดยุค | ตรา | สมัย | สมรส ทายาท |
สิทธิ | |
---|---|---|---|---|---|
คาร์ลที่ 2 (Carlo II) 1685–1740 (aged 55) |
7 มีนาคม 1714 – 20 ตุลาคม 1740 |
เอลิซาเบธ คริสตีนแห่งบรันสวิก-โวลแฟงบูทเทล (m. 1708; w. 1740) 4 พระองค์ (3 survived to adulthood) |
| ||
มาเรีย เทเรซา (Maria Teresa) 1717–1780 (aged 63) |
20 ตุลาคม 1740 – 29 พฤศจิกายน 1780 |
ฟรานซ์ที่ 1 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (m. 1736; d. 1765) 15 พระองค์ (10 survived to adulthood) |
| ||
โจเซฟที่ 1 (Giuseppe I) 1741–1790 (aged 48) |
29 พฤศจิกายน 1780 – 20 กุมภาพันธ์ 1790 |
(1) อิซาเบลลาแห่งปาร์มา (m. 1760; d. 1763) 2 พระองค์ (Not survived to adulthood) (2) มาเรีย โฌเซฟา แห่งบาวาเรีย (m. 1765; d. 1767) ไม่มี |
| ||
เลโอโปลด์ที่ 1 (Leopoldo I) 1747–1792 (aged 44) |
20 กุมภาพันธ์ 1790 – 1 มีนาคม 1792 |
ทาเรีย ลุยซาแห่งสเปน (m. 1765; w. 1792) 16 พระองค์ (14 survived to adulthood) |
| ||
ฟรานซ์ที่ 3 (Francesco III) 1768–1835 (aged 67) |
1 มีนาคม 1792 – 15 พฤษภาคม 1796 |
(1) เอลีซาเบธแห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค (m. 1788; d. 1790) 1 พระองค์ (Not survived to adulthood) (2) มาเรีย เทเรซา แห่งเนเปิลส์และซิซิลี (m. 1790; d. 1807) 11 พระองค์ (7 survived to adulthood) (3) Mมาเรีย ลูโดวิก้าแห่งออสเตรีย-เอสต์ (m. 1808; d. 1816) ไม่มี (4) แคโรไลน์ ออกัสตา แห่งบาวาเรีย (m. 1816; w. 1835) ไม่มี |
| ||
ว่างกษัตริย์ (1796–1814): สงครามปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน | |||||
11 เมษายน 1814 – 7 เมษายน 1815 | |||||
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Motta, Antonio (1931). Treccani (บ.ก.). Della Torre. Enciclopedia Italiana (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Fantoni, Giuliana L. (1989). Treccani (บ.ก.). Della Torre, Martino. Dizionario Biografico degli Italiani (ภาษาอิตาลี). Vol. 37.
- ↑ Gallavresi, Giuseppe (1906). La riscossa dei guelfi in Lombardia dopo il 1260 e la politica di Filippo della Torre (ภาษาอิตาลี). Vol. 6. Arch. stor. lombardo, 4th section.
- ↑ Richard, Charles-Louis; Giraud, Jean-Joseph (1822). Méquignon Fils Ainé (บ.ก.). Bibliothèque sacrée, ou, Dictionnaire universel [...] des sciences ecclésiastiques (ภาษาฝรั่งเศส). Vol. 13. p. 301.
- ↑ Pugliese, Michela (2017). Youcanprint (บ.ก.). All'ombra del castello (ภาษาอิตาลี). p. 76. ISBN 9788892664630.
- ↑ Treccani (บ.ก.). "Della Tórre, Guido" (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Fantoni, Giuliana L. (1989). Treccani (บ.ก.). Della Torre, Cassone. Dizionario Biografico degli Italiani (ภาษาอิตาลี). Vol. 37.
- ↑ Jones, Michael (2000). Cambridge University Press (บ.ก.). The New Cambridge Medieval History. Vol. 6. p. 533.
- ↑ Bartoš, František M. (1937). Treccani (บ.ก.). Venceslao IV re di Boemia e di Germania. Enciclopedia Italiana (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Symonds, John A. (1888). Henry Holt and Co. (บ.ก.). Renaissance in Italy: the Age of the Despots (ภาษาอิตาลี).
- ↑ Lucas, Henry S. (1960). Harper Bros (บ.ก.). The Renaissance and the Reformation. p. 268.
- ↑ Ady & Armstrong 1907, p. 47
- ↑ Ady & Armstrong 1907, p. 60
- ↑ Baumgartner 1996, p. 40
- ↑ Baumgartner 1996, p. 105
- ↑ Baumgartner 1996, p. 114
- ↑ Baumgartner 1996, p. 117
- ↑ Durant, Will (1953). Simon and Schuster (บ.ก.). The Renaissance. The Story of Civilization. Vol. 5. p. 191.
- ↑ Frieda, Leonie (2012). Weidenfeld & Nicolson (บ.ก.). The Deadly Sisterhood: A Story of Women, Power and Intrigue in the Italian Renaissance. p. 333.
- ↑ Konstam, Angus (1996). Osprey Publishing (บ.ก.). Pavia 1525: The Climax of the Italian Wars. p. 88.
- ↑ Blocksman, Wim (2002). Oxford University Press (บ.ก.). Emperor Charles V, 1500–1558. p. 52.
- ↑ Hargreaves- Mawdsley, HN (1979). Eighteenth-Century Spain 1700-1788: A Political, Diplomatic and Institutional History. Macmillan. pp. 15–16. ISBN 0333146123.
- ↑ Falkner, James (2015). The War of the Spanish Succession 1701-1714 (Kindle ed.). 96: Pen and Sword. ISBN 9781473872905.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Ward, William, Leathes, Stanley (1912). The Cambridge Modern History (2010 ed.). Nabu. p. 384. ISBN 1174382058.
อ้างอิง
[แก้]- Ady, Cecilia M.; Armstrong, Edward (1907). A History of Milan under the Sforza. Methuen & Co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-06. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- Adriano, Cappelli (1998). Cronologia Cronografia e Calendario Perpetuo. Hoepli. ISBN 88-203-2502-0.
- Baumgartner, Frederic J. (1996). St.Martin's Press (บ.ก.). Louis XII. ISBN 0-312-12072-9.