ราชกุมารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชกุมารี
Coat of Arms of Anne, the Princess Royal.svg
HRH The Princess Anne, Princess Royal
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เจ้าหญิงแอนน์

ตั้งแต่ ค.ศ. 1987
การเรียกขานHer Royal Highness
Ma'am
จวนพระราชวังเซนต์เจมส์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
วาระตลอดพระชนม์
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์

ราชกุมารี[1] (อังกฤษ: The Princess Royal[2]) เป็นพระอิสริยยศตามราชประเพณี (แต่ไม่เป็นแบบอัตโนมัติ) ซึ่งพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรพระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ที่สุด โดยเจ้าหญิงพระองค์นั้นจะดำรงพระอิสริยยศนี้อยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ดังนั้นจึงไม่สามารถที่จะสถาปนาเจ้าหญิงพระองค์อื่นให้เป็นราชกุมารีอีกพระองค์ได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ไม่เคยทรงดำรงตำแหน่งราชกุมารีเลย) จวบจนถึงปัจจุบันนี้ได้มีราชกุมารีมาแล้วทั้งสิ้น 7 พระองค์[3][4] โดยพระองค์ล่าสุดคือ เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี

พระอิสริยยศนี้เกิดขึ้นเมื่อสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย (พ.ศ. 2252 - 2312) พระราชธิดาในพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส และพระมเหสีในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ มีพระประสงค์จะเลียนแบบการสถาปนาพระอิสริยยศ "Madame Royale" ให้กับพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของกษัตริย์ฝรั่งเศส พระอิสริยยศนี้จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาต (Royal Warrant) ไม่ใช่สถาปนาจากพระราชสัญญาบัตร (Letters Patent) และไม่ได้พระราชทานแก่พระราชธิดาพระองค์ใหญ่โดยอัติโนมัติ หากแต่จะเป็นการแต่งตั้งจากพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์

เจ้าหญิงแมรี (หรือสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2) (พ.ศ. 2208 - 2237) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าเจมส์ที่ 2 และพระมเหสีในพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ (พ.ศ. 2193 - 2245) และเจ้าหญิงโซฟี โดโรเทอา พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระเจ้าจอร์จที่ 1 และต่อมาเป็นพระมเหสีในพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทั้งสองทรงเหมาะสมกับพระอิสริยยศนี้ หากแต่ไม่ทรงได้รับพระราชทาน

รายพระนามราชกุมารี[แก้]

เจ้าหญิงที่ทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็น "ราชกุมารี" อย่างเป็นทางการมีจำนวน 7 พระองค์ ดังนี้

  เป็นที่ถกเถียง
ลำดับ พระรูป พระนาม
ชาตะ
ดำรงตำแหน่ง
จาก (ปี) ถึง (ปี)
พระราชธิดาใน ปีที่เสกสมรส พระสวามี
ชาตะ
หมายเหตุ
1 Maria Stuart als weduwe van Willem II Rijksmuseum SK-A-142.jpeg เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี
1631–1660
1642–1660 พระเจ้าชาลส์ที่ 1
1600–1649
1641 เจ้าชายวิลเลียมที่ 2 แห่งออเรนจ์
1626–1650
Princess Louisa Maria Theresa Stuart by Alexis Simon Belle.jpg เจ้าหญิงลุยซา มาเรีย สจวร์ต
1692–1712
1692–1712 พระเจ้าเจมส์ที่ 2
1633–1701
2 Anna van Hannover by Johann Valentin Tischbein 1753.jpeg เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
1709–1759
1727–1759 พระเจ้าจอร์จที่ 2
1683–1760
1734 เจ้าชายวิลเลียมที่ 4 แห่งออเรนจ์
1711–1751
3 Charlotte Mathilde von England.jpg เจ้าหญิงชาร์ลอตต์ พระราชกุมารี
1766–1828
1789–1828 พระเจ้าจอร์จที่ 3
1738–1820
1797 พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งเวือร์ทเทิมแบร์ค
1754–1816
4 Victoria, Princess Royal.jpg เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี
1840–1901
1841–1901 สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
1819–1901
1858 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งเยอรมนี
1831–1888
ทายาทโดยสันนิษฐาน 1840–1841
5 Louise Princess Royal.jpg เจ้าหญิงลูอีส พระราชกุมารี
1867–1931
1905–1931 สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
1841–1910
1889 อเล็กซานเดอร์ ดัฟฟ์ ดยุกที่ 1 แห่งไฟฟ์
1849–1912
6 Mary, Princess Royal and Countess of Harewood.jpg เจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารี
1897–1965
1932–1965 สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5
1865–1936
1922 เฮนรี ลาสเซลเลส เอิร์ลที่ 6 แห่งแฮร์วูด
1882–1947
7 Anne of Great Britain (1950) June 2013.jpg เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
1950–
1987–ปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
1926–2022
1973–1992 ร้อยเอกมาร์ก ฟิลลิปส์
1948-
1992 เซอร์ทิโมธี ลอเรนซ์
1955–

ราชกุมารีในประเทศไทย[แก้]

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้ทรงพระนิพนธ์แปลพระอิสริยยศ Princess Royal ไว้ในหนังสือเกิดวังปารุสก์ และพระนิพนธ์อีกหลายเล่มว่า เจ้าฟ้าพระวรกุมารี บ้างทรงทับศัพท์ตรงตัวว่า เจ้าฟ้าหญิงรอยัล

ส่วนสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น "สยามบรมราชกุมารี"[5] ซึ่งเป็นพระอิสริยยศที่เทียบเท่า "ราชกุมารี"[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๓ อักษร E-G, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2543, หน้า 30.
  2. The Royal Family: Royal Titles. "Style and Title of the Princess Royal." - Royal.gov.uk Retrieved 16 June 2008.
  3. ""The Princess Royal, The British Monarchy". Royal.gov.uk. (Retrieved 2010-01-12.)
  4. 35. Who were the princesses who bore the style "Princess Royal"?
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา), เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓๑ก ฉบับพิเศษ, ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๑
  6. McCargo, Duncan (2010), "Thailand", Regional Oulook: Southeast Asia 2010-2011, Institute of Southeast Asian Studies, p. 55