จอห์น แนช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์
จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ในปี 2006
เกิด13 มิถุนายน ค.ศ. 1928(1928-06-13)
บลูฟิลด์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิตพฤษภาคม 23, 2015(2015-05-23) (86 ปี)
เขตการปกครองท้องถิ่นมอนโร รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสอลิเซีย แนช (สมรส ค.ศ. 1957–1963) (หย่า); (สมรส ค.ศ. 2001–2015) (เสียชีวิตทั้งคู่)
บุตร2[1]
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกอัลเบิร์ต ดับเบิลยู. ทัคเกอร์

จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ (อังกฤษ: John Forbes Nash, Jr.; 13 มิถุนายน 1928 – 23 พฤษภาคม 2015[2]) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน มีความเชี่ยวชาญเรื่องทฤษฎีเกม, เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ และสมการเชิงอนุพันธ์แบบแบ่งส่วน ดำรงตำแหน่งนักวิจัยอาวุโสสาขาคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 1994 จากผลงานเรื่องทฤษฎีเกมร่วมกับ Reinhard Selten และ John Harsanyi

ชีวประวัติของแนชได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังในวงการฮอลลีวูด ชื่อ ผู้ชายหลายมิติ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ได้ถึง 8 รายการ เนื้อหาในภาพยนตร์จะเกี่ยวกับนักคณิตศาสตร์ผู้ปราชญ์เปรื่องคนหนึ่งที่มีชื่อเดียวกับเขา และต้องต่อสู้กับโรคประสาทหลอนเช่นเดียวกัน

วัยเด็กและการศึกษา[แก้]

แนชเกิดและเติบโตในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย บิดาของเขาคือ จอห์น ฟอบส์ แนช เป็นวิศวกรไฟฟ้าและมารดาของเขาคือ มากาเรต เวอร์จิเนีย มาร์ติน เป็นครูสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาละติน ต่อมา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1930 มารดาของเขาก็ได้ให้กำเนิดน้องสาว คือ มาร์ธา แนช

เมื่อแนชอายุได้ 12 ปี เขาก็เริ่มทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องนอนของเขา แนชเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บตัวเงียบและไม่อยากจะทำงานร่วมกับผู้อื่น เขาชอบทำงานตัวคนเดียวมากกว่า เขาปฏิเสธการอยู่ห้องร่วมกับคนอื่น แนชปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมชั้นไม่ได้เพราะเพื่อนๆมักจะแกล้งเขาเสมอและเขามักจะนึกว่าตัวเองฉลาดกว่าคนอื่น เขาเชื่อว่าการเต้นรำและการเล่นกีฬาเป็นสิ่งที่ทำให้เขาไม่มีสมาธิกับการทดลองและการเรียนของเขา

มาร์ธา น้องสาวของจอห์น แนชดูเป็นคนปกติมากกว่าจอห์น และจอห์นก็ดูผิดปกติไปจากเด็กคนอื่นๆ มาร์ธาเล่าว่า "จอห์นนี่เป็นคนที่ผิดปกติจากคนอื่น พ่อแม่ก็รู้ว่าเขาผิดปกติ แต่พวกเขาก็รู้ว่าจอห์นนี่ฉลาด เขามักจะทำอะไรด้วยวิธีของตัวเอง แม่บอกว่าการที่ฉันเป็นเพื่อนเล่นให้กับเขาคือสิ่งที่ฉันทำได้เพื่อเขา... แต่ฉันก็ไม่ค่อยสนใจหรอกว่าพี่ชายฉันเป็นคนค่อนข้างแปลก"[3]

แนชเขียนไว้ในหนังสือชีวประวัติของเขาบอกว่า หนังสือเรื่อง Men of Mathematics แต่งโดย E.T. Bell (ที่จริงเป็นเรียงความที่อยู่ใน Fermat) เป็นหนังสือที่ทำให้เขาหันมาสนใจด้านคณิตศาสตร์ แนชเข้าไปเรียนที่วิทยาลัยบลูฟิลด์ตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนไฮสกูลอยู่ ต่อมาก็ได้ศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่สถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน) ในเมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย โดยได้รับทุนการศึกษาเวสติงเฮาส์ ตอนแรก แนชสนใจศึกษาวิชาวิศวกรรมเคมี ต่อมาก็มาศึกษาด้านเคมี ก่อนจะหันมาเปลี่ยนเป็นคณิตศาสตร์ในที่สุด เขาสำเร็จการศึกษาโดยได้รับทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท ในปี 1948 ที่สถาบันคาร์เนกีนั่นเอง

หลังจากจบการศึกษาแล้ว แนชทำงานในช่วงหน้าร้อนที่เมืองไวท์โอค รัฐแมริแลนด์ โดยเป็นทำวิจัยเกี่ยวกับทหารเรือภายใต้การควบคุมของนักคณิตศาสตร์ชื่อ Clifford Truesdell

หลังจบการศึกษา[แก้]

ในปี 1948 ช่วงที่แนชกำลังสมัครงานที่ภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันอยู่นั้น ศาสตราจารย์ R.J. Duffin ที่ปรึกษาของแนชและอดีตศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกีได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้กับแนชโดยมีใจความสั้น ๆ คือ "เด็กหนุ่มนี้เป็นอัจฉริยะ"[4] แต่ว่ากลายเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่ตอบรับการสมัครงานของแนชก่อน ซึ่งที่จริงแล้ว ฮาร์วาร์ดเป็นเป้าหมายอันดับหนึ่งของเขาเพราะเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมายาวนานและมีคณะคณิตศาสตร์ที่โด่งดัง แต่ Solomon Lefschetz หัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันและจอห์น เอส. เคเนดี แนะนำเขาว่าฮาร์วาร์ดคงจะไม่เห็นค่าของเขาเท่าที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน[3] จนในที่สุด แนชจึงได้ตัดสินใจย้ายจากไวท์โอคมาทำงานที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน และทำงานอยู่ที่นั่นจนเกิดทฤษฎีดุลยภาพของเขา ที่เรียกว่า สมดุลแบบแนช (ทฤษฎีดุลยภาพของแนช) แนชได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตในปี 1950 จากวิทยานิพนธ์เรื่องทฤษฏีเกมแบบไม่มีความร่วมมือกัน[5] โดยมี Albert W. Tucker เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์นี้ส่วนหนึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับนิยามและคุณสมบัติของสิ่งที่ต่อมาเรียกว่า "ดุลยภาพของแนช" ซึ่งเกี่ยวกับ 3 ประเด็นหลักดังนี้ :

  • "Equilibrium Points in N-person Games", Proceedings of the National Academy of Sciences 36 (1950), 48-49. [1]
  • "The Bargaining Problem", Econometrica 18 (1950), 155-162. [2]
  • "Two-person Cooperative Games", Econometrica 21 (1953), 128-140. [3]

นอกจากนั้น แนชยังได้มีผลงานสำคัญๆเกี่ยวกับเรขาคณิตเชิงพีชคณิตอีกด้วย คือ:

  • "Real algebraic manifolds", Annals of Mathematics 56 (1952), 405-421. [4] See also Proc. Internat. Congr. Math. (AMS, 1952, pp 516-517)

ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาในสาขาของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คือ Nash embedding theorem

บั้นปลายชีวิต[แก้]

ในปี 2015 แนชและหลุยส์ นิเรนเบิร์ก ได้รับรางวัลอาเบล สำหรับผลงานด้านสมการเชิงอนุพันธ์[6][7] แต่ต่อมาในวันที่ 23 พฤษภาคม 2015 แนชและภรรยา อลิเซีย แนช ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต ขณะทั้งคู่โดยสารรถแท็กซี[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cs-slate-2001-12
  2. Famed 'A Beautiful Mind' mathematician John Nash, wife, killed in N.J. Turnpike crash
  3. 3.0 3.1 Nasar, Sylvia. A Beautiful Mind, หน้า 32. Simon & Schuster, 1998 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Nasar ABM" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  4. Kuhn W., Harold. "The Essential John Nash" (PDF). Princeton University Press. pp. Introduction, xi. สืบค้นเมื่อ 2008-04-17. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. "Seeley G. Mudd Manuscript Library : FAQ John Nash". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-05.
  6. A 'long awaited recognition': Nash receives Abel Prize for revered work in mathematics
  7. 'Beautiful mind' John Nash adds Abel Prize to his Nobel
  8. "จอห์น แนช" นักคณิตศาสตร์รางวัลโนเบลเสียชีวิตแล้ว[ลิงก์เสีย]
  9. "โลกสลด อุบัติเหตุพรากชีวิตนักคณิตศาสตร์รางวัลโนเบล-ภรรยา ต้นเรื่อง "Beautiful Mind"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-05-24.