รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งและวิกฤตการณ์การเมืองภายในประเทศพม่า

อองซานซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐพม่า (ซ้าย) และมี่นอองไลง์ หัวหน้าคณะรัฐประหาร (ขวา)
วันที่1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
สถานที่
ผล

รัฐประหารสำเร็จ

คู่สงคราม

รัฐบาลพม่า

 พม่า
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
วี่น-มหยิ่น
(ประธานาธิบดีพม่า)
อองซานซูจี
(ที่ปรึกษาแห่งรัฐ)
มี่นอองไลง์
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของหน่วยบริการป้องกัน)
มหยิ่นซเว
(รองประธานาธิบดีพม่า)

รัฐประหารในประเทศพม่า[4][5] เกิดขึ้นเมื่อตอนเช้าในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เมื่ออองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ, ประธานาธิบดี วี่น-มหยิ่น และผู้นำคนอื่น ๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ถูกทหารพม่าควบคุมตัว หลายชั่วโมงต่อมา กองทัพพม่าประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และแถลงว่า มีการถ่ายโอนอำนาจให้แก่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด[6][7]

ภูมิหลัง[แก้]

ประเทศพม่าถูกทหารปกครองมาตั้งแต่รัฐประหารเมื่อ พ.ศ. 2505 และอองซานซูจี บุตรสาวของอองซาน ผู้ก่อตั้งประเทศสมัยใหม่ รณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจนมีชื่อเสียง ต่อมาใน พ.ศ. 2533 ทหารยอมให้จัดการเลือกตั้งอย่างเสรี และพรรคเอ็นแอลดีของซูจีชนะถล่มทลาย แต่ทหารยังไม่ยอมคลายอำนาจ และกักซูจีไว้ในที่พำนัก

ช่วง พ.ศ. 2554–2558 เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยในเบื้องต้น จนได้เลือกตั้งใน พ.ศ. 2558 ผลปรากฏว่า พรรคเอ็นแอลดีของซูจีได้ชัยชนะ แต่ทหารยังกุมอำนาจสำคัญ ซึ่งรวมถึงอำนาจแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนหนึ่งในสี่[4][8]

รัฐประหารครั้งนี้เป็นผลพวงจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ซึ่งพรรคเอ็นแอลดีได้ที่นั่งในสภา 396 ที่จากทั้งหมด 476 ที่ นับว่าได้เสียงข้างมากยิ่งกว่าการเลือกตั้งที่ชนะในปี พ.ศ. 2558 ส่วนพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา ซึ่งเป็นหุ่นเชิดของทหาร ได้เพียง 33 ที่นั่ง[4]

ทหารโต้แย้งผลการเลือกตั้งโดยอ้างว่า การลงคะแนนไม่สุจริต จนเกิดข่าวลือเรื่องรัฐประหารเป็นเวลาหลายวัน ทำให้มหาอำนาจตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐ แสดงความกังวล[4]

เหตุการณ์[แก้]

มโย ญุน โฆษกพรรคเอ็นแอลดี กล่าวว่า อองซานซูจี, วี่น-มหยิ่น, ฮานตา-มหยิ่น และผู้นำพรรคอีกหลายคนถูก "นำตัว" ไปในช่วงเช้า และตัวเขาคงถูกควบคุมตัวในไม่ช้าเช่นกัน[9] ช่องทางสื่อสารหลายช่องหยุดทำงาน สายโทรศัพท์เข้าสู่กรุงเนปยีดอขัดข้อง เอ็มอาร์ทีวี โทรทัศน์ของรัฐ ระบุว่า ไม่สามารถออกอากาศได้เนื่องจาก "ปัญหาทางเทคนิค"[9] และมีรายงานอินเทอร์เน็ตล่มเมื่อ 3 นาฬิกา[10] มีผู้พบเห็นทหารในกรุงเนปยีดอและเมืองหลักอย่างย่างกุ้ง[11]

ต่อมา ทหารประกาศออกสำนักข่าวเมียวดีโทรทัศน์ที่ตนควบคุมว่า จะเข้าควบคุมประเทศเป็นเวลาหนึ่งปี[12] มีแถลงการณ์ซึ่งมหยิ่นซเว รักษาการประธานาธิบดี ลงนาม ประกาศว่า ความรับผิดชอบด้าน "นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ" ได้ถ่ายโอนไปให้แก่พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ทั้งสิ้นแล้ว[13] มีการเรียกประชุมสภากลาโหมและความมั่นคง โดยมีมหยิ่นซเว รักษาการประธานาธิบดี เป็นประธาน และมีนายทหารระดับสูงเข้าร่วม จากนั้น ทหารแถลงว่า จะจัดเลือกตั้งใหม่ และคืนอำนาจให้ต่อเมื่อเลือกตั้งแล้วเท่านั้น[14]

การประท้วง[แก้]

ชาวพม่าราว 200 คน กับชาวไทยที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยอีกจำนวนหนึ่ง ชุมนุมประท้วงรัฐประหารครั้งนี้ที่สถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ ประเทศไทย[15] การประท้วงยุติลงด้วยการถูกตำรวจไทยปราบปราม ผู้ประท้วงบางคนบาดเจ็บ บางคนถูกจับ[16]

ชาวพม่าในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น รวมตัวกันประท้วงที่หน้าสำนักงานสหประชาชาติเช่นกัน[17]

ปฏิกิริยา[แก้]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ[แก้]

  พม่า
  ประณาม
  ห่วงกังวล
  เป็นกลาง
  ไม่มีท่าที

หลายประเทศ อาทิ บังคลาเทศ[18] จีน[19] อินเดีย[20] อินโดนีเซีย[21] มาเลเซีย[22] ปากีสถาน[23] ฟิลิปปินส์[24] เกาหลีใต้[25] และ สิงคโปร์[26] แสดงความห่วงกังวลต่อการรัฐประหาร และสนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อแก้ปัญหา ในขณะที่ ออสเตรเลีย[27][28] แคนาดา[29] ฝรั่งเศส[30] เยอรมนี[31] ญี่ปุ่น[32] นิวซีแลนด์[33] สเปน[34] สวีเดน[35] ตุรกี[36] สหราชอาณาจักร[37] และ สหรัฐ[38] ได้ออกแถลงประณามการรัฐประหาร พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวอองซานซูจี และผู้นำคนอื่น ๆ; ทางด้านทำเนียบขาวได้ออกแถลงการขู่ว่าจะใช้มาตราการคว่ำบาตร[39][40][41]

กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ได้ออกมาปฏิเสธสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พร้อมระบุอีกว่ารัฐประหารดังกล่าวเป็นกิจการภายใน[42][43][44] ทางด้านองค์การระหว่างรัฐบาลอย่าง สหประชาชาติ[45] อาเซียน,[46][47] และ สหภาพยุโรป ได้ออกมาแสดงความกังวล พร้อมเรียกร้องให้มีการเจรจากันก่อนจากทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้สหภาพยุโรปยังออกแถลงการประณามเพิ่มและเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขัง[48]

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจัดการประชุมฉุกเฉินเพื่อพิจารณาร่างมติที่กระตุ้นให้พม่าหวนคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว ทั้งประณามการกระทำของกองทัพพม่าและเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษ แต่จีนและรัสเซียใช้สิทธิยับยั้ง[49] ด้านอินเดียและเวียดนามยังตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับข้อมตินี้[50]

ต่อมาวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ของพม่าเยือนประเทศไทยเป็นชาติแรก[51] ซึ่งหนังสือพิมพ์รัฐของพม่าระบุว่า ทางการไทยเป็นผู้เชิญ นับเป็นเครื่องมือหนึ่งของทางการพม่าในการสร้างความชอบธรรม[52]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Myanmar coup: Aung San Suu Kyi detained as military seizes control". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  2. 2.0 2.1 "Myanmar's Military Leader Declares Himself Prime Minister And Promises Elections". Associated Press. NPR. 2 August 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2021. สืบค้นเมื่อ 10 August 2021.
  3. "Amid Coup, Myanmar's NLD Lawmakers Form Committee to Serve as Legitimate Parliament". The Irrawaddy. 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Beech, Hannah (31 January 2021). "Myanmar's Leader, Daw Aung San Suu Kyi, Is Detained Amid Coup". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  5. Mahtani, Shibani; Lynn, Kyaw Ye. "Myanmar military seizes power in coup after detaining Aung San Suu Kyi". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  6. Foundation, Thomson Reuters. "Myanmar army says carried out detentions in response to election fraud". news.trust.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  7. "Myanmar gov't declares 1-year state of emergency: President's Office". www.xinhuanet.com.
  8. "As Myanmar opens to the world, the mess inside becomes more apparent". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  9. 9.0 9.1 Foundation, Thomson Reuters. "Aung San Suu Kyi and other leaders arrested, party spokesman says". news.trust.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  10. "Internet disrupted in Myanmar amid apparent military uprising". NetBlocks (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  11. "Myanmar's Aung San Suu Kyi 'detained by military', NLD party says". BBC News. 2021-02-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  12. "Myanmar military says it is taking control of the country". AP NEWS. 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  13. "Myanmar military stages coup, declares state of emergency for a year". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  14. "Myanmar to clarify voter fraud, hold new round of elections". The Myanmar Times. 2021-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  15. "ด่วน! ชาว 'พม่า' ชู 3 นิ้วบุกประท้วงหน้าสถานทูต ต้านรัฐประหารในประเทศ". Bangkok Biz News. 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  16. Myanmar’s military stages coup d’etat: Live news
  17. "Myanmar workers in Japan protest against Tatmadaw's actions". The Myanmar Times. 2021-02-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-01.
  18. "Bangladesh wants democratic process upheld in Myanmar". Dhaka Tribune. 2A Media Limited. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  19. "China 'notes' Myanmar coup, hopes for stability". REUTERS. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  20. "Deeply concerned by developments in Myanmar, says India". The Times of India. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  21. "Indonesia Urges All Parties in Myanmar to Exercise Self-Restraint". Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Indonesia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  22. "Press Release: Latest Situation in Myanmar". Ministry of Foreign Affairs (Malaysia). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  23. "Pakistan hopes from all sides in Myanmar to be restraint, work for peace: Zahid Hafeez". www.radio.gov.pk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  24. Lee-Brago, Pia (3 February 2021). "Philippines following Myanmar situation with deep concern". Philstar.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  25. "S. Korea expresses concerns over Myanmar coup". Yonhap News Agency. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  26. "MFA Spokesperson's Comments in Response to Media Queries on the Detention of Myanmar Leaders and Officials". Ministry of Foreign Affairs Singapore. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  27. Tillett, Andrew (1 February 2021). "Australia joins global condemnation of Myanmar generals". Financial Review. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  28. "Statement on Myanmar". Minister for Foreign Affairs – Minister for Women – Senator the Hon Marise Payne. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021.
  29. "Justin Trudeau on Myanmar: "The democratic process must be respected"". Cult MTL. 2 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  30. "France calls on Myanmar military to release Suu Kyi, respect election results". uk.sports.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  31. "Germany condemns Myanmar coup 'in strongest terms'". Aa.com.tr. 8 November 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  32. "Japan urges Myanmar military to free Suu Kyi, restore democracy". Manila Bulletin. Agence France-Presse. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  33. Mahuta, Nanaia (1 February 2021). "New Zealand statement on Myanmar". via beehive.gov.nz. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  34. "Sánchez condena el golpe de Estado en Myanmar y pide vuelta a la democracia". La Vanguardia (ภาษาสเปน). 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  35. "Foreign Minister condemns military coup in Myanmar". sverigesradio.se. Sveriges Radio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  36. Bir, Burak (1 February 2021). "Turkey condemns, 'deeply concerned' by coup in Myanmar". Anadolu Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  37. "UK condemns military coup in Myanmar". Anadolu Agency. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  38. "Statement by White House Spokesperson Jen Psaki on Burma". The White House. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  39. Patrick Wintour; Julian Borger (2 February 2021). "Myanmar coup: Joe Biden threatens to resume sanctions". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  40. "'Serious blow to democracy': World condemns Myanmar military coup". Al Jazeera. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  41. Cherni, Hajer (1 February 2021). "La Maison Blanche menace les auteurs du coup d'État militaire du Myanmar de sanctions" [White House threatens perpetrators of Myanmar military coup with sanctions]. Anadolu Agency (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  42. "West condemns Myanmar coup but Thailand, Cambodia shrug". Bangkok Post. Bangkok Post Public Company Ltd. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  43. "Myanmar's army seizes power, detains Aung San Suu Kyi". National Post (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). Reuters. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  44. "Myanmar military coup: Nordic and Asian reactions". ScandAsia. 2 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  45. "Statement attributable to the Spokesperson for the Secretary General – on Myanmar". United Nations Secretary-General. 31 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  46. "ASEAN calls for "return to normalcy" in Myanmar after coup". Reuters. 1 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  47. Christiastuti, Novi (1 February 2021). "Negara-negara ASEAN Bahas Kudeta Militer di Myanmar" [Intergovernmental Organization ASEAN Discusses Military Coup in Myanmar] (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  48. Adkins, William (1 February 2021). "EU leaders condemn military coup in Myanmar". Politico. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
  49. "Myanmar coup: China blocks UN condemnation as protest grows". BBC News. 3 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2021. สืบค้นเมื่อ 3 February 2021.
  50. "Aung San Suu Kyi could face two years in jail over 'illegal' walkie-talkies". The Guardian. 3 February 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 February 2021.
  51. "Myanmar foreign minister visits Thailand, 1st visit abroad since coup". Kyodo News+. สืบค้นเมื่อ 25 February 2021.
  52. Rojanaphruk, Pravit (28 February 2021). "Opinion: Thai Gov't's Risky Gamble on Myanmar Junta". Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.