ระเบียงกรตารปุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระเบียงกรตารปุระ มุ่งหน้าเข้าประเทศปากีสถาน จากฝั่งประเทศอินเดีย
คุรุทวาราทรพารสาหิบ กรตารปุระ ที่มาของโครงการก่อสร้างระเบียงกรตารปุระ

ระเบียงกรตารปุระ (อังกฤษ: Kartarpur Corridor; ปัญจาบ: ਕਰਤਾਰਪੁਰ ਲਾਂਘਾ (อักษรคุรมุขี), کرتارپور لانگھا (อักษรชาห์มุขี), อักษรโรมัน: kartārpur lāṅghā; อูรดู: کرتارپور راہداری, อักษรโรมัน: kartárpúr ráhdári) เป็นระเบียงพรมแดนบนพรมแดนระหว่างประเทศอินเดียและประเทศปากีสถาน เพื่อเชื่อมต่อศาสนสถานของซิกข์ เดรา บาบา นานัก สาหิบในรัฐปัญจาบของอินเดีย กับ คุรุทวาราทรพารสาหิบ กรตารปุระในแคว้นปัญจาบของปากีสถานเข้าด้วยกัน ระเบียงนี้มีเป้าหมายให้ศาสนิกชนซิกข์จากฝั่งอินเดียสามารถเดินทางไปทรพารสาหิบ กรตารปุระ ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญแห่งหนึ่งของศาสนาซิกข์ ตั้งอยู่ 4.7 กิโลเมตรจากพรมแดนปากีสถาน-อินเดีย โดยไม่ต้องใช้วีซ่า[1]

มีการวางศิลาฤกษ์ของกรตารปุระในฝั่งอินเดียขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2018 ตามด้วยในฝั่งปากีสถานในอีกสองวันถัดมา ระเบียงนี้วางแผนไว้ว่าจะสร้างให้เสร็จก่อนการครบรอบ 550 ปีชาตกาลของคุรุนานักเทพ ในเดือนพฤศจิกายน 2019[2]

อิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีแห่งปากีสถานเปรียบเปรยการตัดสินใจสร้างระเบียงนี้กับการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน ด้วยว่าโครงการนี้จะช่วยลดความตึงเครียดระหว่างปากีสถานและอินเดียลงได้[2][3] อย่างไรก็ตาม ประธานกองทัพอินเดีย พิปิน รวัต ระบุว่าโครงการนี้ควรมองในลักษณะโดดเดี่ยว และไม่ได้เกี่ยวกับอะไรเลย นอกจากนี้ยังเสริมส่าเป็นการตัดสินใจที่เกิดผลฝ่ายเดียว (unilateralism)[4][5]

ก่อนหน้าการสร้างระเบียงนี้ ผู้แสวงบุญต้องเดินทางโดยรถบัสโดยสารไปยังลาฮอร์ และจึงจ่อรถเข้าไปยังกรตารปุระ รวมระยะทาง 125 กิโลเมตร ทั้ง ๆ ที่ผู้คนสามารถเห็นอาคารของคุรุทวาราทรพารสาหิบ กรตารปุระ ในปากีสถาน ได้จากฝั่งพรมแดนของอินเดีย ในปัจจุบันมีเพียงจุดชมวิวยกระดับในฝั่งอินเดีย ริมพรมแดน ที่ผู้คนสามารถมองผ่านกล้องส่องทางไกลเพื่อชมความศักดิ์สิทธิ์ของทรพารสาหิบ กรตารปุระ ได้[6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kartarpur Corridor: Visa-free pilgrimage route a good confidence-building measure, but thaw in India-Pakistan ties still a mirage - Firstpost". www.firstpost.com. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  2. 2.0 2.1 "Pakistan prime minister to lay foundation stone for Kartarpur corridor on Wednesday - Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 28 November 2018.
  3. "Pakistan PM Imran Khan to lay foundation stone of Kartarpur corridor today". Hindustan Times. 28 November 2018.
  4. "Should See Pak's Kartarpur Initiative In Isolation: General Bipin Rawat". NDTV News. 28 November 2018.
  5. "Kartarpur corridor should be seen in isolation: General Rawat". ANI. 28 November 2018.
  6. "A shrine so near, yet so far: Their prayers travel across border, they can't". The Indian Express. 15 August 2017.
  7. Parashar, Sachin (23 November 2018). "Cabinet clears corridor for Kartarpur up to Pakistan border". The Times of India.
  8. Haidar, Suhasini (25 November 2018). "Kartarpur marks a fresh start". The Hindu. ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 11 December 2018.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]