ข้ามไปเนื้อหา

รอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดี
พระอนุสรณ์ของรอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดีที่มหาวิหารกลอสเตอร์
ดยุกแห่งนอร์ม็องดี
ระหว่าง9 กันยายน 1087 – 1106
ก่อนหน้าวิลเลียมที่ 3 ผู้พิชิต
ถัดไปเฮนรีที่ 1
ประสูติราว ค.ศ. 1051 หรือ ค.ศ. 1054
สิ้นพระชนม์10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1134
คู่อภิเษกซิบิลลาแห่งคอนเวอร์ซาโน
ราชวงศ์นอร์มัน
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชมารดามาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส

รอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดี หรือ รอเบิร์ต เคอร์ทโฮส (ภาษาอังกฤษ: Robert II, Duke of Normandy) (ราว ค.ศ. 1051 หรือ ค.ศ. 1054 - 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1134) รอเบิร์ตที่ 2 ดยุกแห่งนอร์มังดีเป็นนักการทหารชาวอังกฤษ รอเบิร์ตเกิดในแคว้นนอร์มังดีในฝรั่งเศส เมื่อราว ค.ศ. 1051 หรือ ค.ศ. 1054 เป็นพระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษและมาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส รอเบิร์ตเป็นดยุกแห่งนอร์มังดีระหว่างปี ค.ศ. 1087 ถึงปี ค.ศ. 1106 แต่ไม่สามารถอ้างสิทธิในการครองราชบัลลังก์ของราชอาณาจักรอังกฤษได้สำเร็จ ชื่อเล่น “Curthose” มาจากภาษานอร์มันฝรั่งเศสว่า “Courtheuse” ที่แปลว่าถุงน่องสั้น วิลเลียมแห่งมาล์มสบรี (William of Malmesbury) และ ออร์เดริค ไวทาลิส (Orderic Vitalis) บันทึกว่าพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ทรงเรียกแผลงว่า “brevis-ocrea” (บูทสั้น) รอเบิร์ตมีบทบาทในการเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งที่ 1

พระประวัติ

[แก้]

ครอบครัว

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์โรเบิร์ต เคอร์โธสในคริสต์ศตวรรษที่ 19

โรเบิร์ต (รอแบร์ต) เคอร์โธส พระราชโอรสพระองค์โตของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (ผู้พิชิต) กับมาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส์ ประสูติในนอร์มองดีราวปี ค.ศ. 1051 พระสมัญญาของโรเบิร์ต เคอร์โธส มาจากภาษานอร์มันฝรั่งเศส courtheuse ที่แปลว่า "ถุงน่องสั้น" นักพงศาวดาร วิลเลียมแห่งมัล์มสบรีกับออร์เดอริค วิตาลิส เล่าว่าชื่อที่ดูถูกดูแคลนนี้มาจากพระราชบิดาของโรเบิร์ตที่ล้อเลียนรูปร่างอันเตี้ยของพระราชโอรส

โรเบิร์ตมีพระพี่น้องอย่างน้อยแปดพระองค์ ลำดับการเกิดของพี่น้องชายนั้นชัดเจน แต่ของพี่น้องหญิงนั้นไม่ชัดเจน ในวัยเด็ก โรเบิร์ตถูกหมั้นหมายให้แต่งงานกับมาร์เกอริตแห่งเมน บุตรสาวของอูกที่ 4 เคานต์แห่งเมน แต่มาร์เกอริตเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1063 ก่อนที่การแต่งงานของทั้งคู่จะเกิดขึ้น โรเบิร์ตกล้าหาญและได้รับการฝึกฝนอย่างดีสมเป็นอัศวิน แต่ก็ขี้เกียจและมีบุคคลิกที่อ่อนแอ

ในปี ค.ศ. 1066 พระบิดาของโรเบิร์ต วิลเลียมที่ 3 ดยุคแห่งนอร์มองดี บุกอังกฤษและปราบกษัตริย์แองโกลแซกซันคนสุดท้าย พระเจ้าแฮโรลด์ กอดวินสัน ที่สมรภูมิเฮสติงส์ ดยุคแห่งนอร์มองดีกลายเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนที่การแบ่งดินแดนจะเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1087 โรเบิร์ตกับพระอนุชามีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีนัก นักพงศาวดารในยุคนั้น ออร์เดอริค วิตาลิส เขียนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เลเกลอในนอร์มองดีในปี ค.ศ. 1077 ว่าวิลเลียม รูฟัสกับเฮนรีเบื่อกับการเล่นทอยลูกเต๋าและหันไปเล่นซนด้วยการราดน้ำใส่พระเชษฐา โรเบิร์ต จากหอศิลป์ที่อยู่ด้านบน โรเบิร์ตโกรธมาก พระบิดาของทั้งสามเข้ามาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ความสงบกลับคืนมา ทรงโกรธที่พระบิดาไม่ลงโทษพระอนุชา โรเบิร์ตกับผู้ติดตามจึงพยายามจะปิดล้อมปราสาทรูออง (นอร์มองดี) แต่ถูกบีบให้หนีเมื่อดยุคแห่งนอร์มองดีโจมตีค่ายของพระองค์ เรื่องนี้นำไปสู่ความห่างเหินเป็นเวลา 3 ปีระหว่างโรเบิร์ตกับครอบครัวที่จบลงด้วยการไกล่เกลี่ยของพระมารดาของโรเบิร์ต

ดยุคแห่งนอร์มองดี

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1087 พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แบ่งดินแดนให้กับพระโอรสทั้งสอง โรเบิร์ต เคอร์โธสได้รับดัชชีนอร์มองดี ส่วนวิลเลียม รูฟัสได้รับราชอาณาจักรอังกฤษ เฮนรีได้รับเหรียญเงิน 5,000 ปอนด์กับทรัพย์สินที่ดินในอังกฤษของพระมารดา พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (ผู้พิชิต) สิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 โรเบิร์ต เคอรโธสกลายเป็นโรเบิร์ตที่ 3 เคอร์โธส ดยุคแห่งนอร์มองดี ส่วนวิลเลียม รูฟัสกลายเป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 รูฟัส แห่งอังกฤษ เฮนรีได้รับเงิน แต่ไม่ได้ที่ดิน

พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 รูฟัส แห่งอังกฤษ

[แก้]
พระสาทิสลักษณ์ของโรเบิร์ต เคอร์โธส ระหว่างการปิดล้อมแอนเทียช ในช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 1

วิลเลียม รูฟัสกับโรเบิร์ต เคอร์โธสยังคงมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีต่อไป วิลเลียม รูฟัสเปลี่ยนไปเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างสนับสนุนโรเบิร์ตให้ต่อกรกับกษัตริย์ฝรั่งเศสกับอยู่ฝ่ายตรงข้ามเพื่อที่จะได้ควบคุมนอร์มองดี เฮนรีถูกบีบให้เลือกระหว่างพระเชษฐาทั้งสองอยู่เสมอและเมื่อพระเชษฐาคนหนึ่งถูกเลือก อีกคนก็จะโกรธพระองค์ หลังวิลเลียมที่ 1 สิ้นพระชนม์และดินแดนถูกแบ่ง ขุนนางที่มีดินแดนอยู่ทั้งในนอร์มองดีและในอังกฤษค้นพบว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรับใช้ลอร์ดทั้งสองพร้อมกัน หากพวกเขาสนับสนุนวิลเลียม รูฟัส โรเบิร์ตก็จะริบดินแดนของพวกเขาในนอร์มองดี หากเขาสนับสนุนโรเบิร์ต พวกเขาก็เสี่ยงที่จะเสียดินแดนในอังกฤษ

ทางออกเดียวที่เหล่าขุนนางมองเห็นคือการรวมนอร์มองดีกับอังกฤษเข้าด้วยกัน และเรื่องนี้นำไปสู่การก่อการปฏิวัติต่อพระเจ้าวิลเลียม รูฟัสเพื่อเปิดทางให้โรเบิร์ตในการก่อกบฏปี ค.ศ. 1088 ภายใต้การนำของบิชอปโอโดแห่งบายูซ์ พี่น้องชายร่วมแม่ของวิลเลียมผู้พิชิต การก่อกบฏไม่ประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งเพราะโรเบิร์ตไม่ได้แสดงตัวว่าสนับสนุนเหล่าขุนนางอังกฤษ

ในปี ค.ศ. 1096 โรเบิร์ตออกเดินทางไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์เพื่อทำสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เพื่อเพิ่มเงินทุนในการทำสงครามครูเสด พระองค์จำนองดัชชีนอร์มองดีกับพระเชษฐา พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 รูฟัส สองพระเชษฐาทำข้อตกลงร่วมกันว่าหากคนใดคนหนึ่งสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาท ทั้งนอร์มองดีและอังกฤษจะถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อีกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ แล้ววิลเลียม รูฟัสก็ปกครองนอร์มองดีเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในช่วงที่โรเบิร์ตไม่อยู่

ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1100 พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 รูฟัส ขี่ม้าออกจากปราสาทวินเชสเตอร์ ออกเดินทางไปล่าสัตว์ที่นิวฟอเรสต์ โดยมีพระอนุชา เฮนรี กับขุนนางอีกหลายคนติดตามไปด้วย อ้างอิงตามบันทึกในสมัยนั้น วิลเลียม รูฟัสกำลังไล่ล่ากวางตัวผู้โดยมีขุนนาง วอลแตร์ ทิเรลคอยติดตาม วิลเลียม รูฟัสยิงธนู แต่ไม่โดนกวาง พระองค์จึงตะโกนบอกวอลแตร์ให้ยิง ซึ่งเขาก็ทำตาม แต่ลูกธนูยิงโดนหน้าอกของกษัตริย์ ทะลุปอด และสังหารพระองค์ วอลแตร์ ทิเรลกระโดดขึ้นมาและหนีไปฝรั่งเศส

พระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ

[แก้]
หลุมพระศพของโรเบิร์ตในมหาวิหารกลอสเตอร์
หอคอยในปราสาทคาร์ดิฟฟ์ที่โรแบร์ต์ เคอร์โธสทรงถูกกักขังเป็นเวลา 26 ปี

พระเชษฐาของวิลเลียม รูฟัส โรเบิร์ต เคอร์โธส ยังคงทำสงครามครูเสดอยู่ ดังนั้นพระอนุชาของพระองค์ เฮนรี จึงสามารถฉกฉวยเอาราชบัลลังก์อังกฤษมาเป็นของตัวเองได้ เฮนรีรีบไปที่วินเชสเตอร์เพื่อดูแลรักษาท้องพระคลังหลวง วันหลังจากพิธีศพของวิลเลียม รูฟัสที่วินเชสเตอร์ เหล่าขุนนางเลือกเฮนรีเป็นกษัตริย์ เฮนรีออกเดินทางไปลอนดอนเพื่อรับการสวมมงกุฎโดยอาร์ชบิชอปแห่งลอนดอนสามวันหลังการสิ้นพระชนม์ของวิลเลียม พระเจ้าเฮนรีที่ 1 ไม่รอให้อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์บรีมาถึง ยังคงมีคนคิดว่ามีการสมคบคิดกันวางแผนลอบสังหารวิลเลียม รูฟัส

ระหว่างเดินทางกลับจากสงครามครูเสด โรเบิร์ตแต่งงานกับทายาทหญิงผู้ร่ำรวย ซีบิลลาแห่งคอนแวร์ซาโน ในปี ค.ศ. 110 ที่บ้านเกิดของเจ้าสาว อาปูเลีย (ปัจจุบันอยู่ในอิตาลี) การสิ้นพระชนม์ของวิลเลียมจะทำให้โรเบิร์ตไม่จำเป็นต้องไถ่ถอนดัชชี หลังกลับถึงนอร์มองดี และพบว่าหนึ่งในพี่น้องชายของตนสิ้นพระชนม์แล้ว และพี่น้องชายอีกคนของคนได้ฉกฉวยเอาบัลลังก์อังกฤษไป โรเบิร์ตอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อังกฤษโดยอิงจากข้อตกลงที่ทรงทำไว้กับวิลเลียม รูฟัส ที่ว่าหากคนใดคนหนึ่งสิ้นพระชนม์โดยไร้ทายาท ทั้งนอร์มองดีและอังกฤษจะถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้อีกคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ในปี ค.ศ. 1101 โรเบิร์ตเป็นผู้นำในการรุกรานเพื่อขับไล่พระอนุชา เฮนรี จากบัลลังก์อังกฤษ พระองค์ขึ้นฝั่งที่พอร์ตสมัธพร้อมกับกองทัพ แต่พบว่ามีผู้สนับสนุนพระองค์น้อยมาก โรเบิร์ดถูกบีบให้ล้มเลิกการอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์อังกฤษในปี ค.ศ. 1101 ด้วยสนธิสัญญาอันทอน

ไม่ถึงหกเดือนหลังให้กำเนิดบุตรชาย ซีบิลลาเสียชีวิตในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1103 ที่รูอองในนอร์มองดีและถูกฝังที่มหาวิหารรูออง อ้างอิงตามนักพงศาวดาร ออร์เดอริค วิตาลิสกับรอแบร์ต์ เดอ ตอรินญี ซีบิลลาถูกวางยาพิษโดยภรรยาลับของสามี แอกเนส เดอ ริเบอมงต์

ในปี ค.ศ. 1105 พระเจ้าเฮนรีที่ 1 บุกนอร์มองดีและปราบกองทัพของโรเบิร์ตที่สมรภูมิแห่งทินเชอเบรย์ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 1106 นอร์มองดีตกอยู่ในการครอบครองของราชบัลลังก์อังกฤษเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ โรเบิร์ตถูกจับกุมหลังการทำสมรภูมิและใช้ชีวิตที่เหลือในการถูกจองจำ ตอนแรกที่ปราสาทเดไวเซสเป็นเวลา 20 ปี ต่อมาที่ปราสาทคาร์ดิฟฟ์ตลอดชีวิตที่เหลือ โรเบิร์ต เคอร์โธสยังดำรงพระชนม์อยู่จนถึงวัยแปดสิบพรรษาและสิ้นพระชนม์ที่ปราสาทคาร์ดิฟฟ์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1134 พระองค์ถูกฝังที่แอบบีย์โบสถ์ของนักบุญปีเตอร์ในมหาวิหารกลอสเตอร์

พระบุตร

[แก้]

พระบุตรคนเดียวของโรเบิร์ต วิลเลียม คลิโต ประสบกับโชคร้ายตลอดทั้งชีวิต ความพยายามที่จะบุกนอร์มองดีของเขาสองครั้งล้มเหลว (ปี ค.ศ. 1119 และ 1125) การแต่งงานครั้งแรกของเขากับซีบิลลาแห่งอองฌูถูกประกาศให้เป็นโมฆะจากกลอุบายของอา พระเจ้าเฮนรีที่ 1 การแต่งงานครั้งที่สองของเขากับฌวนนาแห่งมงต์แฟร์ราต์ พระกนิษฐภคินีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส ไม่มีบุตร พระเจ้าหลุยส์ที่ 6 ทรงช่วยให้วิลเลียม คลิโตได้เป็นเคานต์แห่งฟลานเดอร์ส์ แต่วิลเลียมได้รับบาดเจ็บในสนามรบและเสียชีวิตจากเนื้อเน่าตายตอนอายุ 25 ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1128 เขาถูกฝังที่แอบบีย์ของนักบุญแบร์นาร์ด์ แอบบีย์ขอคณะเบเนดิกส์ตินในแซงต์-โอแมร์ ประเทศฝรั่งเศส เขาไม่มีบุตรทิ้งไว้ ส่วนบิดาของเขาสิ้นพระชนม์หลังเขาหกปี

อ้างอิง

[แก้]
  • Barlow, Frank (1983). William Rufus. Berkeley, CA: University of California Press. ISBN 978-0-520-04936-9. OCLC 8954468.
  • David, Charles Wendell (1920). Robert Curthose, Duke of Normandy. Cambridge, MA: Harvard University Press. OCLC 1960516. Also OCLC 187406785 Also published as David, Charles Wendell (1982). Robert Curthose, Duke of Normandy. New York: AMS Press. ISBN 978-0-404-17007-3. OCLC 7976915. Also published as David, Charles Wendell (2007). Robert Curthose, Duke of Normandy. Gardners Books. ISBN 978-1-4326-9296-4. OCLC 166871921.
  • Green, Judith (2000). "Robert Curthose Reassessed". in Harper-Bill, Christopher. Anglo-Norman studies XXII: proceedings of the Battle Conference 1999. Woodbridge: Boydell Press. pp. 95–116. ISBN 978-0-85115-796-2. OCLC 45238208. Also OCLC 247394557
  • Mooers, Stephanie L (Fall 1981). ""Backers and Stabbers": Problems of Loyalty in Robert Curthose's Entourage". Journal of British Studies 21 (1): 1–17. doi:10.1086/385779.

ดูเพิ่ม

[แก้]