ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน (การทัพของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน
ส่วนหนึ่งของ การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ซากของโบสถ์อนุสรณ์ไคเซอร์วิลเฮลม์
วันที่18 พฤศจิกายน 1943 – 31 มีนาคม 1944
สถานที่
ผล เยอรมนีชนะ[1][2]
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
 แคนาดา
 ออสเตรเลีย
 นิวซีแลนด์
 โปแลนด์
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Arthur Harris
สหราชอาณาจักร Ralph Cochrane
สหราชอาณาจักร Don Bennett
สหราชอาณาจักร Roderick Carr
นาซีเยอรมนี แฮร์มันน์ เกอริง
นาซีเยอรมนี ฮันส์-เยือร์เกิน ชตุมพฟ์
นาซีเยอรมนี Joseph Schmid
นาซีเยอรมนี Günther Lützow
นาซีเยอรมนี Max Ibel
นาซีเยอรมนี Walter Grabmann
นาซีเยอรมนี Gotthard Handrick
ความสูญเสีย
  • Bomber Command
  • 2,690 crewmen KIA "over Berlin"
  • nearly 1,000 POW
  • 500 aircraft[3] a 5.8% loss rate
  • ~4,000 killed
  • 10,000 injured
  • 450,000 homeless

ยุทธเวหาที่เบอร์ลิน เป็นการทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรบนเหนือน่านฟ้ากรุงเบอร์ลิน ของนาซีเยอรมนี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ไม่ได้จำกัดเพียงแค่นครเบอร์ลินอย่างเดียว การทัพครั้งนี้ได้มีการวางเป้าหมายไปยังเมืองอื่น ๆ ของเยอรมัน เพื่อเป็นการป้องกันในการปกป้องนครเบอร์ลินอย่างเข้มงวด การทัพได้ถูกเริ่มปฏิบัติการโดยพลอากาศเอกเซอร์ อาเธอร์ แฮร์ริส การรับรองการบิน (AOC) แห่งกองบัญชาการการทิ้งระเบิดแห่งกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF Bomber Command) ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 แฮร์ริสเชื่อว่านี้อาจเป็นผลการทิ้งระเบิดในการหยุดยั้งการต่อต้านเยอรมัน: "เราสามารถก่อวินาศกรรมนครเบอร์ลินได้ตลอดทาง ถ้ากองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ (USAAF) ได้เข้าร่วมมากับเรา เราจะสูญเสียเครื่องบินไประหว่าง 400-500 ลำ.มันจะสร้างความเสียหายต่อเยอรมนีในสงคราม"[4][5]

แฮร์ริสคาดหวังว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดหนักที่สามารถใช้งานได้จำนวน 800 ลำ สำหรับการตีโฉบฉวยได้แต่ละครั้ง ติดตั้งด้วยอุปกรณ์นำทางเครื่องบินแบบใหม่และซับซ้อนอย่างเรดาร์ เอชทูเอส (H2S radar) กองทัพอากาศทหารบกสหรัฐที่เพิ่งสูญเสียเครื่องบินรบจำนวนมากในการโจมตีต่อเมืองชไวน์ฟวร์ท ไม่ได้เข้าร่วมด้วย กองกำลังหลักของกองบัญชาการทิ้งระเบิดได้ออกคำสั่งโจมตีกรุงเบอร์ลินตั้งสิบหกครั้งแต่กลับล้มเหลวในเป้าหมายที่อาจจะก่อให้เกิดความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดต่อเยอรมนี ลุฟท์วัฟเฟอได้ตอบโต้ด้วยปฏิบัติการสเตียนบล็อก (Operation Steinbock, Unternehmen Steinbock, ปฏิบัติการมังกร) โจมตีใส่กรุงลอนดอน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ในทุก ๆ รอบเที่ยวของสเตียนบล็อก ลุฟท์วัฟเฟอได้รับความสูญเสียอย่างหนัก มากกว่ากองทัพสหราชอาณาจักรโจมตีบนเหนือน่านฟ้าเยอรมนี[6]

กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้สูญเสียนักบินมากกว่า 7,000 นาย และเครื่องบินทิ้งระเบิด 1,047 ลำ 5.1 เปอร์เซ็นของรอบเที่ยวบิน และเครื่องบินรบ 1,682 ลำได้รับความเสียหายหรือไม่ก็ตัดออก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1944 กองบัญชาการการทิ้งระเบิดได้เข้าโจมตีเนือร์นแบร์คด้วยเครื่องบินรบ 795 ลำ, 94 ลำซึ่งถูกยิงตกและ 71 ลำ ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้มีการโจมตีโฉบฉวยทางอากาศอื่น ๆ อีกมากต่อกรุงเบอร์ลินโดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร, กองทัพอากาศที่ 8 ของกองทัพอากาศทหารบกสหรัฐ และเครื่องบินทิ้งระเบิดโซเวียต กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรได้มอบให้เป็นการรบแห่งเกียรติยศ (battle honour) สำหรับการทิ้งระเบิดที่เบอร์ลินโดยเครื่องบินรบของกองบัญชาการทิ้งระเบิด ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ถึง ค.ศ. 1945

อ้างอิง[แก้]

  1. Guilmartin 2001, p. 8.
  2. Murray 1985, p. 211.
  3. Oakman 2004.
  4. Brown 1999, p. 309.
  5. Grayling 2006, p. 62.
  6. Hinsley 1994, pp. 414–415.