ยุทธพล อังกินันทน์
ยุทธพล อังกินันทน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 สิงหาคม พ.ศ. 2515 จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2552–2567) |
ยุทธพล อังกินันทน์ (เกิด 22 สิงหาคม พ.ศ. 2515) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวราวุธ ศิลปอาชา) อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 สมัย สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีต รองนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี
ประวัติ
[แก้]ยุทธพล ชื่อเล่น "ป็อบ"[1] เกิดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เป็นบุตรของนายยุทธ อังกินันทน์[2] อดีตรัฐมนตรี (สส.เพชรบุรี 7 สมัย) กับนางบุปผา อังกินันทน์ (สกุลเดิม: รอบรู้) อดีตนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรีหลายสมัยติดต่อกัน นายยุทธพล อังกินันทน์ ได้ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล (SG69) และโรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี ระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโท จากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต[3]
การทำงาน
[แก้]ยุทธพล อังกินันทน์ เริ่มทำงานการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โดยการเป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2541 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองเพชรบุรี (ส.ท.) และได้รับการแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีในปีเดียวกันด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกเทศมนตรีเมืองเพชรบุรี[1] และเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (นายชุมพล ศิลปอาชา เป็น รมว.)
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา[4] และยังได้รับหน้าที่เป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) พร้อมกันนี้ยังได้รับตำแหน่งรองประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐอีกด้วย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี และได้คะแนนสูงสุดในการเลือกตั้งครั้งนั้น (แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ)
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5]
ยุทธพล อังกินันทน์ ยังดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดเพชรบุรี มาหลายสมัยติดต่อกัน ต่อมาในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ยุทธพลได้โพสต์เฟซบุ๊กประกาศลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา โดยให้มีผลในทันที[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 New Gen : ป๊อป ยุทธพล รุ่น 3 ตระกูลอังกินันทน์
- ↑ ยุทธพล เฝ้าให้กำลังใจพ่อ ยุทธ อังกินันทน์ ลั่นขอทำหน้าที่ลูกที่ดีจนวันสุดท้าย
- ↑ "กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2013-11-25.
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2019.
- ↑ "ชทพ.เลือดไหลอีกราย 'ยุทธพล' ประกาศลาออกทุกตำแหน่ง ปัดย้ายพรรค". กรุงเทพธุรกิจ. 5 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2024.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2515
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเพชรบุรี
- สกุลอังกินันทน์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- บุคคลจากโรงเรียนอรุณประดิษฐ
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- สมาชิกกลุ่มผาด