มีววิง (เทคนิคการปรับโครงสร้างใบหน้า)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การมีววิง (อังกฤษ: Mewing) เป็นหนึ่งในรูปแบบของการฝึกท่าทางในช่องปากที่มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างขากรรไกรและใบหน้า [1] ได้รับการตั้งชื่อตามไมค์และจอห์น มีว ทันตแพทย์จัดฟันชาวอังกฤษซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในวงการ ผู้คิดค้นเทคนิคนี้โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติที่พวกเขาเรียกว่าออร์โธโทรปิกส์ (Orthopedics)[2] โดยเกี่ยวข้องกับการวางลิ้นไว้ที่เพดานปากและใช้แรงดันขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างของขากรรไกร [3] [4] ไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือใด ๆ พิสูจน์ถึงประสิทธิภาพของออร์โธโทรปิกส์ได้ [2] ตั้งแต่ ค.ศ. 2019 มีววิงได้รับการรายงานข่าวจากสื่ออย่างกว้างขวางเนื่องจากมีกระแสไวรัลบนโซเชียลมีเดีย [5] โดยเฉพาะในวัฒนธรรมย่อยอินเซลและลุคส์แมกซ์ซิง (looksmaxxing) [2] ในขณะที่เทคนิคนี้ได้รับการกล่าวอ้างถึงข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ[1] [6] ทันตแพทย์จัดฟันจำนวนมากเชื่อว่าการมีววิงยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นวิธีทางเลือกในการรักษาแทนการผ่าตัดจัดฟันได้ [1] ไมค์ มีวถูกขับออกจากสมาคมทันตกรรมจัดฟันแห่งอังกฤษ [2] และกำลังเผชิญกับการพิจารณาคดีประพฤติมิชอบเนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาของเขา [7]

ในสื่อต่าง ๆ[แก้]

เทคนิคนี้ถูกใช้เป็นอินเทอร์เน็ตมีม[8] บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่นติ๊กต็อก ผู้สร้างเนื้อหาชี้ไปที่กรามเพื่อสื่อถึงการมีววิง[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Lee, Urie K.; Graves, Lindsay L.; Friedlander, Arthur H. (1 September 2019). "Mewing: Social Media's Alternative to Orthognathic Surgery?". Journal of Oral and Maxillofacial Surgery (ภาษาEnglish). 77 (9): 1743–1744. doi:10.1016/j.joms.2019.03.024. ISSN 0278-2391. PMID 31005620.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":4" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Brennan, William (2020-12-28). "How Two British Orthodontists Became Celebrities to Incels". The New York Times Magazine. สืบค้นเมื่อ 2024-02-16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":0" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Yasharoff, Hannah. "People on TikTok are 'mewing.' Experts weigh in on this controversial beauty hack". USA Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-02-16.
  4. Millhone, Carley (2023-02-07). "Should You Try Mewing? Here's What the Research Says". Health.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-16.
  5. McClinton, Dream (21 March 2019). "Mewing: what is the YouTube craze that claims to reshape your face?". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
  6. Kanh, Sandra (22 July 2020). "The Jaw Epidemic: Recognition, Origins, Cures, and Prevention". BioScience. 70 (9).
  7. Media, P. A. (2022-11-14). "Orthodontist advised treatment with risk of harm to children, tribunal told". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-02-27.
  8. Garrity, Katie (2024-02-23). "Teachers Are Explaining Why Tween & Teen Students Are "Mewing" In Class". Scary Mommy (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-26.

แม่แบบ:Generation Z slang