ข้ามไปเนื้อหา

มาร์กอ ชเชปอวิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์กอ ชเชปอวิช
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม มาร์กอ ชเชปอวิช
วันเกิด (1991-05-23) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี)
สถานที่เกิด เบลเกรด ยูโกสลาเวีย
ส่วนสูง 1.91 m (6 ft 3 in)
ตำแหน่ง กองหน้าตัวเป้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
Novi Pazar
หมายเลข 44
สโมสรเยาวชน
เมริดา
แรด
2002–2008 พาร์ทีซาน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2008–2010 เตเลออปติก 36 (11)
2010–2013 พาร์ทีซาน 45 (16)
2013–2016 โอลิมเบียโกส 13 (4)
2014–2015มายอร์กา (ยืม) 15 (6)
2015เตเรกกรอซนี (ยืม) 1 (0)
2015–2016มูครง (ยืม) 24 (6)
2016–2019 เฟเฮอร์วาร์ 78 (33)
2019–2020 ชัยคูร์ริเซสปอร์ 10 (0)
2020 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 9 (5)
2021–2022 โอโมเนีย 41 (15)
2023 Lugo 7 (0)
2023– Novi Pazar 0 (0)
ทีมชาติ
2009–2010 เซอร์เบีย อายุไม่เกิน 19 ปี 4 (4)
2011–2012 เซอร์เบีย อายุไม่เกิน 21 ปี 7 (1)
2012–2013 เซอร์เบีย 5 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2017

มาร์กอ ชเชปอวิช (เซอร์เบีย: Марко Шћеповић, ออกเสียง: [mâːrko ʃtɕêpoʋitɕ]; เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1991) เป็นนักฟุตบอลชาวเซอร์เบียที่เล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้า เขาเคยเล่นให้กับบุรีรัมย์ยูไนเต็ดในช่วงเลกแรกของไทยลีก ฤดูกาล 2563–64

สโมสรอาชีพ

[แก้]

ช่วงแรก

[แก้]

ชเชปอวิชเกิดที่เบลเกรด และจบหลักสูตรเยาวชนจากพาร์ทีซาน โดยเคยมีช่วงที่ไปเล่นให้กับสโมสรเมริดาในสเปนและสโมสรแรด เขาเริ่มลงเล่นให้กับเตเลออปติกซึ่งเป็นทีมเยาวชน และทำหลายประตูในเซอร์เบียนเฟิสต์ลีก ฤดูกาล 2009–10

พาร์ทีซาน

[แก้]

ในฤดูร้อนปี 2010 ชเชปอวิชได้เซ็นสัญญาอาชีพกับพาร์ทีซาน โดยในฤดูกาลแรกภายใต้การคุมทีมของอาเล็กซันแดร์ สตานอเยวิช เขาได้ลงเล่นในตำแหน่งกองหน้าร่วมกับลามินา ดิเอร์รา, เอดูอาร์โด ปาเชโก และลาซาร์ มาร์กอวิช

ชเชปอวิชทำประตูแรกในระดับอาชีพเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2010 ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะไฮดูกกูลา 2–0 วันที่ 29 ตุลาคมปีถัดมา หลังจากที่ทำประตูในนัดที่เอาชนะซเมเดเรวอ 3–1 เขาฉลองการทำประตูด้วยการเอานิ้วแตะปากเพื่อบอกขอบคุณแก่แฟนที่ให้กำลังใจเขาบนอัฒจันทร์ฝั่งตะวันออกของสนามกีฬาพาร์ทีซาน[1] วันที่ 26 พฤศจิกายน เขาทำประตูช่วยให้ทีมเอาชนะเรดสตาร์ เบลเกรด 2–0 ในดาร์บีชั่วนิรันดร์กาล[2] นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์เซอร์เบีย สปอร์ตัล ยังได้ให้ชเชปอวิชเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมของนัดนั้น[3]

โอลิมเบียโกส

[แก้]

วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2013 ชเชปอวิชเซ็นสัญญาสี่ปีกับโอลิมเบียโกส ด้วยค่าตัว 3.5 ล้านยูโร[4] ต่อมาวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 เขาทำแฮตทริกแรกในอาชีพของเขา ช่วยให้ทีมบุกไปเอาชนะเกรเต 4–0[5] ชเชปอวิชลงเล่นให้กับสโมสรเพียง 650 นาที โดยลงเล่นเป็นตัวจริงเพียง 7 นัดและทำ 4 ประตู

ถูกปล่อยยืมตัว

[แก้]

วันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ชเชปอวิชถูกปล่อยยืมตัวให้กับมายอร์กาในเซกุนดาดิบิซิออนของสเปน[6] ช่วงต้นฤดูกาล เขาได้ทำประตูในนัดที่พบกับโอซาซูนาและลูโก ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 ชเชปอวิชถูกปล่อยยืมตัวให้กับเตเรกกรอซนีในช่วงที่เหลือของฤดูกาล 2014–15[7] ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ชเชปอวิชถูกปล่อยยืมตัวให้กับรัวยาแล็กแซลมูครง[8]

เฟเฮอร์วาร์และเคย์เคอร์ริเซสปอร์

[แก้]

วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2016 เขาเซ็นสัญญาสามปีกับเฟเฮอร์วาร์[9] ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2019 เขาเซ็นสัญญาสามปีกับเคย์เคอร์ริเซสปอร์ในซือเปร์ลีกของตุรกี[10]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

[แก้]

ในปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 มีข่าวว่าชเชปอวิชกำลังจะย้ายมาบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดในไทยลีก[11] ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2020 เขาถูกตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา[12] ก่อนที่จะเข้ารักษาตัวและหายจากอาการในช่วงกลางเดือนสิงหาคม[13] วันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2020 เขาทำสองประตูในนัดกระชับมิตรที่บุรีรัมย์เปิดสนามช้างอารีนาเอาชนะขอนแก่น ยูไนเต็ด 8–0[14] ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน เขาลงเล่นในไทยลีกครั้งแรกในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสุพรรณบุรี 1–0[15] ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม เขาทำสองประตูในลีก ในนัดที่บุกไปเสมอกับตราด 2–2[16] ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นชาวเซอร์เบียคนที่สองที่ทำประตูให้กับสโมสร ต่อจากกอรัน เยร์คอวิชที่เคยทำได้เมื่อฤดูกาล 2012[17] ต่อมาในวันที่ 31 ตุลาคม ชเชปอวิชทำประตูที่ 3 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านแพ้เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 2–3[18] ต่อมาในวันที่ 7 พฤศจิกายน การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย เขาทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสมุทรสงครามไปอย่างขาดลอย 9–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[19] ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน เขาทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะระยองในนัดตกค้างไปได้ 5–1[20] ต่อมาในวันที่ 22 พฤศจิกายน เขาทำแอสซิสต์ให้รัตนากร ใหม่คามิ ทำประตูในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะสุโขทัยที่สนามทุ่งทะเลหลวง 3–0[21] ต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน เขาทำประตูที่ 5 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์เปิดบ้านแพ้สมุทรปราการ ซิตี้ 1–3[22]

แม้ว่าในช่วงที่อาเลชังดรี กามา เข้ามาเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนแทนที่โบซีดาร์ บันโดวิช ชเชปอวิชจะทำประตูได้อย่างต่อเนื่อง แต่สุดท้ายเขาก็ไม่อยู่ในแผนการทำทีมของกามา เขาจึงแยกทางกับสโมสรหลังจบเลกแรกของฤดูกาล 2563–64[23]

ทีมชาติ

[แก้]

วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ชเชปอวิชลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติเซอร์เบียในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกที่พบกับเบลเยียม ต่อมาเขาได้ลงเล่นเป็นตัวจริงครั้งแรกในนัดที่พบกับโครเอเชียในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกเช่นกัน

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ชเชปอวิชเป็นบุตรของสลาดัน ชเชปอวิช อดีตนักฟุตบอลตำแหน่งกองหน้า และเป็นน้องชายของสเตฟาน ชเชปอวิช นักฟุตบอลตำแหน่งกองหน้าเช่นกัน

สถิติอาชีพ

[แก้]

สโมสร

[แก้]
ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2020
สโมร ฤดูกาล ลีก ถ้วย ทวีป ทั้งหมด
ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
พาร์ทีซาน 2010–11 19 6 3 4 4 0 26 10
2011–12 9 4 2 0 4 1 15 5
2012–13 17 6 2 0 6 1 25 7
รวม 45 16 7 4 14 2 66 22
โอลิมเบียโกส 2013–14 13 4 4 3 0 0 17 7
รวม 13 4 4 3 0 0 17 7
มายอร์กา (ยืม) 2014–15 15 6 1 0 0 0 16 6
รวม 15 6 1 0 0 0 16 6
เตเรกกรอซนี (ยืม) 2015 1 0 0 0 0 0 1 0
รวม 1 0 0 0 0 0 1 0
มูครง (ยืม) 2015–16 24 6 0 0 0 0 24 6
รวม 24 6 0 0 0 0 24 6
เฟเฮอร์วาร์ 2016–17 24 13 1 3 0 0 25 16
2017–18 26 10 2 0 7 5 35 17
2018–19 27 10 8 3 14 1 49 14
2019–20 1 0 0 0 4 0 5 0
รวม 78 33 11 8 25 6 114 47
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2020–21 9 5 2 1 11 6
รวมทั้งหมด 185 70 25 16 39 8 249 94

ทีมชาติ

[แก้]
ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2013
ทีมชาติเซอร์เบีย
ปี ลงเล่น ประตู
2012 2 0
2013 3 0
ทั้งหมด 5 0

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

พาร์ทีซานเบลเกรด

โอลิมเบียโกส

โอโมเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "JSL: Partizan probio smederevsku armaturu, sukob Šćepovića sa navijačima" [JSL: Partizan breaks Smederevo's wall, Šćepović has confrontation with fans] (ภาษาเซอร์เบีย). Sportal. 29 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
  2. "Partizan pobedio Zvezdu 2:0!" [Partizan defeated Red Star by 2–0!] (ภาษาเซอร์เบีย). Vecernje Novosti. 26 November 2011. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
  3. "Sportal analiza: Stojković bez greške, Šćepović heroj!" [Sportal analysis: perfect Stojković, Sćepović hero] (ภาษาเซอร์เบีย). Sportal. 26 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
  4. "Ο Σκέποβιτς στον Ολυμπιακό" [Šćepović in Olympiakos] (ภาษากรีก). Gazzeta.gr. 1 September 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2014.
  5. "Šćepović posle het-trika: Dočekao sam svojih "pet minuta"" [Šćepović after hat-trick: I was waiting for their "five minutes"] (ภาษาเซอร์เบีย). Sportal. 22 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2014. สืบค้นเมื่อ 7 December 2014.
  6. "Marko Scepovic jugará en el Mallorca" [Marko Scepovic will play in Mallorca] (ภาษาสเปน). Mallorca's official website. 20 August 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2014. สืบค้นเมื่อ 21 August 2014.
  7. "Марко Щепович перешел в Терек". fc-terek.ru/ (ภาษารัสเซีย). FC Terek Grozny. 25 February 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 25 February 2015.
  8. ""Μουσκρόν για Σέποβιτς"". www.redder.gr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2017. สืบค้นเมื่อ 20 July 2015.
  9. "Στη Βίντεοτον ο Στσέποβιτς". www.sport24.gr. สืบค้นเมื่อ 30 August 2016.
  10. "MARKO SCEPOVIC ÇAYKUR RİZESPOR'DA". Çaykur Rizespor. สืบค้นเมื่อ 30 August 2019.
  11. "ลือ 'บุรีรัมย์' ซิวหอกทีมชาติเซอร์เบียร่วมทัพ". May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  12. "ด่วน! นักบอลเซอร์เบียกักตัวที่บุรีรัมย์ ตรวจพบติดโควิด 19". August 1, 2020. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  13. ""เชโปวิช" หายจากโควิด-19 ลั่นพร้อมช่วยบุรีรัมย์ ทันเกมรีสตาร์ต "ไทยลีก"". August 17, 2020. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  14. "บุรีรัมย์ โชว์ดุดันอุ่นถล่มขอนแก่นยูฯ 8-0 ก่อนดวลบีจี". September 5, 2020. สืบค้นเมื่อ September 9, 2020.
  15. "บุรีรัมย์คว้าชัย"กีดี้ คานยุค"แข้งใหม่ประเดิมซัดสุพรรณบุรี1-0". September 26, 2020. สืบค้นเมื่อ September 26, 2020.
  16. "บุรีรัมย์สุดทื่อเจ๊าตราด 2-2". October 25, 2020. สืบค้นเมื่อ October 25, 2020.
  17. มาร์โก เชโปวิช กลายเป็นนักเตะชาวเซอร์เบียคนที่ 2 ที่ทำประตูให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
  18. "มาริโอ พาเมืองทองบุกทุบบุรีรัมย์ 3-2". สืบค้นเมื่อ October 31, 2020.
  19. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดรังถล่ม สมุทรสงคราม 9-0 ลิ่ว 32 ทีม ช้างเอฟเอคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ November 7, 2020.
  20. "ปราสาทสายฟ้า เปิดบ้านเอาชนะ ระยอง เอฟซี 5-1 เกมไทยลีก นัดตกค้าง (มีไฮไลท์เต็ม)". บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. สืบค้นเมื่อ November 12, 2020.
  21. "ปราสาทสายฟ้า บุกถล่ม ค้างคาวไฟ คาถ้ำ ศึกลูกหนังไทยลีก". บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. สืบค้นเมื่อ November 23, 2020.
  22. "ปราสาทสายฟ้า เปิดบ้านพ่าย เขี้ยวสมุทร 1-3 ลูกหนังไทยลีก". บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด. สืบค้นเมื่อ November 29, 2020.
  23. "บุรีรัมย์ ปล่อย เชโปวิช เปิดทาง ไมคอน". เอสเอ็มเอ็ม สปอร์ต. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-23. สืบค้นเมื่อ December 24, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]