มารียา บูร์มากา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มารียา บูร์มากา
Марія Бурмака
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดМарія Вікторівна Бурмака
เกิด17 มิถุนายน พ.ศ. 2513 (53 ปี)
คาร์กิว, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหภาพโซเวียต, (ปัจจุบันคือประเทศยูเครน)
แนวเพลงป็อปร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแสดง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง

มารียา บูร์มากา (ยูเครน: Марія Бурмака เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ในเมืองคาร์กิว สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน) เป็นนักร้องชาวยูเครน บุคคลในวงการโทรทัศน์ นักดนตรี และนักแต่งเพลงในแนวเพลงร็อก ป๊อป โฟล์ก และเวิลด์มิวสิก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ได้รับตำแหน่งศิลปินประชาชนแห่งยูเครน (Народний артист України)[1]

ชีวประวัติและการศึกษา[แก้]

บูร์มากามีบุพการีเป็นครู เธอเริ่มร้องเพลงภาษายูเครนขณะเรียนกีตาร์ในโรงเรียนดนตรีแห่งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2530 เธอเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติคาร์กิว แว. แอน. การาซิน ในระหว่างศึกษาเธอเริ่มเขียนเพลงของตนเอง[2]

ในปี พ.ศ. 2547 บูร์มากาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกือยิว ตารัส แชวแชนกอ ด้านวารสารศาสตร์ และต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์[3]

เทศกาลดนตรีและการประกวดในช่วงแรก[แก้]

ในช่วงต้นอาชีพ บูร์มากาชนะการประกวดดนตรีหรือเทศกาลดนตรีที่สำคัญของยูเครนหลายรายการ ซึ่งทำให้เธอมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นสัญลักษณ์ของดนตรียูเครน

ในปี พ.ศ. 2532 บูร์มากาได้รับรางวัลชนะเลิศในเทศกาลดนตรีออแบรีห์ [uk] (Оберіг) ที่เมืองลุตสก์ และได้อันดับสองในเทศกาลดนตรีเยาวชนแชร์วอนารูตา (Червона рута) ที่มีชื่อเสียงในเมืองแชร์นิวต์ซี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 เธอได้รับรางวัลเกียรติยศในงานเทศกาลดนตรีซวิน [uk] (Дзвін) ในเมืองกานิว และในปี พ.ศ. 2536 เธอชนะเลิศในรายการประกวดเพลงฮิต "12-2" ซึ่งจัดโดยสถานีวิทยุปรอมิน (Радіо Промінь)[4][5][6]

อาชีพทางดนตรี[แก้]

บูร์มากาในปี พ.ศ. 2565

บูร์มากามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยูเครนสมัยใหม่ โดยเข้าร่วมในเทศกาลดนตรีเยาวชนแชร์วอนารูตาครั้งแรก พ.ศ. 2532, การปฏิวัติบนหินแกรนิต (Революція на граніті) พ.ศ. 2533, การปฏิวัติสีส้ม พ.ศ. 2547 และการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี (Революція гідності) พ.ศ. 2556–2557[7][8]

ในปี พ.ศ. 2534 บูร์มากาบันทึกเสียงอัลบั้มซีดีชุดแรกของเธอในชื่อ มารียา (Марiя) ซึ่งผลิตในมอนทรีออลโดยบริษัทเยฟชาน (Yevshan) ของแคนาดา[9][10] เป็นซีดีเพลงภาษายูเครนแผ่นแรกที่เปิดตัวในช่วงที่ประเทศยูเครนประกาศเอกราช

ปี พ.ศ. 2541 บูร์มากาได้เปิดตัวอัลบั้ม ซนอวูลูบลู (Знову люблю) การนำเสนออัลบั้มนี้มีความพิเศษ โดยบูร์มากาได้จัดเป็นงานคอนเสิร์ตกีตาร์อะคูสติกโดยเชิญผู้ใกล้ชิดของเธอและสื่อมวลชนไปที่ห้องแสดงภาพบูชาจากคริสต์ศตวรรษที่ 17–18 ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติยูเครน (Національний Художній Музей України)[3]

ภาษา[แก้]

บูร์มากาเป็นผู้สนับสนุนภาษายูเครนอย่างแข็งขันและเป็นศิลปินประชาชนแห่งยูเครนเพียงคนเดียวที่ทั้งไม่ได้ทำการขับร้องในภาษารัสเซียและไม่มีรายการแสดงดนตรีในภาษารัสเซีย เธอกล่าวว่า "ผืนแผ่นดินของชาวยูเครนที่ไม่มีภาษายูเครนคือความสูญเสียอัตลักษณ์และเสรีภาพทางชาติพันธุ์ของตน"[11]

การแสดงคอนเสิร์ต[แก้]

ในปี พ.ศ. 2548 บูร์มากาบันทึกบทเพลงของเธอในรุ่นภาษาอังกฤษหลายเพลง ผลิตคลิปเพลงใหม่ และจัดคอนเสิร์ตการกุศลหลายครั้งในทวีปอเมริกาเหนือ เธอแสดงในเทศกาลยูเครนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา แวร์คอวือนา (Верховина) และในเทศกาลแวมกอฟสกาวาตรา (Łemkowska Watra) ในซดึญ (Zdyni) ประเทศโปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2554 บูร์มากาได้ร่วมแสดงในเทศกาลวัฒนธรรมซอยูซิวกา (Союзівка)[12]

ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2557 ส่วนหนึ่งของทัวร์คอนเสิร์ต ปิดตรือมาแยมอซวอยิค (Підтримаємо своїх) เธอได้แสดงในเขตปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย ในเมืองที่เป็นแนวหน้าของการรบ รายได้จากการแสดงเหล่านี้ได้มอบเพื่อสนับสนุนกองกำลังอาสาสมัคร[13]

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2558 บูร์มากาได้แสดงคอนเสิร์ตการกุศลในสหรัฐอเมริกา และฤดูหนาวปีนั้นเธอได้แสดงในสหราชอาณาจักร และในประเทศแคนาดาในเดือนพฤศจิกายน

อาชีพทางโทรทัศน์[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 บูร์มาการับหน้าที่เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางช่องแอสแตแบ (СТБ) ประกอบด้วยรายการ КіН, Рейтинг, Хто там, Чайник และทางช่องอูแต-ออดึน (УТ-1) ในรายการ Створи себе

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 บูร์มากาเป็นผู้ดำเนินรายการหลักของรายการ Музика Сніданку ทางช่องออดึนปลุสออดึน (1+1) เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เธอเป็นผู้ดำเนินรายการหลักของรายการ Музика для дорослих з Марією Бурмакою ทางสถานีโทรทัศน์ตือวืออัย (ТВі) ปัจจุบันเธอเป็นผู้ดำเนินรายการหลักและพิธีกรรายการ กูลต์: แอกสแปรส (Культ: Експрес) ทางช่องแอสแปรซอแตแว (Еспресо TV)

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

มีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้หญิงที่มีอิทธิพลมากที่สุด 100 อันดับแรกของนิตยสารรายสัปดาห์ตึฌแนวึกฟอกุส (Тижневик Фокус) ในยูเครน

อัลบั้ม[แก้]

  • พ.ศ. 2533 Ой не квiтни, весно (Oh Spring, Do Not Bloom...)
  • พ.ศ. 2535 Марiя (Maria)
  • พ.ศ. 2537 Лишається надiя (Hope is left)
  • พ.ศ. 2541 Знову люблю (I love again)
  • พ.ศ. 2544 Iз янголом на плечi (With the angel on my shoulder)
  • พ.ศ. 2545 Мiа
  • พ.ศ. 2546 I Am
  • พ.ศ. 2546 Живи (บันทึกการแสดงสด)
  • พ.ศ. 2547 N9
  • พ.ศ. 2551 Саундтреки (เพลงประกอบ)
  • พ.ศ. 2553 Do not laugh at me (Не смійся з мене) อัลบั้มร่วมกับปีเตอร์ ยาร์โรว์
  • พ.ศ. 2554 Album for Children (Дитячий Альбом)
  • พ.ศ. 2557 Тінь по воді (Shadow on the Water)

อ้างอิง[แก้]

  1. Про відзначення нагородами України працівників культури і мистецтва. Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  2. "Мария Бурмака: "Желто-голубые флаги прятали на теле под одеждой, а потом распускали на стадионе"". fakty.ua (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  3. 3.0 3.1 "Бурмака Мария". liga.net. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  4. Заслуженная артистка Украины Мария Бурмака: Я Виктору Ющенко не родня!. KP.UA (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  5. Терещук, Галина (18 กันยายน 2019). "Пісенний вибух 1989 року. Фестиваль «Червона рута» наблизив Незалежність України". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  6. Замок, Високий (21 เมษายน 2017). "Марія Бурмака: "Навіть мої помилки дають поживу для пісень" — Високий Замок". wz.lviv.ua (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  7. Пристай, Денис (2 ตุลาคม 2020). ""Революція на граніті". Хроніка студентського протесту на Майдані". Суспільне | Новини (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  8. Марія Бурмака: Українська культура має бути українською, тому що російський балет і російські танки – це одне й те саме (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  9. Марія by Марiя Бурмака - RYM/Sonemic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  10. "ТОП-10 "не топовых" медийных харьковчан". mykharkov.info. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  11. Куренная, Дар'я (14 สิงหาคม 2020). ""Багато молоді навіть не уявляє, які це були часи" – Марія Бурмака про несвободу в СРСР і проголошення незалежності України". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  12. Pathway, New (3 พฤศจิกายน 2022). "Burmaka visits Edmonton in support of Ukraine's soldiers". New Pathway Ukrainian News | Новий Шлях Українські Вісті (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  13. ПОЛІТИЧНІ МЕХАНІЗМИ ФОРМУВАННЯ ГРОМАДЯНСЬКОЇ ІДЕНТИЧНОСТІ В СУЧАСНОМУ УКРАЇНСЬКОМУ СУСПІЛЬСТВІ (PDF) (ภาษายูเครน). Kyiv. 2014. p. 63. ISBN 978-966-02-7464-8.
  14. "Про відзначення державними нагородами України". Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
  15. "Про відзначення державними нагородами України". Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]