การปฏิวัติสีส้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้ประท้วงรวมตัวกันหน้าจัตุรัสอิสรภาพ (Independence Square) ในกรุงเคียฟเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

การปฏิวัติสีส้ม (ยูเครน: Помаранчева революція, อักษรโรมัน: Pomarancheva revoliutsiia) เป็นการประท้วงที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรงภายในประเทศยูเครนตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีการขยายตัวเป็นอย่างมากโดยเป็นผลมาจากความมุ่งหมายของประชาชนทั่วไป[1] ซึ่งมีสาเหตุจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน พ.ศ. 2547 รอบที่สองซึ่งถูกอ้างว่ามีการทุจริตขนานใหญ่ รวมไปถึงการโกงเลือกตั้งและการข่มขู่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง[2] การประท้วงในครั้งนี้มีผู้ร่วมประท้วงหลายพันคนต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่ปักหลักอยู่ที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน[3] โดยใช้วิธีการต่าง ๆ ได้แก่ การดื้อแพ่ง การยึดพื้นที่ประท้วง และการนัดหยุดงานทั่วไป[4]

การประท้วงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังมีการรายงานจากผู้สังเกตการณ์ทั้งในและนอกประเทศรวมถึงความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป ซึ่งมองว่าผลการเลือกตั้งรอบที่สองเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ระหว่างผู้นำทั้งสองซึ่งได้แก่ วิกตอร์ ยุชแชนกอ และวิกตอร์ ยานูกอวึช ถูกเจ้าหน้าที่โกงเพื่อสนับสนุนฝ่ายผู้นำคนที่สอง[5] การประท้วงซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศบรรลุวัตถุประสงค์เมื่อผลการเลือกตั้งรอบที่สองในครั้งนั้นเป็นโมฆะ และศาลสูงสุดยูเครนได้สั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยการเลือกตั้งใหม่ในครั้งนี้ก็มีผู้สังเกตการณ์จากทั้งในและนอกประเทศเข้ามาจับตาสังเกตการณ์อย่างเข้มข้น ผลการเลือกตั้งในครั้งใหม่นี้มีกระแสตอบรับว่าเป็นไปอย่างเสรีและยุติธรรม และปรากฏว่ายุชแชนกอชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 52 ในขณะที่ยานูกอวึชได้คะแนนเสียงเพียงร้อยละ 44 ส่งผลให้ทางการประกาศให้ยุชแชนกอเป็นฝ่ายชนะอย่างเป็นทางการ และเมื่อเขาเริ่มเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2548 ในกรุงเคียฟ การปฏิวัติสีส้มก็ได้ยุติลง แต่ต่อมา การประท้วงดังกล่าวถูกมองในแง่ลบจากแวดวงกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลในประเทศเบลารุสและประเทศรัสเซีย[6]

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน พ.ศ. 2553 ยานูกอวึชได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนต่อจากยุชแชนกอ หลังจากที่ คณะกรรมการเลือกตั้งกลางและผู้สังเกตการณ์นานาชาติรายงานว่าการเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรม[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kuzio, Taras (March 2007). "Oligarchs, Tapes and Oranges: 'Kuchmagate' to the Orange Revolution". Journal of Communist Studies and Transition Politics (ภาษาอังกฤษ). 23 (1): 30–56. doi:10.1080/13523270701194839. ISSN 1352-3279.
  2. Karatnycky, Adrian (2005). "Ukraine's Orange Revolution". Foreign Affairs. 84 (2): 35–52. doi:10.2307/20034274. ISSN 0015-7120. JSTOR 20034274.
  3. Andrew Wilson, "Ukraine's 'Orange Revolution' of 2004: The Paradoxes of Negotiation", in Adam Roberts and Timothy Garton Ash (eds.), Civil Resistance and Power Politics: The Experience of Non-violent Action from Gandhi to the Present, Oxford University Press, 2009, pp. 295–316.[1] เก็บถาวร 20 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Karatnycky, Adrian (2015-09-15). "Ukraine's Orange Revolution". Foreign Affairs: America and the World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0015-7120. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-28.
  5. Paul Quinn-Judge, Yuri Zarakhovich, The Orange Revolution เก็บถาวร 23 กรกฎาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time, 28 November 2004
  6. Ukraine is Not Russia:Comparing Youth Political Activism เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by Taras Kuzio, Johns Hopkins University Press, 2006
    (ในภาษารัสเซีย) «В оранжевых и радужных трусах» In orange and red shorts เก็บถาวร 29 มกราคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Vzglyad (25 January 2013)
  7. Polityuk, Pavel; Balmforth, Richard (15 February 2010). "Yanukovich declared winner in Ukraine poll". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017.
    "Viktor Yanukovych sworn in as Ukraine president". BBC News. 25 February 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.