ภูเขาไฟคีเลาเวอา
ภูเขาไฟคีเลาเวอา | |
---|---|
![]() ภูเขาไฟคีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟรูปโล่บนเกาะฮาวายซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะฮาวาย | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 4,091 ฟุต (1,247 เมตร) [1] |
ความสูง ส่วนยื่นจากฐาน | 50 ฟุต (15 เมตร) [2] |
พิกัด | 19°25′16″N 155°17′12″W / 19.421097472°N 155.286762433°W [1] |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | เกาะฮาวาย สหรัฐ |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
อายุหิน | 300,000 ถึง 600,000 ปี[3] |
ประเภทภูเขา | ภูเขาไฟรูปโล่, ภูเขาไฟจากจุดร้อน |
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟ | เทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ |
การปะทุครั้งล่าสุด | 20 ธันวาคม ค.ศ 2020 – ปัจจุบัน |
ภูเขาไฟคีเลาเวอา เป็นภูเขาไฟรูปโล่และเป็นภูเขาไฟมีพลังในเกาะฮาวาย เป็นหนึ่งในภูเขาไฟ 5 ลูกที่ประกอบกันเป็นเกาะฮาวาย (อีก 4 ลูกมีเมานาโลอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไล) ตั้งอยู่แนวชายฝั่งทางตอนใต้ของเกาะมีอายุระหว่าง 300,000 ถึง 600,000 ปี ยอดของภูเขาไฟลูกนี้โผล่พ้นระดับน้ำทะเลเมื่อประมาณ 100,000 ปีก่อน
คีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันสองของจุดร้อนฮาวายและเป็นจุดปะทุของเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ ในอดีตภูเขาไฟลูกนี้ไม่มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศและกิจกรรมในอดีตต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับภูเขาไฟเมานาโลอาทำให้คิดคีเลาเวอาอาจเป็นแอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กของภูเขาไฟที่ใหญ่กว่า โครงสร้างของคีเลาเวอานั้นมีขนาดใหญ่แอ่งภูเขาไฟบนยอดของมันเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและมีเขตเขาทรุด 2 แห่งที่ยังเคลื่อนไหวโดยที่หนึ่งแผ่ขยายเป็นระยะทาง 125 ก.ม.ทางตะวันออกส่วนอีกที่ 35 ก.ม.ทางตะวันตก ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังความลึกของเขาทรุดจะลึกลงเฉลี่ย 2 ถึง 20 มม.ต่อปี
คีเลาเวอามีการปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2526 และก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินจำนวนมากรวมถึงการทำลายเมืองคาลาปานา (Kalapana) ใน พ.ศ. 2533 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ปล่องลาวาแห่งใหม่ได้แตกออกในพื้นที่ตอนล่างของจังหวัดปูนา (Puna, Hawaii) การระเบิดของภูเขาไฟใรครั้งนี้ยังทำให้เกิดการปล่อยก๊าซพิษและเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จนทำให้ห้องอพยพคนกว่า 2,000 คนออกจากเขตเลอลานี วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 การปะทุทำลายบ้านเรือนอีก 27 หลังในเขตปกครองรองของเลอลานี วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 4:17 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นภูเขาไฟปะทุอย่างรุนแรงและพ้นเถ้าถ่านขึ้นไปในอากาศสูงกว่า 30,000 ฟุต[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "4088". NGS data sheet. U.S. National Geodetic Survey.
- ↑ "Kilauea Prominence". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ May 5, 2018.
- ↑ "Kīlauea – Perhaps the World's Most Active Volcano". Hawaiian Volcano Observatory – United States Geological Survey. 7 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-01. สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
- ↑ "Hawaii volcano erupts from summit, shooting plume of ash". CBS News.