ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาไอนุซาฮาลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาไอนุซาฮาลิน
kabahuto aynu itah
ประเทศที่มีการพูดญี่ปุ่น
ภูมิภาคเกาะซาฮาลิน, ต่อมาเกาะฮกไกโด
ชาติพันธุ์ชาวไอนุบนเกาะซาฮาลิน
สูญแล้ว30 เมษายน 1994 ด้วยการเสียชีวิตของท่านทาเกะ อาไซ[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาไอนุ
  • ภาษาไอนุซาฮาลิน
ภาษาถิ่น
ทะไรกะ
รหัสภาษา
ISO 639-3ไม่มี
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาไอนุซาฮาลิน เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาไอนุที่สูญพันธุ์ไปแล้ว หรืออาจมีหลายภาษาของไอนุที่เคยพูดหรือพูดกันบนเกาะซาฮาลิน ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

ประวัติและสถาณะในปัจจุบัน

[แก้]

ชาวไอนุแห่งซาคาลินดูเหมือนจะปรากฏบนซาฮาลินค่อนข้างเร็ว หลักฐานทางภาษาแสดงให้เห็นว่าภาษาโปรโต-ไอนุได้มีการพูดกันทางตอนใต้ของเกาะซาฮาลินและทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮกไกโด และขยายจากภูมิภาคนี้ไปยังส่วนอื่น ๆ ของฮกไกโด หมู่เกาะคูริล และเกาะฮอนชูทางตอนเหนือบางส่วน ต่อมาภาษาไอนุซาฮาลินได้ขยายจากทางตอนใต้ของซาฮาลินไปสู่ทางตอนเหนือของซาฮาลิน และอาจรวมถึงแคว้นอามูร์ด้วย จากการศึกษาของลีและฮาเซกาวะจาก มหาวิทยาลัยวาเซดะ โดยใช้หลักฐานทางภาษา โบราณคดี และพันธุกรรม พบว่าชาวไอนุมีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับวัฒนธรรมโอค็อตสค์ทางตอนเหนือของฮกไกโด[2]

ประวัติบอกเล่าบันทึกการพลัดถิ่นของชาวไอนุในซาคาลินตอนกลางที่พวกเขาเรียกว่า Tonchi ซึ่งตามหลักฐานโทโฟนิมิกคือ Nivkh[3]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้จบลง ซาฮาลินตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียต ชาวไอนุที่อาศัยอยู่ในซาฮาลินทั้งหมดยกเว้น 100 คนถูกส่งตัวกลับไปยังญี่ปุ่น ครัวเรือนไอนุกลุ่มสุดท้ายบนเกาะนี้เสียชีวิตไปในทศวรรษ 1960[4] ภาษานี้ดำรงอยู่ได้นานกว่าในญี่ปุ่น โดยสูญพันธุ์ไปในปี ค.ศ. 1994 พร้อมกับการเสียชีวิตของทาเกะ อาไซ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Majewicz, Alfred F., บ.ก. (2004). The Collected Works of Bronisław Piłsudski (ภาษาอังกฤษ). Walter de Gruyter. p. 600. ISBN 9783110176148.
  2. Lee, Sean; Hasegawa, Toshikazu (2013). "Evolution of the Ainu Language in Space and Time". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 8 (4). e62243. Bibcode:2013PLoSO...862243L. doi:10.1371/journal.pone.0062243. PMC 3637396. PMID 23638014. In this paper, we reconstructed spatiotemporal evolution of 19 Ainu language varieties, and the results are in strong agreement with the hypothesis that a recent population expansion of the Okhotsk people played a critical role in shaping the Ainu people and their culture. Together with the recent archaeological, biological and cultural evidence, our phylogeographic reconstruction of the Ainu language strongly suggests that the conventional dual-structure model must be refined to explain these new bodies of evidence. The case of the Ainu language origin we report here also contributes additional detail to the global pattern of language evolution, and our language phylogeny might also provide a basis for making further inferences about the cultural dynamics of the Ainu speakers [44,45].
  3. Gruzdeva, Ekaterina Jur'evna (1996). "The Linguistic Situation on Sakhalin Island". ใน Wurm, Stephen Adolphe; Mühlhäusler, Peter; Tryon, Darrell T. (บ.ก.). Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas (ภาษาอังกฤษ). Berlin: Mouton de Gruyter. p. 1008.
  4. "U posledney cherty – Ayny o sebe" У последней черты – Айны о себе. Tayny vekov (ภาษารัสเซีย). 2010-12-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.