ภาษาโนไก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาโนกาย)
ภาษาโนไก
ногай тили, ногайша (nogay tili, nogayşa)
ประเทศที่มีการพูดคอเคซัสเหนือ, Dobruja (โรมาเนียและบัลแกเรีย), ตุรกี, คาซัคสถาน, ยูเครน, อุซเบกิสถาน, ในสมัยโนไกฮอร์ดและรัฐข่านไครเมียรวมไครเมีย (Jamboyluk, Jedisan, Yedickul, Kuban, Budjak)
ภูมิภาคคอเคซัส, Dobruja
ชาติพันธุ์ชาวโนไก
จำนวนผู้พูด87,000  (2010 census)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก, อักษรละติน[2][3]
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการดาเกสถาน (รัสเซีย)
คาราชาเยโว-ซีร์คัสเซีย (รัสเซีย)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในโรมาเนีย[4]
รหัสภาษา
ISO 639-2nog
ISO 639-3nog

ภาษาโนไก หรือภาษาตาตาร์ โนไก เป็นภาษาที่ใช้พูดทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย แบ่งได้เป็นสำเนียงหลักสามสำเนียงคือ Qara-Nogay (โนไกเหนือหรือโนไกดำ), ใช้พูดในดาเกสถาน Nogai Proper, ใช้พูดใน Stavropol; และ Aqnogay (โนไกตะวันตกหรือโนไกขาว), ใช้พูดในบริเวณแม่น้ำกูบัน Qara-Nogay และNogai Proper มีลักษณะทางภาษาศาสตร์ใกล้เคียงกันแต่ Aqnogay มีลักษณะที่ต่างออกไป จัดอยู่ในภาษากลุ่มเคียปชัก-โนไก ของภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาเคียปชัก เช่นเดียวกับภาษาตาตาร์ ไครเมีย ภาษาการากัลปัก และภาษาคีร์กีซ

ประวัติ[แก้]

ชาวนาไกเป็นลุกหลานของนาไกข่าน ผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจงกีสข่าน ซึ่งได้ขยายอาณาเขตไปจนถึงแม่น้ำดานูบในราวพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มแรกภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับ และมีอักษรที่ใช้เฉพาะเสียงในภาษาโนไกคือ

ڮ, ۇ, ۋ, پ, ںُ, چ, ژ , گ

เปลี่ยนมาใช้อักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2471 รูปแบบการเขียนกำหนดโดยนักวิชาการชาวโนไก A. Dzhanibekov และใช้อักษรละตินสำหรับภาษาตุรกีเป็นพื้นฐาน ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่

A a B в Ç ç D d E e Ә ә G g Ƣ ƣ
I i K k L l M m N n N̡ n̡ O o Ө ө
P p Q q R r S s Ş ş T t U u Y y
J j Ь ь Z z V v

และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกแบบภาษารัสเซียในอีกสิบปีต่อมา ตัวอักษรที่ใช้ได้แก่

А а Аь аь Б б В в Г г Д д Е е Ё ё
Ж ж З з И и Й й К к Л л М м Н н
Нъ нъ О о Оь оь П п Р р С с Т т У у
Уь уь Ф ф Х х Ц ц Ч ч Ш ш Щ щ Ъ ъ
Ы ы Ь ь Э э Ю ю Я я

การก่อตั้งสหภาพโซเวียตและกำหนดเขตสาธารณรัฐปกครองตนเอง เมื่อราว พ.ศ. 2493 ได้แบ่งเขตของชาวโนไกส่วนหนึ่งอยู่ในสาธารณรัฐดาเกสถาน อีกส่วนอยู่ในสาธารณรัฐเชเชน-อิงกุซ การสอนภาษารัสเซียในยุคนั้นมีความสำคัญมากกว่าภาษาของชนกลุ่มน้อย ผู้พูดภาษาโนไกจึงลดจำนวนลง ปัจจุบันคาดว่ามีผู้พูดราว 80,000 คน หนังสือพิมพ์ภาษาโนไกเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในพ.ศ. 2516 แต่เพราะการติดต่อสื่อสารยังไม่ดีพอ หนังสือพิมพ์เหล่านี้จึงมักไม่ถึงมือชาวโนไก ปัจจุบันมีการใช้สอนในโรงเรียนในดาเกสถานจากปีที่ 1 ถึงปีที่ 10

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาโนไก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "Nogai language and alphabets".
  3. The first Nogai novel book is written in latin alphabet: http://www.turkevi.org/ilk-nogayca-roman-kitabi-yayinlandi/
  4. "Reservations and Declarations for Treaty No.148 - European Charter for Regional or Minority Languages". Council of Europe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]