ภาษาเรอหวั่ง
ภาษาเรอหวั่ง | |
---|---|
Rvwàng | |
ประเทศที่มีการพูด | พม่า อินเดีย จีน ไทย |
จำนวนผู้พูด | 122,600 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | raw |
ภาษาเรอหวั่ง (Rawang language) หรือภาษากนุง-เรอหวั่งมีผู้พูดทั้งหมด 122,600 คน ชนเผ่าเรอหวั่งเป็นชนกลุ่มน้อย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก. ในปัจจุบันอาศัยอยู่กระจัดกระจายในแต่ละประเทศ ซึ่งบรรพบุรุษมาจากทางตะวันออกกลางและอพยพลงมาเรื่อยๆ พบมากที่สุดในพม่า 62,100 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐคะฉิ่น ทางเหนือของมยิตจีนา และชาวเรอหวั่งส่วนมากในพม่าจะอาศัยอยู่ที่ เมืองพูตาโอ ทางเหนือสุดของพม่า ที่ทีภูเขาหิมะที่เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นสัญลักษณ์ของชาวเรอหวั่ง พบในอินเดีย 60,500 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐอรุณาจัลประเทศใกล้กับชายแดนพม่า และชายแดนจีนด้านที่ติดกับทิเบต พบในประเทศจีน มณฑลยุนนาน เมืองกงชาง 5,000 พบในประเทศไทยในภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และ กรุงเทพมหานคร ประมาณ1,000 คน ซึ่งในประเทศไทยกลุ่มเรอหวั่งยังไม่เป็นที่รู้จักเนื่องจากมีน้อยมาก และยังอยู่กระจัดกระจายในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นอเวย์ สวีเดน แคนาดา เดนมาร์ค นิวซีแลนด์ จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มภาษาทิเบต-พม่า สาขานุง ผู้พูดภาษานี้ในพม่าพูดภาษาพม่า ภาษาลีซูหรือภาษาจิ่งเผาะได้ด้วย เขียนด้วยอักษรละติน มีหนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ด้วยภาษานี้ เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา
ภาษาเรอหวั่งแบ่งออกเป็น 4 สำเนียง ได้แก่ มัดหว่าง, หลุ่งมี, ดั่งสั่ล, ดะหรู่
ระบบเสียง
[แก้]พยัญชนะ
[แก้]ริมฝีปากทั้งสอง | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เสียงกัก | ไม่ก้อง พ่นลม | /pʰ/ ⟨p⟩¹ | /tʰ/ ⟨t⟩¹ | /kʰ/ ⟨k⟩¹ | /ʔ/ ⟨q⟩² | |
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม | /p/ ⟨b⟩ | /t/ ⟨d⟩ | /k/~[ɡ] ⟨g⟩ | |||
เสียงนาสิก | /m/ ⟨m⟩ | /n/ ⟨n⟩ | /ɲ/ ⟨ny⟩ | /ŋ/ ⟨ng⟩ | ||
เสียงเสียดแทรก | ไม่ก้อง | /f/ ⟨f⟩⁴ | /s/ ⟨s⟩ | /ɕ/~[ʃ] ⟨sh⟩ | /h/ ⟨h⟩ | |
ก้อง | /z/ ⟨z⟩ | |||||
เสียงผสมเสียดแทรก | ไม่ก้อง พ่นลม | /t͡ɕʰ/~[t͡ʃʰ] ⟨ch⟩⁵ | ||||
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม | /t͡ɕ/~[t͡ʃ] ⟨j⟩ | |||||
เสียงเปิด | /w/ ⟨w⟩³ | /ɹ/~[ɻ] ⟨r⟩³ | /j/ ⟨y⟩³ | |||
เสียงเปิดข้างลิ้น | /l/ ⟨l⟩ |
- ⟨-p⟩, ⟨-t⟩, ⟨-k⟩ เมื่อเป็นพยัญชนะสะกดจะกลายเป็นเสียง /p̚/, /t̚/, /k̚/
- ⟨-q⟩ ใช้เป็นพยัญชนะสะกดเท่านั้น ส่วนพยัญชนะต้นไม่ปรากฏรูป
- ⟨-w-⟩, ⟨-r-⟩, ⟨-y-⟩ ใช้เป็นพยัญชนะควบได้
- ⟨f⟩ ใช้เฉพาะในคำยืม
- ⟨ch⟩ บางครั้งก็เขียนเป็น ⟨c⟩
สระ
[แก้]ลิ้นส่วนหน้า | ลิ้นส่วนกลาง | ลิ้นส่วนหลัง | ||
---|---|---|---|---|
ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากเหยียด | ปากห่อ | |
ลิ้นยกสูง | /i/ ⟨i⟩ | /ɯ/ ⟨ø⟩ | /u/ ⟨u⟩ | |
ลิ้นกึ่งสูง | /ə/ ⟨v⟩ | |||
ลิ้นกึ่งต่ำ | /ɛ/ ⟨e⟩ | /ɔ/ ⟨o⟩ | ||
ลิ้นลดต่ำ | /ɑ/ ⟨a⟩ |
- สามารถใช้เครื่องหมายทวิภาค ⟨:⟩ เพื่อต่อเสียงสระให้ยาว ซึ่งพบได้ทั้งสระเดี่ยวและสระประสม โดยมากใช้เพื่อการผันคำศัพท์
- สระที่เขียนติดกันจะเชื่อมเสียงรวมกันโดยไม่มี /ʔ/
วรรณยุกต์
[แก้]มีวรรณยุกต์ 4 เสียง คือ สูง กลาง ต่ำ และเบา แสดงได้ด้วยเครื่องหมายกำกับบนสระ ⟨á⟩ ⟨ā⟩ ⟨à⟩ ⟨a⟩ ระดับเสียงอธิบายได้เป็น /55/, /33/, /31/ และ /ไม่มี/ ตามลำดับ
เสียงเบาจะปรากฏในพยางค์เปิด (คือไม่มีพยัญชนะสะกด) เสียงจริงอาจจะสูงกลางต่ำก็ได้ตามคำแวดล้อม และการเขียนในปัจจุบัน เสียงกลางไม่ต้องเติมเครื่องหมายขีดบนตลอดเวลา เพื่อความสะดวก
พยางค์ที่สะกดด้วยเสียงกัก ⟨-p⟩ ⟨-t⟩ ⟨-k⟩ ⟨-q⟩ จะเป็นเสียงสูงเสมอโดยที่ไม่ต้องเติมเครื่องหมาย
อ้างอิง
[แก้]- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.