ภาษามลายูสงขลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามลายูสงขลา
Pasa Nayu Singgora
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย
ภูมิภาคจังหวัดสงขลาตอนใต้ถึงตอนกลางบางส่วน
ชาติพันธุ์ชาวมลายู (ผู้พูดรู้จักกันในชื่อ "ชาวมลายูสงขลา" หรือ "ออแฆนายูซิงกอรา")
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษามลายูสงขลา (หรือผู้พูดภาษานี้เรียกว่า Pasa Nayu Singgora) เป็นวิธภาษาของภาษามลายูที่พูดกันในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย ภาษามลายูสงขลาเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมมลายูกับภาษาและวัฒนธรรมไทย ภาษานี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษามลายู-ปัตตานีที่มีผู้พูดบริเวณชายแดนมาเลเซีย–ไทย[1]

บริเวณที่มีผู้พูด[แก้]

ภาษามลายูสงขลามีผู้พูดในบริเวณอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดสงขลา โดยผู้พูดเรียกภาษานี้ว่า Pasa Nayu Singgora หรือในภาษามลายูมาตรฐานเรียกเป็น Bahasa Melayu Singgora มีผู้พูดภาษานี้ในอำเภอสะบ้าย้อย อำเภอเทพา อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ อำเภอสะเดา และยังมีผู้พูดในระดับเล็ก ๆ ที่อำเภอคลองหอยโข่ง อำเภอหาดใหญ่ อำเภอนาหม่อม อำเภอเมืองสงขลา และอำเภอสิงหนคร[1][2]

คำศัพท์[แก้]

ตัวอย่างข้างล่างเทียบคำศัพท์มลายูสงขลาบางส่วนกับคำแปลภาษาไทย

ภาษามลายูมาตรฐาน ภาษามลายูกลันตัน-ปัตตานี ภาษามลายูสงขลา แปลไทย
bahasa baso, kecek pasa ภาษา
dia เขา, เธอ
kamu, awak คุณ
orang oré oghae คน
saya, aku ผม/ฉัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ""Tak Dok Po": Kekhasan Ekonomi Bahasa Melayu Thailand" (PDF). repositori.kemdikbud.go.id (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.
  2. "Peranan Bahasa Melayu Dan Cabarannya di Era Globalisasi". jurnal-lp2m.umnaw.ac.id (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 1 November 2022.