ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติอาร์เจนตินารุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีมฟุตบอลโอลิมปิกอาร์เจนตินา
Shirt badge/Association crest
ฉายาตัวเลือก
(La Selección)
ฟ้าขาว
(La Albiceleste)
สมาคมสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา
(อาโซเซียซิโอนเดลฟุตโบลอาร์เฆนติโน)
สมาพันธ์คอนเมบอล
(สมาพันธ์ฟุตบอลอเมริกาใต้)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฆาบิเอร์ มัสเชราโน
กัปตันเตียโก อัลมาดา
ติดทีมชาติสูงสุดฆาบิเอร์ มัสเชราโน (20 ครั้ง)
ทำประตูสูงสุดโดมิงโก ตารัสโกนิ, อาโดลโฟ ไกช์ (คนละ 9 ประตู)
สนามเหย้าหลากหลาย
รหัสฟีฟ่าARG
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
อาร์เจนตินา 11–2 สหรัฐ ธงชาติสหรัฐ
(อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1928)
ชนะสูงสุด
 อาร์เจนตินา 14–0 แคว้นกานาเรียส [[Image:{{{flag alias-1912}}}|22x20px|border |ธงชาติแคว้นกานาเรียส]]
(ลัสปัลมัส ประเทศสเปน; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019)
แพ้สูงสุด
 บราซิล 3–0 อาร์เจนตินา 
(บูการามังกา ประเทศโคลอมเบีย; 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020)
 ญี่ปุ่น 3–0 อาร์เจนตินา 
(คิตะกีวชู ประเทศญี่ปุ่น; 29 มีนาคม ค.ศ. 2021)
 ญี่ปุ่น 5–2 อาร์เจนตินา 
(ชิมิซุ ประเทศญี่ปุ่น; 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023)
กีฬาโอลิมปิก
เข้าร่วม11 สมัย (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1928)
ผลงานดีที่สุด ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง (ค.ศ. 2004, 2008)
แพนอเมริกันเกมส์
เข้าร่วม15 สมัย (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1951)
ผลงานดีที่สุด ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง (ค.ศ. 1951, 1955, 1959, 1975, 1995, 2003, 2019)
คอนเมบอลก่อนโอลิมปิก
เข้าร่วม12 สมัย (ครั้งแรกใน ค.ศ. 1960)
ผลงานดีที่สุด ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทอง (ค.ศ. 1960, 1964, 1980, 2004, 2020)

ทีมฟุตบอลโอลิมปิกอาร์เจนตินา (หรือเรียกในชื่อทีมชาติอาร์เจนตินารุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1992) เป็นตัวแทนของประเทศอาร์เจนตินาในการแข่งฟุตบอลระดับนานาชาติระหว่างกีฬาโอลิมปิกและแพนอเมริกันเกมส์ การคัดเลือกดังกล่าวจำกัดเฉพาะนักฟุตบอลที่มีอายุต่ำกว่า 23 ปี โดยยกเว้นนักฟุตบอลที่อายุเกินสามคน และทีมนี้ได้รับการควบคุมโดยสมาคมฟุตบอลอาร์เจนตินา (AFA)

การมีส่วนร่วมครั้งแรกของอาร์เจนตินาในการแข่งโอลิมปิกคือใน ค.ศ. 1928 เมื่อทีมนี้ได้รองแชมป์ในการแข่งชิงเหรียญทองกับทีมชาติอุรุกวัยซึ่งจัดขึ้นที่อัมสเตอร์ดัม เมื่อถึงเวลานั้น กฎระบุว่ามีเพียงทีมสมัครเล่นเท่านั้นที่สามารถแข่งได้[1][2] ดังนั้น ทีมชาติอาร์เจนตินา (และอุรุกวัยเช่นกัน) จึงแข่งร่วมกับนักฟุตบอลอาวุโส ทีมฟุตบอลเหล่านี้จึงยังไม่อยู่ในระดับอาชีพในตอนนั้น[3]

จากนั้น ทีมชาติอาร์เจนตินาไม่ได้เข้าร่วมการแข่งกีฬาโอลิมปิกจนถึง ค.ศ. 1960 เมื่อทีมทำผลงานได้ไม่ต่อเนื่องโดยจบอันดับที่ 7 โดยทีมนี้ได้เข้าร่วมแข่งกับนักฟุตบอลเยาวชนสมัครเล่น ครั้นหลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลอนุญาตให้นักฟุตบอลระดับอาชีพเข้าร่วม (แต่จำกัดอายุไว้ที่ 23 ปี) ทีมชาติอาร์เจนตินาได้กลับมาใน ค.ศ. 1996 เมื่อทีมชาติอาร์เจนตินาได้เหรียญเงินเป็นครั้งที่สองหลังจากแพ้ทีมชาติไนจีเรียในรอบชิงชนะเลิศ กระทั่งใน ค.ศ. 2004 ทีมชาติอาร์เจนตินาได้รับเหรียญทองเป็นครั้งแรกและมีมาร์เซโล บิเอลซา เป็นผู้ฝึกสอน รวมทั้งการ์โลส เตเบซ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดด้วยการยิงไป 8 ประตู ซึ่งสี่ปีต่อมาทีมชาติอาร์เจนตินาได้รับเหรียญทองเป็นครั้งที่สองในปักกิ่งโดยการล้างแค้นไนจีเรียด้วยการชนะ 1 ประตูต่อ 0 ในรอบชิงชนะเลิศ

อ้างอิง[แก้]

  1. "El Fútbol Masculino en los Juegos Olímpicos". Sitio Oficial de la Asociación del Fútbol Argentino (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-08.
  2. "Historia del fútbol en los Juegos Olímpicos: medallero, palmarés y ganadores". AS.com (ภาษาสเปน). 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-08.
  3. Máximo, Negro (2020-05-30). "A 89 años de la profesionalización del fútbol argentino". El Equipo Deportea (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]