ข้ามไปเนื้อหา

ฟลิคเกอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟลิกเกอร์)
Flickr
ประเภทเว็บไซต์บริการพื้นที่จัดเก็บภาพ/วีดิทัศน์
ภาษาที่ใช้ได้
ก่อขึ้นแวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย แคนาดา, 2004
สำนักงานใหญ่,
สร้างโดยสจ๊วต บัตเตอร์ฟิลด์
แคเทอรินา เฟก
บริษัทแม่ลูดิคอร์ป (2004–2005)
ยาฮู! (2005–2017)
Oath (2017–2018)
SmugMug (2018–ปัจจุบัน)
ยูอาร์แอลflickr.com
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนใช่
ผู้ใช้112 ล้านคน[2]
เปิดตัว10 กุมภาพันธ์ 2004; 20 ปีก่อน (2004-02-10)[3]
สถานะปัจจุบันดำเนินการ
เขียนด้วยพีเอชพี/จาวา/จาวาสคริปต์

ฟลิคเกอร์ (Flickr; /ˈflɪkər/ fli-kər) เป็น เว็บไซต์สำหรับเก็บรูปภาพดิจิทัล โดยอัปโหลดจากผู้ใช้งาน และสามารถแบ่งปันให้ผู้อื่นดูได้

บริการของฟลิคเกอร์เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ใช้เขียนบล็อก เนื่องจากสามารถนำรูปจากฟลิคเกอร์มาใช้ในบล็อกได้โดยตรง โดยเนื่องจากความสามารถในการแท็กเขียนคำอธิบายรูป และค้นหาตามชื่อที่เขียนโดยผู้ใช้งาน

นอกจากผู้ใช้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพจากในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถอัปโหลดภาพโดยตรงจากโทรศัพท์มือถือขึ้น Flickr ได้โดยตรงอีกด้วย

ประวัติ

[แก้]

ฟลิคเกอร์พัฒนาในบริษัทลูดิคอร์ป (Ludicorp) โดยแคเทอรินา เฟก (Caterina Fake) และ สจ๊วร์ต บัตเตอร์ฟิลด์ (Stewart Butterfield) โดยได้พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยคำนึงถึงระดับของผู้ใช้งาน โดยให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลเชื่อมถึงกันได้ในทุกส่วน ซึ่งเป็นจุดเด่นของฟลิคเกอร์ที่ทำให้ทางบริษัทยาฮู! สนใจพัฒนาเว็บจัดการภาพของตัวเองมีคุณภาพเทียบเท่า โดยทางยาฮู! ได้จ้างนักศึกษาปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) มาคิดค้นระบบจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2548 บริษัทยาฮู! ได้ซื้อฟลิคเกอร์ (ในขณะที่ยังเป็นรุ่นเบตา) พร้อมทั้งบริษัทลูดิคอร์ป ในราคาประมาณ 2 พันล้านบาท (50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[4]

ความสามารถ

[แก้]
  • แท็ก (tag) - ฟลิคเกอร์มีความสามารถแตกต่างจากเว็บไซต์โหลดภาพทั่วไปคือ กำหนดแท็ก เพื่อสามารถเชื่อมโยงภาพอื่น ๆ ที่มีการกำหนดชื่อแท็กเดียวกัน ในอัลบั้มของผู้ใช้เอง หรืออัลบั้มของผู้อื่นที่ใช้ชื่อแท็กเดียวกัน
  • ออร์แกไนเซอร์ (Organizr) - จัดเก็บภาพไว้ในหมวดหมู่ต่าง ๆ รวมถึงการจัดภาพตามวันที่ การจัดภาพตามแท็ก หรือการจัดภาพตามเวลาที่ทำการถ่ายภาพ
  • โน้ต (note) - การเขียนข้อความไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความ เหนือภาพนั้นโดยเมื่อผู้ใช้เคลื่อนเมาส์ มาภายในภาพ ข้อความที่กำหนดจะแสดงออกมา
  • ปฏิทิน (calendar) - การเรียกดูรูปตามวันที่ โดยสามารถเลือกตามวันที่ที่มีการอัปโหลด หรือวันที่ที่ทำการถ่ายภาพทั้งหมด

นอกจากนี้ความสามารถพื้นฐานเช่นการเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของภาพ รวมถึงการใส่ชื่อเพื่อนไว้ในรายชื่อเพื่อน เหมือนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ทั่วไป

  • บล็อก - เป็นการให้บริการล่าสุดของฟลิคเกอร์[5]

การกำหนดสัญญาอนุญาต

[แก้]

ฟลิคเกอร์สามารถให้ผู้ใช้กำหนดสัญญาอนุญาตแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสัญญาอนุญาตแบบครีเอทีฟคอมมอนส์ โดยความสามารถของแท็ก อนุญาตให้ผู้ใช้ค้นหาภาพภายใต้ลิขสิทธิ์ที่กำหนดได้

ตัวสะกด

[แก้]

การสะกดชื่อ Flickr แบบไม่มีตัว e ของฟลิคเกอร์[a] กลายเป็นความนิยมของเว็บในยุคเว็บ 2.0 ที่เว็บจะตั้งชื่อแบบตัดสระทิ้งหรือเติมตัวอักษรซ้ำเข้าไป เพื่อให้จดจำง่าย[6] เช่นเว็บ Digg หรือ Tumblr

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ชื่อ "Flickr", "Organizr", และ "Uploadr" เป็นชื่อเฉพาะสะกดตามที่ใช้ในเว็บฟลิคเกอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Flickr Jobs". Flickr. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2018.
  2. "Social Media Demographics for 2016". CodeFuel. 29 กันยายน 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2021.
  3. "An Amazing 8 Years – Flickr Blog". Flickr. 10 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2014.
  4. "Yahoo!'s Buy Of Photo Web Site 'Makes Strategic Sense'". นิตยสารฟอบส์. 21 มีนาคม 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มีนาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2005.
  5. "บล็อกของฟลิคเกอร์". Flickr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2007.
  6. Stan Schroeder (22 พฤษภาคม 2007). "Flickr Has an "e" in it...Web 2.0 Spelling CORRECTED". Mashable.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]